ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร หรือ สวก. ได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเตรียมสารสกัดสำคัญจากเมล็ดลำไย ภายใต้ชื่อ Longan-Phytocomplex TM มีคุณสมบัติเด่นคือ มีความปลอดภัยและไม่มีความเป็นพิษต่อยีนส์ (Mutogenicity) แต่ออกฤทธิ์ทำลายและต่อต้านอนุมูลอิสระเซลล์มะเร็งได้ดีมาก สามารถยับยั้งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนและ อิลาติน ทั้งยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิวเมลานินได้อย่างดียิ่งอีกด้วย จากผลงานดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ดังกระฉ่อนไปทั่วประเทศและทั่วโลกในพริบตา เนื่องจากเป็นนักวิจัยคนแรกที่ได้ค้นพบสารสกัดจากเมล็ดลำไย ซึ่งสามารถช่วยบำบัดอาการทางไขข้อซึ่งผู้สูงอายุต่างประสบกันมาช้านาน ประการสำคัญอย่างยิ่งก็คือ เป็นการพลิกโฉมหน้านักวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ด้วยการนำเมล็ดลำไยซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากการบริโภคจากการแปรรูป กลายเป็นสินค้าทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง หรือจังหวัดล้านนามาประดับวงการแพทย์ วงการสุขภาพได้อย่างน่าทึ่ง มีการนำสารสกัดเมล็ดลำไยมาต่อยอดด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อการบำบัดและ เครื่องสำอางจนกลายเป็นสินค้าสุดยอดนิยมของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งได้รับการยกย่องว่าเป็นสินค้า 1 อุตสาหกรรม 1 จังหวัดเชียงใหม่ไปแล้ว ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สสว. สวทช. หอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นับเป็นก้าวย่างที่สง่างามและน่าภาคภูมิใจของนักวิจัยไทย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเมล็ดลำไยและมีมูลค่าการตลาดจำนวนนับหมื่น ล้านบาท สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกลำไยอันเป็นอาชีพหลักของภาค เหนืออย่างงดงาม โดยผลิตภัณฑ์อันเกิดจากนวัตกรรมผนวกกับมันสมองของนักวิจัยไทยท่านนี้ก็คือ ครีมนวดลองกานอยด์ และเครื่องสำอางพรีม่าเฮิร์บ นั่นเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลและของจังหวัดเชียงใหม่ มีนโยบายในการส่งเสริมการค้าการลงทุนของจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนให้สถานประกอบการขนาดเล็ก วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่วิสาหกิจชุมชน โอท็อป เอสเอ็มอี เชียงใหม่แบรนด์ ในการนำผลงานวิจัยซึ่งมีประโยชน์มากมายมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจการ ค้าในปัจจุบัน ประกอบกับการส่งเสริมให้ใช้ผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือโดยเฉพาะ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างเช่น ลำไย ผลไม้เศรษฐกิจประจำถิ่น ในการผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมมาสกัดและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดถูนวด ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในรูปแบบของเครื่องสำอาง โดยใช้ส่วนประกอบจากสารสกัดเมล็ดลำไย ซึ่งถือเป็นอีกความภาคภูมิใจของคนจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่ที่ควรให้การสนับสนุนอย่างยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า ให้กับเกษตรกรและผลิตภัณฑ์ของจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้าง ขวาง รวมทั้งเป็นการขยายมูลค่าทางการค้าและเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังถือเป็นโอกาสในการส่งเสริมและขยายตลาดของผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และนานาชาติต่อไป
“การที่ ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ค้นพบสารสกัดจากเมล็ดลำไย ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอย่างยิ่ง จึงได้ไปจดสิทธิบัตรแล้วนำมาแปรรูปเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้โอท็อปของแต่ละจังหวัดพัฒนาไปสู่ เอสเอ็มอี สามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือทั่วอาเซียน คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาลำไยล้นตลาดในฤดูผลผลิตปีละ 700,000-800,000 ตัน ซึ่งเกษตรกรชาวสวนลำไยต่างเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อยู่แล้ว” นายธานินทร์ กล่าว
ด้าน ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ กล่าวว่า สารสกัดจากเมล็ดลำไยประกอบด้วยสาร Gallic Acid Ellagic Acid และสารฟลาโวนอยด์ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันกระบวนการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และสามารถยับยั้งการสลายองค์ประกอบ พื้นฐานของกระดูกอ่อนได้ อีกทั้งยังยับยั้งเอนไซม์แมทริกซ์ ช่วยยืดอายุกระดูกอ่อนไม่ให้เกิดการสึกหรอก่อนเวลาอันควร ซึ่งสารสกัดจากเมล็ดลำไยยังได้รับรางวัลรับรองคุณภาพนวัตกรรมดีเด่นจากคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี 2552 และรางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2554
และกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้แทนจากประเทศสิงคโปร์ให้ดำเนินการผลิตภายใต้ชื่อ เพอร์แค็ป เพื่อจำหน่ายในประเทศมีกำลังการผลิต 10,000 หลอด โดยผลิตตามใบสั่ง ในขณะที่เวียดนามกำลังอยู่ในขั้นเจรจาทางการผลิต และออสเตรเลียก็ได้มีการตกลงทำสัญญาไปแล้ว คาดว่าเมื่อประชาคมอาเซียนเศรษฐกิจเปิดตัวในปี 2558 ผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์และพรีม่าเฮิร์บ จะได้รับความนิยมใน 10 ประเทศ โดยสามารถผลิตได้เดือนละ 40,000-50,000 หลอดต่อเดือน และพร้อมจะเปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับนักศึกษา-ประชาชน ตลอดจนนักวิจัยทั่วอาเซียนภายในต้นปี 2557
และเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูนักวิจัยไทย และผลิตภัณฑ์ลองกานอยด์กับพรีม่าเฮิร์บ จังหวัดเชียงใหม่จึงร่วมกับพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิลองกานอยด์ โดยเภสัชกร หริหระสุตระ วินิจเขตคำนวณ (ประธานมูลนิธิ) จึงได้กำหนดจัดงานมหกรรมลองกานอยด์สัญจร ครั้งที่ 2 ณ อาคาร 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2556 ซึ่งภายในงานมีสินค้าจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เข้าร่วมแสดงจำนวนกว่า 120 ร้าน รวมอาหาร 4 ภาค กว่า 60 ร้าน มีการแสดงของดารา นักร้อง นักแสดงชื่อดัง และการร่วมสรงน้ำพระธาตุเสด็จ 700 ปี โดยเปิดให้เข้าชมฟรีตลอดงาน
รายการอ้างอิง :
หนุนสุดยอดนักวิจัยไทยผลิตสินค้าจากสารสกัดเมล็ดลำไย สู่อาเซียนและสากล. บ้านเมือง. ฉบับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 57 Views)