เป็นหัวข้อการเสวนา ในวันที่ 1 เมษายน 2556 ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการเสวนา 4 หัวข้อ ได้ดังนี้
หัวข้อเรื่อง – กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง H-FAME
เหตุผลหลัก ในการผลิตไบโอดีเซล คือ Energy security, CO2 reduction, National policy และ Growth Agricultural/Forestry Industries องค์กร JST และ JICA ของประเทศญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนโครงการ วิจัยพัฒนา การผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง จากเมล็ดสบู่ดำ (Jatropha fruit) ด้วยขนวบการทางเคมีที่สำคัญคือ FAME Oxidation ให้เป็น H-Fame (hydrogenated) ซึ่งขนวบการนี้มีข้อดี คือ ไม่ต้องใช้แรงดันสูง ไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูง ช่วยเพิ่มค่า Cetane number ส่วนข้อเสียคือ มีค่าต้นทุนการผลิตสูง
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) – วว.มีการตั้งโรงงานต้นแบบผลิตไบโอดีเซลคุณภาพสูง โดยร่วมมือองค์กรพันธมิตรได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (พว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร (มจพ.) สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Advanced Industrial Science and Technology หรือ AIST) และมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) โดยฝ่ายญี่ปุ่นได้จัดหาและสนับสนุนการจัดสร้างโรงงานต้นแบบระบบผลิตไบโอดีเซลต่อเนื่องคุณภาพสูง และอุปกรณ์ เครื่องมือ ในห้องปฏิบัติการจากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) โดยใช้พืชกลุ่มที่ไม่ใช้บริโภค เช่นสบู่ดำ ใช้กระบวนการทางเคมี ในปฏิกิริยา Tranesterification ต่อมานำเข้าสู่ขนวบการ FAME Hydrogenation ใช้มาตรฐานขององค์กร WWFC (World Wide Fuel Charter) ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี ต่อไปมีแผนพัฒนาพืชน้ำมันอื่นๆ
หัวข้อเรื่อง – การทดสอบการใช้งาน ไบโอดีเซลคุณภาพสูงในเครื่องยนต์
บริษัทอิซูซุเทคนิคัลเซ็นเตอร์เอเชีย จำกัด (ITA) การทดสอบการใช้งาน ไบโอดีเซลคุณภาพสูงในเครื่องยนต์ โดยที่โครงการนี้ยังดำเนินการอยู่ ได้ทดสอบการใช้น้ำมัน B10 กับรถยนต์อีซูซุ รุ่น คอมมอนเรล กำหนดวิ่ง 5 หมื่นกิโลเมตร ทำการวัดผลการทดสอบเเป็นระยะ ๆ คือ ทดสอบ Durability Test ในแง่ Engine + Vehicle รวมถึงทดสอบ สมรรถะภาพของรถ และการใช้น้ำมัน เริ่มทดสอบเมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2012 ผลการทดสอบถือว่าผ่านค่ามาตรฐานทุกค่า เช่น Lubricant oil Consumption, LOC, Emission test, Fuel Consumption ง เป็นต้น
ขณะนี้ รถวิ่งได้ระยะทาง 3 หมื่นกิโลเมตร ยังไม่พบปัญหาใดๆ ค่าทดสอบต่างๆ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด ในอนาคต มีแผนจะนำรถวิ่งให้ครบ 5 หมื่นกิโลเมตร ภายในกลางเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะทำการตรวจสอบในเรื่องต่างๆ ต่อไปด้วย
หัวข้อเรื่อง – งานวิจัยด้านคุณภาพไบโอดีเซลของ ERIA จากหน่วยงาน Economic Research Institute for ASEAN and East Asia, ERIA สำนักงานเลขาธิการอาเซียน หน่วยงาน ERIA ทำหน้าที่ศึกษา วิจัยด้านพลังงานของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเอกสารเผยแพร่ที่ www.eria.org ในส่วนของ Biofuel มีเหตุผลในการส่งเสริม คือ มีราคาน้ำมันสูงขึ้น สภาวะของโลกที่ร้อนขึ้น มีวัสดุจากภาคการเกษตรมาก ประเทศไทยถือว่ามีความสำเร็จในการผลิต B2 B5
หัวข้อเรื่อง -มาตรฐานไบโอดีเซลในปัจจุบัน
ปัจจุบันมาตรฐานของไบโอดีเซล ในระดับโลก มีหลายแห่ง เช่น สหรัฐอเมริกา (ASTM) ยุโรป (EN) และ ญี่ปุ่น (JIS) รวมถึง WWFC (World Wide Fuel Charter) ซึ่งแต่ละแห่งมีการกำหนดพารามิเตอร์แตกต่างกัน เช่นค่า Viscosity / Flash Point / Density / Surfur เป็นต้น โดยในปี 2007 กลุ่มประเทศเอเปก มีความพยายามจัดทำ Guideline for Common BDF Standard (BDF=Biomass Derived Biodiesel) จัดทำเป็นรายงานออกมา จากบทเรียนพบว่า ในการที่จะจัดทำมาตรฐานให้สอดคล้องกัน (harmonized) เป็นเรื่องที่ตกลงกันได้ยากมาก รวมถึงแต่ละแห่ง มีกฎระเบียบในการปล่อยก๊าซแตกต่างกันอีกด้วย ที่ผ่านมามีการ Harmonized สำเร็จที่เดียว คือ ยุโรป
มาตรฐานของ WWFC เป็นมาตรฐานที่ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกให้การยอมรับมากที่สุด เช่น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น (JAMA – Japan Automobile Manufacture Association) ส่วนในอาเซียน มีหน่วยงาน Asean Automotive Federation, AAF เริ่มมีการจัดทำข้อกำหนดไบโอดีเซล AAF Spec for B100
ติดตามเอกสารการบรรยายได้ที่เว็บไซต์การประชุมวิชาการ สทวช.2013 - http://nstda.or.th/nac2013/2-seminar.php– ( 140 Views)