เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 2 เมษายน 2556 ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้
หัวข้อเรื่อง – เทคโนโลยี CAE กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยรองรับ AEC สู่การแข่งขันในเวทีโลก
CAE – Computer Aided Engineering คือเทคโนโลยีที่รวมความสามารถทางวิศวกรรมผนวกเข้ากับความสามารถคอมพิวเตอร์รวมกัน ทำภาพจำลอง เสมือน แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ (simulation) ตัวอย่าง การจำลองสถานการณ์รถยนต์ชนกระแทกโดยมีหุ่นมนุษย์อยู่ภายในรถ สามารถวิเคราะห์หาแรงกระแทกเพื่อติดตั้งถุงลมนิรภัยในรถให้เพียงพอ และ ปลอดภัย ช่วยภาคอุตสาหกรรม ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ในการออกแบบ ทดสอบ ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ได้ บทบาทของ CAE ต่อภาคอุตสาหกรรม – โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรม 1 โรง มีกิจกรรมหลักๆ คือ การออกแบบ การทดสอบ และ การผลิต ซึ่ง CAE มีส่วนช่วยในทุกกิจกรรม
ระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม มีระดับขีดความสามารถ 3 ระดับคือ
1. OEM – Process Improvement Developemt – อุตสาหกรรมไทย ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับนี้ เป็นการผลิต ผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดเท่านั้น ถือว่าไม่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2. ODM – Product Design Improvement – เป็นระดับที่สูงขึ้นมา ที่มีความสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ด้วยตนเอง มีมูลค่าเพื่มขึ้นกว่าระดับที่ 1
3. OBM – Functional Improvement – เป็นระดับสูงสุดของอุตสาหกรรม
จากรายงานของ World Economic Forum ได้สรุปว่า ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะมีความก้าวหน้าได้ ต้องมีความสามารถ (Competencies) 4 ด้านคือ
1. Skilled Trades
2. Scientists & Engineers
3. Technicians
4. Technology Management
ตัวอย่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยี CAE เช่น
- นวัตกรรมขั้วหลอดไฟฟูออเรสเซ็นซ์ ที่ทำคลิปล็อคแบบใหม่ / เครื่องตอกเสาเข็ม ให้ลดเสียง / ประตูเขื่อน / จานโซล่าห์ดิสก์ ที่หาจุดรวมแสงที่ดีที่สุด / ท่อก๊าซทั่วที่ใต้ทะเล /ปืนใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้ / โครงสร้างของรถยนต์ 2 ชั้น / วิเคราะห์ความแข็งแรงของเฟอร์นิเจอร์ / ประตูอลูมิเนียมแบบม้วน / เสาไฟแสงสว่าง ที่ทนทานแรงลม เป็นต้น
ประโยชน์ของเทคโนโลยี CAE
- ลดต้นทุน รู้จุดอ่อน จุดแข็งของผลิตภัณฑ์
- ประหยัดเวลา สามารถของจริงได้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
- รู้สาเหตุและการแก้ไขปัญหา
- ช่วยสร้างนวัตกรรม
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (Design & Engineering Consulting Service Center, DECC) สังกัด สวทช. ได้ให้การปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ราว 300 บริษัท รายละเอียดของ DECC – http://www.decc.or.th/index.php– ( 129 Views)