เป็นหัวข้อการบรรยายในวันที่ 3 เมษายน 2556 ของ ของการประชุมวิชาการประจำปี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ครั้งที่ 9 (NAC2013) ภายใต้หัวข้อหลัก คือ ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ที่จัดในช่วงวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้
Biorefinery คือเทคโนโลยีที่ใช้ความรู้สหวิทยาการทำการปรับเปลี่ยน กลั่น วัสดุทางธรรมชาติ (พืช ของเสียจากโรงงาน) ให้เป็นพลังงาน สารเคมี ไบโอพลาสติก อาหารสัตว์ โดยใช้ความรู้หลากหลายสาขาผสมผสานกัน ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ เคมี นาโนเทคโนโลยี เอ็นไซน์ คาตาลิสต์
เป็นขนวบการสะอาด ช่วยลดมลภาวะ ถือเป็นการย้ายฐานจากการกลั่นปิโตรเลียม มาเป็นวัสดุทางธรรมชาติแทน ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมากด้วยมีพื้นฐานด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง มีวัตถุดิบมากมาย เช่นกากน้ำตาลจากโรงงานผลิตน้ำตาล ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง
หน่วยงานวิจัย สวทช. 2 ศูนย์ คือ ไบโอเทค และนาโนเทค มีการทำวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในไทยและต่างประเทศ ในเทคโนโลยี Biorefinery เช่น ศูนย์ไบโอเทค ศึกษาค้นคว้าหาจุลิทรีย์ที่เหมาะสมในการย่อยสลายวัตถุดิบชีวมวล ประเภทต่างๆ (fungi, bacteria, yeast, algae) โดยในปลายปีนี้ มีแผนตั้งห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ Integrative Biorefinery รวมถึง กำลังค้นคว้าวิจัยในเรื่อง renewable chemicals คือการผลิตสารเคมีจากเทคโนโลยีนี้ ศูนย์นาโนเทค มีการวิจัยในการใช้เปลือกไข่ ให้เป็น catalyst รวมถึง นำผักตบชวา มาย่อยสลาย ผลิตดินที่อุดมสมบูรณ์ (smart soil) ถือว่าได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ
ส่วนบัณฑิตวิทยาลัยด้าพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ. กำลังศึกษาวิจัยขนวบการ Syn gas conversion pathway ที่ผลผลิตที่จะได้มากมายเช่น ไฟฟ้า ไฮโดรเจนบริสุทธ์ เมทานอล แอมโมเนีย แอลเคน
สถานภาพปัจจุบันของประเทศไทยของเทคโนโลยี Biorefinery ไทยมีความสามารถและศักยภาพในการผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพได้ระยะหนึ่งแล้ว คือ เอทานอล ส่วนความสามารถการผลิตสารเคมีถือว่ายังมีน้อยมาก
ติดตามเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-seminar.php– ( 606 Views)