magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
formats

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางเพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายหัวข้อหนึ่งที่จัดในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช.  ครั้งที่ 9 (NAC 2013)  เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ  อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย  จังหวัดปทุมธานี สรุปเนื้อหาการบรรยายได้ดังนี้

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชสำอาง มีผู้ประกอบการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องสำอาง เวชสำอางที่สกัดจากสมุนไพรและที่ใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ  เวชสำอางใช้แตกต่างจากเครื่องสำอาง คือ เวชสำอางใช้แล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ (Functional cosmetics) สารออกฤทธิ์ที่ถือเป็นเวชสำอางได้แก่ Vitamin, Antioxidants, Hydroxy acids, Growth Factors, Hormones, Peptides, Glycosaminoglycans และสารสกัดจากพืชสมุนไพรบางชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มยาอยู่บ้าง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีเลขทะเบียน อย.  กำกับ

กฎระเบียบทางเครื่องสำอางตามแนวทางภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2546 ในการกำหนด 12 หลักใหญ่ ข้อตกลงเรื่องเครื่องสำอางของอาเซียน ซึ่งคาดว่าจะมีการแข่งขันกันมากขึ้นในเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย  การเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการเปิดตลาด AEC ต้องมีการศึกษากฎหมายของแต่ละประเทศที่เราจะส่งออกผลิตภัณฑ์ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ประเภทสารกันแดดมักจะมีปัญหามากว่าเครื่องสำอางทั่วไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์  ต้องพิจารณา 4 เรื่อง คือ  Product ideation, Product claims, Formulation และ Formula conclusion และต้องมีประวัติข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product information file : PIF) ใน 4 ข้อ คือ ภาพรวมและข้อสรุปของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลแสดงคุณภาพของวัตถุดิบ ข้อมูลแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิภาพ/สรรพคุณ

กลยุทธ์การตลาดของเครื่องสำอางและสารสกัดสมุนไพรเพื่อรับมือการเข้าสู่ AEC ตลาดเรื่องเครื่องสำอางในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น หากไทยคิดจะส่งออกน่าจะส่งไปที่กลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งขณะนี้เกาหลีได้พัฒนาทานาคา แป้งของพม่าโดยใช้นาโนแล้ว และกลับมาจำหน่ายที่ประเทศไทย

การทดสอบฤทธิ์สารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากนาโนเทคโนโลยี สมุนไพร ประเทศไทยมีสภาวะเหมาะสมในการปลูกสมุนไพร เป็นแหล่งผลิตสมุนไพรชั้นเยี่ยม ประโยชน์ในการใช้สมุนไพร คือ รักษาโรค บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม เป็นการเจริญเติบโตของตลาดและเครื่องสำอางและสมุนไพรไทย

เหตุผลที่ต้องทดสอบฤทธิ์สารสกัดสมุนไพร เพื่อต้องการข้อมูลในการพัฒนา คัดเลือก สมุนไพร ข้อมูลในการติดตามคุณภาพสมุนไพร และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในทางการค้า ตัวอย่างการทดสอบฤทธิ์สมุนไพรทางเวชสำอาง มี 2 ประเภท คือ Anti-aging และ Whitening และงานวิจัยศูนย์นาโนเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมโดยใช้น้ำมันรำข้าว บัวบก และอัญชัน

การซึมผ่านผิวหนังและการประเมินฤทธิ์ทางคลินิคของสารสกัดธรรมชาติในระบบนำส่งนาโน อุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ (Natural cosmetic) คือ Skin barrier และ Active instability โดย 8 ขั้นตอนหลักในการประเมินฤทธิ์ทางคลินิคของสารสกัดธรรมชาติ คือ Literature review, Study design, Ethic protocol submission, Volunteer selection, Placebo run-in, Panel study, Data analysis และ Report

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยใช้นาโนเทคโนโลยี ขณะนี้แนวโน้มนาโนเทคโนโลยีกำลังได้รับความนิยม มีผลิตภัณฑ์มากมายที่อวดอ้างประสิทธิภาพของนาโน รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอาง แต่อีกไม่นาน Stem cell กำลังมา อย่างไรก็ตามเมื่อถึงจุดอิ่มตัว มนุษย์จะกลับไปที่ธรรมชาติ (Natural) เหมือนเดิม เพราะอาจมีบางคนหวาดกลัว กังวลกับเทคโนโลยีดังกล่าว ว่าจะมีความปลอดภัยหรือไม่– ( 1874 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine − 6 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>