magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร
formats

ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร

จากการบรรยายเรื่อง ยุงชุม วิทยาศาสตร์ช่วยได้อย่างไร วันที่ 1 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งในปีนี้ จัดภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น โดยวัตถุประสงค์ของการบรรยายในหัวข้อนี้ เพื่อมุ่งเน้นเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมประชากรยุง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังสามารถนำความรูัที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

การบรรยายแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นเรื่อง “บทบาทของวิทยาศาสตร์ต่อการลดโรคนำโดยยุง” (โดย น.พ. วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)  ช่วงที่สอง เป็นเรื่อง “การใช้สารเคมีควบคุมยุง” (โดย รศ. ดร. นฤมล โกมลมิศร์ จากภาควิชากีฏวิทยาทางการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล) และช่วงที่สาม เป็นเรื่อง “แบคทีเรียปราบลูกน้ำยุง ความเป็นมาและแนวทางการพัฒนา” (โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ. ดร. วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ)

โรคที่มียุงเป็นพาหะ ได้แก่
1. ไข้มาลาเรีย – Malaria (นำโดย ยุงก้นปล่อง)
2. ไข้เลือดออก – Dengue Fever (นำโดย ยุงลาย)
3. ไข้ปวดข้อยุงลาย – Chikungunya (นำโดย ยุงลาย)
4. โรคเท้าช้าง – Lymaphatic filariasis (นำโดย ยุงเสือ ยุงรำคาญ)
5. โรคไข้สมองอักเสบ – Japanese encephalitis : JE (นำโดย ยุงรำคาญ)
6. West Nile virus (นำโดย ยุงรำคาญ ยุงลาย)
7. Rift Valley fever (RVF)
ฯลฯ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในด้านการวิจัย รู้เร็ว รักษาเร็ว ควบคุมเร็ว กล่าวคือ สามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษา  การฟื้นฟูสภาพ  การป้องกันควบคุมโรค และการเฝ้าระวังโรค นักวิทยาศาสตร์ เมื่อผลิตออกมา ต้องใช้ได้ครบ  และต้องตามทันคนอื่น ทั้งนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในการ

1. ประเมินสิ่งที่ใช้อยู่ ถ้าใช้ดีอยู่แล้ว ใช้ต่อ หรือว่าควรพัฒนาสิ่งอื่นๆ ที่ดีกว่าขึ้นมา
2. หาสิ่งใหม่ทดแทน พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งต้องดีกว่า ประหยัดกว่า ได้ผลนานกว่า คนชอบหรือยอมรับ และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
3. จัดการซากวัสดุที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม (บรรจุภัณฑ์สารเคมี มุ้งไนลอนชุบน้ำยา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้นานวันเข้าจะมีวิธีการจัดการอย่างไร)

การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการควบคุมลูกน้ำ
- ทางกายภาพ (โดยการปิด เปลี่ยน ปรับปรุง)
- ชีวภาพ (โดยการใช้ ปลา มวน แบคทีเรีย)
- สารเคมี
- สิ่งแวดล้อม (โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ลูกน้ำ)

การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการลดยุง
- สารเคมี ประเมินสารเคมีที่ใช้ในปัจจุบัน หาสารเคมีใหม่
- ชีวภาพ โดยการตัดต่อยีน
- กายภาพ โดยการใช้กับดักยุง

การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการลดการสัมผัสยุง
- ยาทากันยุง
- สารเคมี
และอื่นๆ เช่น มุ้งชุบน้ำยา วัสดุชุบน้ำยา เปล ผ้าขาวม้า โสร่ง เสื้อแจกเก็ต

การควบคุมยุงโดยใช้สารเคมี  ได้นำกรณีศึกษาจากการเข้าไปควบคุมในชุมชนวัดแจ้งพัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังน้ำท่่วมปี 2554  เพื่อป้องกันการระบาดโรคติตต่อในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม โดยการควบคุมแมลงพาหะ  กำจัดยุง กำจัดลูกน้ำ  พ่นตามแหล่งการพักของยุง ใต้ถุนบ้านที่มีน้ำขัง ตามท่อระบายน้ำ โดยการทำให้ลดจำนวนลูกน้ำได้มาก เพราะมีสาร IGR (Insect Growth Regulators) หรือเคมียับยั้งการลอกคราบ และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงร่วมกับการพ่นสาร ทำให้ลดจำนวนยุงและลูกน้ำได้มากขึ้น และประสิทธิภาพยาวนานขึ้น โดยไม่ต้องพ่นสารกำจัดแมลงบ่อยครั้งเกินไป

การนำแบคทีเรีย มาใช้ในการปราบลูกน้ำยุง

วิธีการกำจัดยุงหรือควบคุมประชากรยุง สามารถทำได้โดย
1. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
2. การใช้ยาฆ่าแมลง
3. การทำหมัน
4. การใช้กับดัก
5. การใช้แมลงหรือสัตว์ที่กินยุง เช่น แมลงปอ ปลาหางนกยูง
6. การใช้จุลินทรีย์ (ไวรัส รา แบคทีเรีย) ซึ่งแบคทีเรียที่กล่าวถึง คือ Bacillus thruringiensis isaraelensis (Bti) และ Bacillus sphaericus (Bs) / Lysinibacillus sphaericus (Ls) เป็นแบคทีเรียที่สร้างโปรตีนฆ่าลูกน้ำยุงหลายชนิด

ข้อดีของ Bti และ Bs
1. ออกฤทธิ์อย่างจำเพาะต่อลูกน้ำยุงเท่านั้น
2. ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และแมลงอื่น
3. ยังไม่พบความต้านทานต่อ Bti

ข้อจำกัด
การตกตะกอน เพราะถ้าตกตะกอน แล้วยุงไม่กิน ดังนั้น ควรจะต้องมีสูตรที่ทำให้ลอยน้ำได้นานๆ และถูกทำลายได้ง่ายโดยแสงอาทิตย์

ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนา
- สุตรอาหารและการเลี้ยง เพื่อให้ได้โปรตีนสูง
- ยืดอายุการเก็บรักษา และการออกฤทธิ์
- ผลิตภัณฑ์ที่มีแบคทีเรียสองชนิด
- หาแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ เช่น แบคทีเรียพันธุ์ใหม่ เช่น VB17 ทนร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส VB24 ลักษณะคล้าย Bs
- สร้างแบคทีเรียให้มีคุณสมบัติที่ต้องการ

การนำแบคทีเรียทั้งสองชนิดมาใช้งานสามารถทำได้ดี พบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนลูกน้ำลดลง แต่ก็ยังมีข้อจำกัด คือ การเลี้ยงเชื้อในระดับ Large scale แม้ว่าทำได้ดีแต่ต้นทุนสูง ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปของเหลว มีน้ำหนักมาก ขนส่งไม่สะดวก แต่สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลาหลายเดือน ปัจจุบันสามารถขึ้นทะเบียนเชื้อ Bti และผลิตจำหน่ายได้แล้ว แต่ Bs อยู่ในระหว่างการดำเนินการ  เริ่มมีผู้สนใจและมีหลายหน่วยงานติดต่อขอไปใช้ และใช้ได้ผลดี

อ่านเพิ่มเติมงานวิจัย ผลิตภัณฑ์ชีวภาพควบคุมลูกน้ำยุงรำคาญ ได้ที่ http://www.nstda.or.th/component/content/24/24?task=blogcategory และติดตามสื่อนำเสนอของหัวข้อนี้ ได้ที่ http://nstda.or.th/nac2013/2-2seminar.php– ( 498 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 8 = one

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>