การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง
- มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ
- คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์
ดังนั้น ในการเตรียมเพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
- การออกแบบ (Design) ต้องมีการออกแบบทั้งสินค้า/ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้คนมากกลุ่มที่สุดสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องดัดแปลง แก้ไข หรือ ดัดแปลง แก้ไขน้อยที่สุด หรืออาจะมีเทคนิคเฉพาะ
- การปรับ (Adaptation) มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology-AT) โดยใช้หลักการต่อเติม เพื่อให้เหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างจาก Universal Design (UD) ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่แรก สามารถนำ UD และ AT มารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการลงตัว เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน
- การให้ความช่วยเหลือ/ความอำนวยความสะดวกที่สมเหตุสมผล (Reasonable accommodation) ผู้ให้จัดให้ได้โดยไม่เสียผลประโยชน์ และผู้รับก็ไม่รู้สึกเสียศักดิ์ศรี
การที่คนพิการไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมพิการทำให้เป็นคนพิการ เพราะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการเอื้ออำนวยให้คนเหล่านี้ ให้สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปรกติเหมือนคนทั่วไป จึงมักจะเก็บตัวอยู่ที่บ้านเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนรอบข้าง การออกแบบที่เรียกว่า อารยะสถาปัตย์ หรือ Universal Design ต้องคำนึง การออกแบบที่ก่อให้เกิดความสะดวก การออกแบบที่ก่อให้เกิดความปลอดภัย และ การออกแบบที่ก่อให้เกิดความสวยงาม (หรือจะเพิ่มความสง่างามในนัยยะของความเท่าเทียม)
ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้บริการ ได้เสนออุปสรรคที่ทำให้งานวิจัยเพื่อคนพิการไม่สามารถใช้ได้ คือ
- ราคาแพง
- มีขนาดใหญ่ รูปลักษณ์และขนาด เทอะทะในการใช้งาน
- หามาใช้ได้ยาก การได้มาก็ยาก มีเงื่อนไขหลายอย่าง
- กรณีของซอฟต์แวร์ apps ต่างๆ นักพัฒนามักใช้บน Android แต่ผู้ใช้มักใช้ IOS
ดังนั้น การพัฒนาใดๆ ก็ตาม ให้คำนึงถึงว่า สิ่งที่พัฒนามีความจำเป็นมากแค่ไหน จึงต้องขวนขวายมาใช้ และ ควรมีการพูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้งาน ช่วยกำหนดทิศทาง ร่วมสนับสนุนกันไปด้วยกัน
โดยในด้านของนักวิจัย ได้เสนอสรุปประเด็นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสังคมอยู่ดี ดังนี้
1. เป้าหมาย : มีเป้าหมายในการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของ Universal Design, Assistive Technology และ Reasonable accommodation
2. ข้อจำกัด ในเรื่อง
- งบประมาณ
- แผนปฏิบัติที่ต่อเนื่อง
- สภาพแวดล้อมพิการยาวนานจนฝังรากลึก
- องค์ความรู้การวิจัย พัฒนา ผลิตภัณฑ์และโครงสร้งพื้นฐานที่มีหรือสรรหามาได
3. โอกาส
- ความตื่นตัวของภาคประชาสังคม
- กฎหมาย ข้อกำหนด และนโยบายภาครัฐ
- งบประมาณ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นโอกาสได้ถ้ารัฐบาลให้การสนับสนุน
4. การเติบโตของเทคโนโลยีในประเทศไทย
- เทคโนโลยีที่ทำแล้ว เช่น TT RS, GR code, Digital TV, Smart Phone ฯลฯ
- เทคโนโลยีที่จะทำ เช่น Sign language, e-Pub (มาตรฐานให้เกิดการใช้งานอย่างจริงจัง) Navigation สำหรับคนพิการ, Smart Phone สำหรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น
– ( 466 Views)
ขอบคุณครับ