magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ชอปปิงงานวิจัยสู้เออีซี จาก NAC 2013
formats

ชอปปิงงานวิจัยสู้เออีซี จาก NAC 2013

เก็บตกจากงาน NAC 2013 หรืองานประชุมวิชาการประจำปีของ สวทช.หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ซึ่งปีนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากผู้ที่อยากรู้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างความพร้อมในการก้าวสู่เออีซีหรือประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้อย่างไร.

“ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล” ผู้อำนวยการ สวทช.บอกว่า งานนี้เป็นการนำเอาผลงานวิจัยดี ๆ ของ สวทช. ออกมาโชว์ โดยเน้นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจได้จริง

เพื่อสร้างความมั่นใจและผลักดันให้ประเทศไทยก้าวหลุดพ้นจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
สำหรับผลงานที่คิดว่าไม่เป็นรองใครในอาเซียน และพร้อมให้ผู้ประกอบการหยิบจับ ไปใช้ในการแข่งขัน อาทิ งานวิจัยด้านการเกษตรที่ไทยมีความพร้อม เช่น งานวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ที่เกี่ยวข้องกับปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย          เอ็มเทคได้มีการต่อยอดพัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบแยกเมล็ดในโดยไม่ใช้ไอน้ำ ขนาดกำลังการผลิต 5 ตันทะลายต่อชั่วโมงซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชน และมีจุดเด่นคือ มีอัตราการสกัดน้ำมันที่สูง เนื่องจากไม่มีการใช้ไอน้ำในกระบวนการผลิต จึงไม่มีการสูญเสียน้ำมันปาล์มไปกับน้ำ ใช้พื้นที่ตั้งโรงงานขนาดเล็ก การใช้งานและการดูแลรักษาทำได้ง่าย ผลิตน้ำมันปาล์มเกรดเอ ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย และกากเหลือจากกระบวนการผลิตสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย

ส่วนรถบรรทุกอเนก ประสงค์เพื่อเกษตรกรชุมชน ก็เป็นอีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจเพราะจะเป็นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรไทย ที่ไม่ต้องไปซื้อหาราคาแพง แถมยังมีการผลิตที่เป็นมาตรฐาน ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง

นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ มาทำเป็นระบบติดตามอุณหภูมิพร้อมสัญญาณเตือน ผลงานของศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์

ผู้วิจัย บอกว่า ระบบนี้สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ต้องเก็บรักษาอยู่ภายใต้อุณหภูมิเฉพาะที่ กำหนด เช่น ยารักษาโรค เซรุ่ม หรือส่วนประกอบโลหิต ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

ระบบสามารถเฝ้าติดตามและตรวจจับอุณหภูมิ ด้วยการส่งข้อมูลการสื่อสารแบบไร้สาย เข้าสู่ส่วนประมวลกลางเพื่อทำหน้าที่รับข้อมูลและประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ส่วนประมวลผลกลางนี้จะเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลระบบ สามารถ

ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ และสามารถเรียกดูข้อมูลผลอุณหภูมิ และการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังได้ตามต้องการ
ระบบมีการแจ้งเตือนด้วย Buzzer และ ส่งสัญญาณเตือนผ่านระบบ SMS ได้ หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติขึ้นในระบบ
นี่แค่บางส่วนของผลงานวิจัย ที่ผู้อำนวยการ สวทช. บอกว่า จากการจัดงาน NAC มาเป็นปีที่ 9 พัฒนาการที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือการตั้งโจทย์จากผู้ใช้ และมาจากภาคเอกชนมากขึ้น

รวมถึงมีการบูรณาการรวมทีมวิจัยจากด้านต่าง ๆ เป็นโครงการขนาดใหญ่มากขึ้นอีกด้วย.

รายการอ้างอิง :
นาตยา คชินทร. ชอปปิ้งงานวิจัยสู้เออีซี จาก NAC 2013. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 71 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× seven = 7

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>