magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN นวัตกรรมช่วยเอสเอ็มอีรับมือเออีซี
formats

นวัตกรรมช่วยเอสเอ็มอีรับมือเออีซี

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี อย่างเป็นทางการในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่งผลให้ภาคธุรกิจเตรียมตั้งรับและรุกเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการศึกษา โอกาสในการแข่งขัน การเตรียมความพร้อมเพื่อขยายตลาดในเพื่อนบ้าน รวมไปถึงการปรับกลยุทธ์การค้า แต่หากพูดถึงในเรื่องของนวัตกรรมเพื่อการค้าแล้ว หลากหลายธุรกิจยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่ยังสนใจใช้นวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจต่ำอย่างน่าใจหาย

          “ผศ.ดร.สุรพงษ์ พินิจกลาง” อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ฉายภาพความสำคัญของนวัตกรรมกับการทำธุรกิจผ่านทางรายการเศรษฐกิจติดจอ ทางช่องเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า หากภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีจะออกไปสยายปีกให้ทั่วโลกได้รับรู้ถึงผลผลิต ของตัวเอง หรือแข่งขันกับต่างชาติให้ได้มากขึ้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การพัฒนานวัตกรรมให้สินค้าเดินหน้าอยู่ได้อย่างถาวรและยั่งยืนบนเวทีตลาดโลก

แต่ที่ผ่านมา “ผู้ประกอบการไม่ทราบ หรือไม่เข้าใจว่านวัตกรรมคืออะไร จะเดินหน้าในทิศทางไหนบ้าง จะทำอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่”.
ทั้งนี้สร้างนวัตกรรม.ให้กับผลิตภัณฑ์นั้นไม่ใช่เพียงการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เป็นที่รู้จักในตลาดเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกระบวนการในการออกแบบสินค้าดีไซน์ ลูกเล่นใหม่ ๆ ให้กับสินค้า ทั้งเรื่องของแพ็กเกจ เรื่องของภาพลักษณ์ ซึ่งต้องยอมรับว่าในปัจจุบันสินค้าบางอย่างส่วนใหญ่ขายได้เกิดจากการดีไซน์ ที่โดดเด่นและแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในประเภทเดียวกัน ส่วนจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อแข่งขันกับตลาดยุโรป เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐได้

‘เราคุ้นเคยกับการเปิดการค้าเสรีมาตั้งแต่ปี 36 แล้ว แต่ในปี 58 นี้จะเป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศสมาชิกในอาเซียน หลายหมื่นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอีจะต้องเร่งปรับตัว เพื่อรองรับกับการแข่งขันซึ่งอาจจะไม่ใช่คู่แข่งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านเรา ทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา แต่คู่แข่งอาจหมายถึงการก้าวไปตลาดโลกทั้งยุโรป สหรัฐ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งหากจะให้สินค้าขายได้ในตลาดต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการพัฒนานวัตกรรมให้มีความโดดเด่น ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจุบันผู้ประกอบการไทยยังขาดในส่วนนี้อยู่พอสมควร”

อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันจะพบว่าสินค้าหลากหลายประเภทของไทยมีความแตกต่างและโดดเด่นอย่าง มากเมื่อก้าวเข้าสู่เวทีโลก แต่กลับพบว่าไทยไม่ได้ติดอันดับประเภทที่มีการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือว่าไทยแพ้สิงคโปร์ เพราะปัจจุบันสิงคโปร์ติดอันดับ 3 ของโลก อันดับ 1 ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ อันดับ 2 คือสวีเดน โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ส่งผลให้ไทยยังไม่สามารถแปรรูปของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนักคือ เงินทุนในการทำวิจัย กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปีในการดำเนินการจดสิทธิบัตร รวมไปถึงภาครัฐยังไม่สามารถเข้ามาประสานให้ผู้ประกอบการและนักวิทยาศาสตร์ เชื่อมถึงกันได้

ปัจจุบันนี้เอสเอ็มอีไทยเริ่มให้ความสนใจในเรื่องของนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีข้อเสียคือ การทำงานที่ต่างคนต่างไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้พบเจอกับนักวิทยา ศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถพัฒนาสินค้าให้ตรงจุดได้ เช่น ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้า กับนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้คิดค้นและต่อยอดผลิตภัณฑ์นั้นยังหากันไม่เจอ ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้ คือ รัฐบาลจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงและประสานงาน ซึ่งปัจจุบันไทยมีองค์กรที่เกี่ยวข้องที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งภาครัฐอาจจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนหรือเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการและนักวิทยาศาสตร์ให้พบ เจอหรือจับคู่ทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขในเรื่องของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่ ปัจจุบันนั้นเกาหลีใต้สามารถจดสิทธิบัตรได้ภายในเวลา 8 เดือน แต่ของไทยนั้นจะต้องใช้เวลาเกือบ 5 ปี ดังนั้นส่งผลให้กว่าจะมีการจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการอาจทำให้มีการลอก เลียนแบบหรือการขโมยความคิด (ก๊อบปี้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์) เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งดังนั้นรัฐบาลจะต้องหาแนวทางในการปิดช่องโหว่ดังกล่าว ประกอบกับรัฐบาลจะต้องทำงานเชิงรุก ประสานงานร่วมกัน เน้นการทำงานรวมกลุ่มมากกว่าต่างคนต่างดำเนินการ

เหนือสิ่งอื่นใด… การพัฒนานวัตกรรมเอสเอ็มอีไทยจะต้องไม่ถอดใจเด็ดขาด อย่าแข่งขันกันเองในประเทศ แต่ต้องมองให้ไกลกว่านั้น ปรับทัศนคติ ร่วมใจกันทำงานทั้งรัฐบาล ผู้ประกอบการ นักวิทยาศาสตร์ เร่งกันผลักดันสินค้าเพื่อสู่เวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้สินค้าของไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก.

รายการอ้างอิง :
ภัทราภรณ์ พลายเถื่อน. นวัตกรรมช่วยเอสเอ็มอีรับมือเออีซี. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 63 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three − = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>