magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home นาโนเทคโนโลยี เวชสำอางไทย มาตรฐานใหม่สู่เออีซี
formats

เวชสำอางไทย มาตรฐานใหม่สู่เออีซี

กระแสการเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 กำลังเป็นเทรนด์ที่ ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญ และเร่งเดินหน้าในการเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงาน เพื่อเป็นที่หนึ่งในการแข่งขันในภูมิภาค อาเซียน

ล่าสุดหน่วยงานภาครัฐทั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จัดสัมมนา “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอาง เพื่อเข้าสู่ AEC โดยใช้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (Cosmeceuticals Development for AEC by S&T) ในงาน การประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช.(NAC 2013)” เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบตลาดเครื่องสำอางในเอเชียที่ต้องใช้ ระเบียบเดียวกัน งานนี้มีผู้ประกอบการด้านความงาม และสมุนไพรไทยให้ความสำคัญร่วมรับฟังอย่างล้นหลาม เนื่องจากประเทศไทยมีความ ได้เปรียบเรื่องการส่งออกสินค้าเครื่องสำอาง โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 50,009 ล้านบาท แต่นำเข้าเพียง 10,000 กว่าล้านบาท          ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ยังย้ำจุดแข็งในการส่งออกว่า เครื่องสำอางเป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากเปิดเข้าสู่เออีซี ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์ฯ) วิเคราะห์เมื่อปลายปีที่ผ่านมาไว้น่าสนใจว่า เมื่อเปิดเสรี การค้าในอาเซียนจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าจำนวนมากโดยไม่มีกำแพงภาษี และสินค้ากลุ่มเวชสำอางและสารสกัดสมุนไพรไทย ประเทศไทยส่งออกมากว่านำเข้าซึ่งได้เปรียบในอาเซียน แม้จะถูกตลาดเกาหลีรุกเข้ามามากก็ตาม แต่สิ่งสำคัญที่ไทยต้องรักษามาตรฐาน เช่น การทดสอบให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพจริง มาตรฐานถูกต้อง และมีกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย เป็นต้น

ภญ.นฤภา วงศ์ปิยะรัตนกุล หัวหน้างานกำหนดมาตรฐาน กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เครื่องสำอางมีกฎระเบียบเรื่องเครื่องสำอางอาเซียน พ.ศ. 2546 ที่มีการทำข้อตกลง และมีการเริ่มใช้บทบัญญัติเรื่องเครื่องสำอางอาเซียน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา โดยปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอาเซียน โดยเฉพาะ เรื่องการดูแลจดแจ้ง ผู้ประกอบ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ต้องดูแลและจดแจ้งข้อมูลรายการสารและวัตถุดิบต่างๆ ด้วยตนเอง กับทาง อย. ให้ทราบก่อนการผลิตก่อนการ นำเข้า “แม้ไทยจะส่งออกสินค้าเครื่องสำอางมาก แต่ปัจจุบันยังมีกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางตามแนวตะเข็บชายแดนมีการปนเปื้อน แคดเมียมค่อนข้างสูง ดังนั้นก่อนเปิดเออีซีเรื่องคุณภาพมาตรฐานสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไทยต้อง พิจารณา แต่เรื่องนี้ต้องมีการแก้ไขก่อนอย่างแน่นอน ซึ่ง อย. กำลังจะออกมาตรฐานการผลิตเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐานหรือ GMP เช่น หลักเกณฑ์การผลิตเครื่องสำอาง ทั้งเรื่องการจัดเตรียมสถานที่อย่างไร มีเครื่องไม้ เครื่องมืออะไรในการผลิตเครื่องสำอางให้ได้มาตรฐาน โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์กับ ผู้ประกอบการก่อนออกประกาศบังคับใช้ เพื่อเป็นการเริ่มต้นมาตรฐานที่ดีของตลาดเครื่องสำอาง” ขณะเดียวกัน ภญ.ดร.อภิรดา สุคนธ์พันธุ์รักษาการหัวหน้าห้องปฏิบัติการนาโนเวชสำอาง ศูนย์นาโนเทคฯ กล่าวถึงงานวิจัยและการ นำเสนอวิธีวิจัยด้านการทดสอบฤทธิ์สารสกัด สมุนไพรการพัฒนาเครื่องสำอางจากนาโนเทคโนโลยีและการทดสอบประสิทธิภาพทาง คลินิกว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งเจริญเติบโตของสมุนไพรชั้นเยี่ยม แต่การคัดเลือกสมุนไพร เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางสมุนไพรของเวชสำอางนั้น มีจำนวนมากโดยเฉพาะเวชสำอางด้าน นาโนเทคโนโลยี ทั้งกลุ่มไวเทนนิ่ง(ทำให้ผิวขาว) และแอนไทเอจจิ้ง(ต่อต้านริ้วรอย) จำเป็นต้องตระหนักในการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิก ซึ่งตัวอย่างของศูนย์นาโนฯ ได้ร่วมวิจัยกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผม “เซรั่มน้ำมันรำข้าวนาโน”  ทั้งนี้เนื่องจากหลังจากทดสอบฤทธิ์สมุนไพรมาแล้ว โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ จะมีฤทธิ์ที่ไม่คงตัว รวมทั้งสมุนไพรส่วนใหญ่ไม่สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย ดังนั้นการใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในรูปของ นาโนพาร์ทิเคิล หรือการห่อหุ้มสารสมุนไพรไว้ภายใน ทำให้สารสมุนไพรไม่สัมผัสสภาพแวดล้อมภายนอกมากนัก เกิดความคงตัวและช่วยให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรดีขึ้น และด้วยประสิทธิภาพการห่อหุ้ม สารสมุนไพรในขนาดนาโนนี้เองจึงทำให้สารสมุนไพรซึมผ่านหนังศีรษะได้ง่ายขึ้น อีกทั้งสารสมุนไพรไม่สัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจึงไม่เกิดการระคายเคืองหนัง ศีรษะด้วย

“ถ้าถามว่าทำไมต้องเลือกทำกับปัญหาเส้นผม ต้องบอกว่าแม้ปัญหาของเส้มผมจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้มีปัญหาด้านเส้นผมและหนังศีรษะอย่างมาก ซึ่งด้วยสารสมุนไพรที่นำมาทดสอบการกระตุ้น รากผม ทั้งน้ำมันรำข้าว ใบบัวบก อัญชันและน้ำมันงา ทำให้งานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จมีการพิสูจน์ว่าช่วยให้เส้นผมแข็งแรงขึ้น ร้อยละ 17 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านาโนเทคโนโลยีจะช่วยในการซึมผ่านและเพิ่มประสิทธิภาพใน การออกฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรได้”

อย่างไรก็ดี การทดสอบความปลอดภัยของเครื่องสำอางนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งขณะนี้มีห้องปฏิบัติการความปลอดภัย นาโนเทคโนโลยี ที่ให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบว่า สารหรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้น จะเกิดการระคายเคืองกับผิวหนังหรือไม่ ด้วยการทดลองระดับห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสากล ดังนั้นหากกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องสำอางต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่ง ขันเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เพื่อร่วมกันสร้างมาตรฐานเวชสำอางที่ดี ต้องมีมาตรฐานควบคู่กันไป

‘การทดสอบ ความปลอดภัย ของเครื่องสาอางนั้น ถือเป็นเรื่อง สาคัญอย่างมาก ในการสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน’

รายการอ้างอิง :
เวชสำอางไทย มาตรฐานใหม่สู่เออีซี. เวชสำอางไทย มาตรฐานใหม่สู่เออีซี. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 339 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ one = 4

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>