magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ แปรรูปเพิ่มมูลค่าเส้นไหมเหลือทิ้งสู่วัสดุรักษาแผลสด
formats

แปรรูปเพิ่มมูลค่าเส้นไหมเหลือทิ้งสู่วัสดุรักษาแผลสด

ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมีไฟไหม้ หรือความร้อน บาดแผลจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการเกิดแผลเป็นหากมีการใช้วัสดุปิดแผลที่มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังที่เหมาะสม จะช่วยทำให้การรักษาบาดแผลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

คุณสมบัติของไหมสายพันธุ์ไทยจะมีโปรตีนเส้นไหมไฟโบรอิน (fibroin) และโปรตีนกาวไหมเซริซิน (sericins) ซึ่งโปรตีนทั้งสองชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เมื่อนำมาใช้กับมนุษย์ คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการวิจัยพัฒนาวัสดุปิดแผลทางการแพทย์ โดยใช้แผ่นทอไฟโบรอินจากไหมไทยเป็นโครงของแผ่นวัสดุปิดแผล และดัดแปรพื้นผิวของแผ่นทอไหมด้วยชั้นเคลือบเจลาตินและคอลลาเจนไฮโดรไลเสท และโปรตีนกาวไหมเซริซิน ซึ่งเป็นชีววัสดุที่ทำหน้าที่ควบคุมการปลดปล่อยสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในบาดแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นนี้จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรอย่างมหาศาล หากสามารถนำเส้นใยไหมที่ไม่สมบูรณ์ หรือส่วนที่เหลือจากการผลิตเส้นไหมซึ่งมักจะถูกทิ้ง มาแปรรูปเป็นวัสดุปิดแผลทางการแพทย์ได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดการนำเข้าวัสดุปิดแผลจากต่างประเทศด้วย

แหล่งที่มา :
“โครงการวิจัย สวก. : แปรรูปเพิ่มมูลค่าเส้นไหมเหลือทิ้ง” รายงานประจำปี 2555. 27; กุมภาพันธ์ 2556– ( 108 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 − eight =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>