magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก สมดุลสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ
formats

สมดุลสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ

งานมหกรรมทีวีรักษ์โลก 360 องศา 2556ปาฐกถาพิเศษแนวพระราชดำริ ” สมดุลสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ ” เป็นหนึ่งในหัวข้อการปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการ ” Learn to Live in the World of Change” มหกรรมทีวีรักษ์โลก 360 องศา จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-22 เมษายน 2556  ที่ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

ปาฐกถานี้บรรยายโดยท่านสุวัฒน์  เทพอารักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ท่านเล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่  19 สิงหาคม 2489 หลังจากนั้นทรงเสด็จเยี่ยมประชาชนทุกจังหวัดและทรงพบปัญหาทุกปัญหา  จึงทรงหาวิธีและแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆ จนเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วกว่า 4,350 โครงการ ประกอบด้วย :-

  • โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ          จำนวน        2,955       โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านการเกษตร        จำนวน            165       โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม        จำนวน             145      โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ        จำนวน              325         โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข        จำนวน                    55        โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร    จำนวน                    76     โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านสวัสดิการสังคม/การศึกษา      จำนวน                   395          โครงการ
  • โครงการพัฒนาด้านแบบบูรณาการ/อื่นๆ              จำนวน                  234           โครงการ

โครงการในพระราชดำริโครงการแรก คือ โครงการพัฒนาชนบท ตั้งขึ้นเมื่อปี 2495 สาเหตุจากเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และรถยนต์พระที่นั่งติดหล่มที่บ้านห้วยมงคล เห็นความเดือดร้อนของราษฎรในการเดินทาง จึงพระราชทานรถเกรดเพื่อทำถนนให้ประชาชน

ปี พ.ศ. 2496  จัดตั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ แห่งแรกที่เขาเต่า

ปี พ.ศ. 2498  จัดตั้งโครงการฝนหลวง เนื่องจากเสด็จเยี่ยมราษฎร พบความแห้งแล้ง ทรงคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้ฝนตกได้ ก็ได้มีการทำการทดลองทำฝนเทียม มาเรื่อยๆ มาประสบความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.  2512 ใช้เวลาในการคิด 14 ปี ปัจจุบัน เรียกว่ากรมฝนหลวง ซึ่งสามารถช่วยประกรได้ 100 ล้านไร่

ปี พ.ศ. 2508  จัดตั้งโครงการปลานิล พระราชทาน มอบหมาย กรมประมงไปดำเนินการ

ในด้านสิ่งแวดล้อม   มีพระราชดำริในด้านต่างๆ เช่น โลกร้อน เกิดจากการเผาป่า ก็แก้ด้วยการปลูกต้นไม้  ในภาคอีสานมีดินเค็ม แก้โดยใช้ระบบชลประทานในการล้างเกลือที่ตกค้างบริเวณผิวดินและลำห้วย เพื่อให้น้ำในห้วยเจือจางสามารถนำมาใช้สอยได้ตามปกติ    ดินเปรี้ยว หรือดินพรุ เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นชั้นหนาอย่างน้อย 50 เซนติเมตรขึ้นไป และน้ำท่วมขัง พื้นที่พรุมีสภาพความเป็นกรดระหว่าง 4.5-6.0 การแก้ไขดินเปรี้ยว หรือดินพลุ ที่ทรงเรียกว่าแกล้งดิน โดยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกัน จนกลายเป็นดินที่เปรี้ยวหรือเป็นกรดจัด จนพืชไม่สามารถขึ้นและเติบโตได้ และแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินด้วยวิธีต่างๆ  วิธีที่ดีเหมาะสมที่สุดคือ การใช้น้ำชะล้างดินควบคู่กับการใช้ปูนผนวกกับการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้ลึกอยู่ไม่เกิน 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แร่กำมะถันที่อยู่ในดินชั้นล่างสัมผัสกับอากาศในดินและปลกปล่อยกำมะถันออกมา   สำหรับด้านการบริหารจัดการน้ำ แยกกิจกรรมได้ 13 กิจกรรม  มี 2,955 โครงการ

สุดท้ายการที่จะรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมได้ คือต้องรักษาป่าไว้ให้ได้มากที่สุด ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกป่า เพราะป่าจะเป็นที่เก็บน้ำจากฝนตกได้ ดังคำที่ว่า พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต ดังมีพระราชดำรัส เมื่อปี 2519 ว่า การจะปลูกป่าให้ดีที่สุด คือการปลูกป่าในใจคน เมื่อปลูกป่าในใจคนสำเร็จ ก็จะสามารถปลูกต้นไม้ในป่า และรักษาอย่างจริงใจ

เรียบเรียงจาก การปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาวิชาการ  Learn to Live in the World of Change ในงานมหกรรมทีวีรักษ์โลก  360 องศา. วันที่ 21 เมษายน 2556. อิมแพค เมืองทองธานี.– ( 240 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


two − = 1

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>