magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home นาโนเทคโนโลยี ทิศทางวิจัยใต้ปีก สวทช.ผลักดันสู่สังคมฐานความรู้
formats

ทิศทางวิจัยใต้ปีก สวทช.ผลักดันสู่สังคมฐานความรู้

ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า ในช่วง 15 ปี แรกของการก่อตั้ง สวทช. เป็นช่วงเวลาบ่มเพาะงานวิจัย ซึ่งต้องยอมรับว่างานวิจัยแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่จะได้พันธุ์ที่เหมาะสมตลอดจนกระบวนการต่อยอดให้เกษตรกรนำไปใช้ หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่แม้จะได้เชื้อต้นแบบมาแล้ว แต่ก็ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการวิเคราะห์ทดสอบ “การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง สร้างผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น งานวิจัยข้าวทนน้ำท่วม ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี ในการต่อยอดเพื่อนำไปใช้กับเกษตรกร หรือแม้แต่งานวิจัยวัคซีนเอง แม้จะวิจัยจนได้เชื้อมาแล้ว แต่กว่าจะทดสอบต้องใช้เวลา การจะนำใช้จริงในมนุษย์นั้น ต้องยืนยันความปลอดภัย ทำให้การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มีจำนวนจำกัด” เขากล่าวยอมรับ แต่ในช่วง 5 ปีให้หลัง รูปแบบการวิจัยได้เปลี่ยนไปเป็นการต่อยอดงานวิจัยจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ เดิม ดร.ทวีศักดิ์ บอกว่า รูปแบบของงานวิจัยในปัจจุบันต่างจากในอดีตที่เน้นการวิจัยเชิงวิชาการ เพื่อสร้างฐานความรู้ แต่ปัจจุบันเริ่มมีการต่อยอดเทคโนโลยีจากการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน ทั้งในลักษณะเป็นที่ปรึกษา ร่วมวิจัย และรับจ้างวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กลไกต่างๆ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อสนับสนุน เช่น โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือ iTAP  “ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการทำวิจัยสมัยใหม่ เริ่มมีการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยี 2 ประเภท เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ และอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาชุดตรวจโรคที่มีความจำเพาะและแม่นยำมากขึ้น” เขากล่าว          ทั้งนี้ ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทยในอาเซียน ก็เป็นที่ยอมรับในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์ ชีวภาพ วัสดุ และนาโนเทคโนโลยี

“ปัจจุบันสถานการณ์ด้านการวิจัยของประเทศเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น มีโจทย์วิจัยจากภาคเอกชนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนบางครั้งโจทย์ที่เข้ามากลับมากกว่าจำนวนนักวิจัยที่มีอยู่” เขาสะท้อนมุมมอง และว่า นั่นเป็นสัญญาณที่ดี เพราะหากเกิดการเคลื่อนย้ายสมองขึ้นจริง เมื่อเอกชนต้องการพัฒนาสินค้าและบริการที่แข่งขันได้ ย่อมต้องการงานวิจัย และนักวิจัยที่มีประสบการณ์จากสถาบันวิจัยของรัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัย

“หากสังเกตให้ดี ตอนนี้เราจะเริ่มเห็นการเคลื่อนย้ายนักวิจัยจากสถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ไปทำงานในภาคเอกชนชั่วคราว ในช่วง 2-3 ปี เพื่อผลิตผลงานวิจัย สนองตอบความต้องการของเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง” เขากล่าว

ดังนั้น สิ่งที่ สทวช. ต้องเดินหน้าต่อคือการเพิ่มจำนวนงานวิจัย ควบคู่ไปกับการพัฒนานักวิจัย เช่น หากมหาวิทยาลัยต้องการสร้างทีมวิจัย สวทช. ก็พร้อมสนับสนุน

ดร.ทวีศักดิ์ มองว่า งบวิจัยของประเทศ ณ ปัจจุบัน ที่ 0.22% ของจีดีพี นับเป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับหน่วยงานสนับสนุนด้านการวิจัยที่ต้องการเห็น ประเทศพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว  ซึ่งต้องเดินหน้าท่ามกลางงบวิจัยที่จะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ “ถ้าเป้าหมายของรัฐบาลคืองบวิจัยที่ 1% ของจีดีพี นั่นแปลว่ารัฐและเอกชนจะ

ต้องลงทุนด้านการวิจัยถึง 1.2 แสนล้าน
บาท ในขณะที่ล่าสุดเงินลงทุน
ด้านการวิจัยอยู่ที่ราว 2.2
หมื่นล้านบาท การผลัก
ดันให้ถึงเป้าหมายอาจต้องใช้เวลากว่า 5 ปี” เขากล่าว
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ สวทช.มองว่า ความสำเร็จของเป้าหมายที่วางไว้ไม่ได้มาจากการลงทุนจากภาครัฐเพียงอย่าง เดียว แต่ต้องเกิดจากการลงทุนจากภาคเอกชน ในสัดส่วนที่

เหมาะสม คือ รัฐลงทุน
30% ขณะที่เอกชน ลงทุน 70% วันนี้รัฐลงทุนด้านการวิจัยในสัดส่วน 55% ขณะที่เอกชนลง 45% อย่างไรก็ตาม เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากเอกชน โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่เริ่มทุ่มเม็ดเงินลงทุนให้กับการวิจัยอย่างจริง จัง ซึ่งเขามองว่า วันนี้รัฐควรต้องกล้าลงทุนวิจัยที่ 3 หมื่นล้านบาทถึงจะขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมาย เป็นประเทศเศรษฐกิจฐานความรู้ได้

เขาให้ข้อมูลว่า ตอนนี้แนวโน้มงานวิจัยที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชน บริษัทใหญ่เริ่มทุ่มเงินทุนวิจัยเพื่อตอบสนองกับอุตสาหกรรมทั้งระบบ แต่การคัดเลือกวัตถุดิบ ปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า ลดการใช้พลังงาน และการใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของผลิตภัณฑ์โดยไม่มีเศษเหลือทิ้ง

ซึ่งทิศทางดังกล่าวทำให้ สวทช. ได้หันมาให้ความสำคัญกับการจัดกลุ่มวิจัยเป้าหมายใหม่ โดยเน้นไปที่ 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย อาทิ งานวิจัยด้านการเกษตร อาหาร พลังงานสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานวิจัยเพื่อสังคม อาทิ สุขภาพ การแพทย์ และกลุ่มงานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนชนบท และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนสนับสนุนงานวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ในการพัฒนาศักยภาพการทำงานร่วมกับบริษัทข้ามชาติ ที่มีแนวโน้มเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโจทย์วิจัยจากบริษัทต่างชาติต่างต้องการเอกชนไทยร่วมสนับสนุน

ขณะเดียวกัน ในมุมของการวิจัย ดร.ทวีศักดิ์ มองว่า หัวข้อวิจัยต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ทั้งโจทย์ใหญ่เพื่อแก้ปัญหาเดิม เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิต ขณะเดียวกันยังต้องต้านทานโรคแมลง ทนน้ำท่วม

“งานวิจัยต้องวิ่งไล่ปัญหา โดยสาเหตุที่ทำให้หัวข้อวิจัยเปลี่ยน มีอยู่ 2-3 เรื่อง เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้ผลผลิตลดลง และความเสียหายจากน้ำท่วม ทำให้โจทย์วิจัยเพิ่มขึ้น” เขากล่าว และว่า เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 คือประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือน้ำสะอาดอาจมีไม่เพียงพอ ขณะที่ความต้องการอาหารมีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์ของนักวิจัยที่จะทำอย่างไรให้ปลูกพืชโดยใช้น้ำน้อยแต่ ให้ผลผลิตมาก ขณะเดียวกันต้องต้านทานกับโรคอุบัติใหม่ได้ด้วย

‘ถ้ารัฐบาลตั้งงบวิจัยที่ 1% ของจีดีพี นั่นแปลว่ารัฐและเอกชนต้องลงทุนถึง 1.2 แสนล้าน ขณะที่ล่าสุดเงินลงทุนอยู่ที่ 2.2 หมื่นล้าน การผลักดันให้ถึงเป้าหมายต้องใช้เวลากว่า 5 ปี’

รายการอ้างอิง :
จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา. ทิศทางวิจัยใต้ปีก สวทช.ผลักดันสู่สังคมฐานความรู้. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 107 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 + five =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>