magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อกระหึ่มโลกคว้ารางวัลระดับโลกจากสวิส
formats

นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อกระหึ่มโลกคว้ารางวัลระดับโลกจากสวิส

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักประดิษฐ์ในการนำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในระดับโลกและระดับนานาชาติมาโดยตลอด เช่นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์ระดับรางวัลกรังปรีซ์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีมาแล้ว

ในปีนี้ วช. จึงได้นำนักประดิษฐ์และผลงานประดิษฐ์ เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน “41st International Exhibition of Inventions of Geneva”ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-14 เมษายนที่ผ่านมา ณ Palexpo กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส โดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิส (The Swiss Federal Government of the State, the City of Geneva) และองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO (The World Intellectual Proper ty Organization)มีนักประดิษฐ์จากภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมประกวดผลงานกว่า 98 หน่วยงาน 14 องค์กร รวมผลงานประดิษฐ์มากกว่า 1,000 ผลงาน

ทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีที่ผลงานของนักประดิษฐ์ไทย จาก 14 หน่วยงาน 37 ผลงาน เข้าประกวดใน 11 กลุ่มเรื่อง ได้รับรางวัล ดังนี้ เหรียญทองเกียรติยศ(Gold Medal with the Congratulations of the Jury) จำนวน 3 ผลงานรางวัลเหรียญทอง (Gold Prize) จำนวน 11 ผลงาน รางวัลเหรียญเงิน (Silver Prize) จำนวน 12 ผลงาน รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Prize) จำนวน 9 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศต่าง ๆ ได้แก่ประเทศไต้หวัน (Chinese Taipei) จำนวน 4 ผลงาน สาธารณรัฐเกาหลี (Korea)จำนวน 3 ผลงาน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Iran) จำนวน 3 ผลงาน ประเทศมาเลเซีย จำนวน 1 ผลงาน และจาก IFIA จำนวน 2 ผลงาน

นอกจากนี้ ประเทศไทยโดย วช. ยังได้มอบรางวัล “Thailand Award for Best International Invention” แก่นักประดิษฐ์นานาชาติที่มีผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมดีเด่นในงานดังกล่าวด้วย ผลงานของนักประดิษฐ์ไทยที่ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulations of the Jury) จำนวน 3 ผลงาน คือ
1. อุปกรณ์ช่วยพ่นยาชนิดทำได้ด้วยตนเอง ของ รศ.พญ.อรพรรณ  โพชนุกูล และนายปริญญา จันทร์หุณีย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต)ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศไต้หวัน (Taiwan Invention Association)
2. หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก ของ ผศ.ดร.ปัณรสี  ฤทธิประวัติ และนางสาวอรวรรณ  คำดี แห่งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศไต้หวัน (Taiwan Invention Association)
3. ลูกหมุนระบายอากาศผลิตกระแสไฟฟ้าและมอเตอร์ ของ นายระพีบุญบุตร และดร.เอกกมล  บุญยะผลานันท์ แห่งห้างหุ้นส่วนจำกัด อาทิตย์เวนติเลเตอร์ ได้รับรางวัลในกลุ่ม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Inv ention Promotion Association, KIPA)
รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จำนวน 11 ผลงาน คือ
1. การใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรมการกักเก็บสารสำคัญจากพืชด้วยเบต้าไซโคลเด็กซ์ตริน ของ ผศ.ดร.พิษณุ  ตู้จินดา และรศ.ดร.ลักขณาหล่อตระกูล แห่งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต) ได้รับรางวัลในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศมาเลเซีย
2. ข้าววรางกูร ของ นายแพทย์สิทธิพร  บุณยนิตย์ แห่งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศอิหร่าน
3. ชุดทดสอบ “Salmonella-DNAsensor test kit I” สำหรับเชื้อแซลโมเนลลา ของ รศ.ดร.โกสุม  จันทร์ศิริ และคณะ แห่งคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศอิหร่าน
4. การพัฒนาระบบสารรักษาสภาพน้ำยางไร้แอมโมเนียสำหรับผลิตภัณฑ์จุกนมยาง ของ ดร.สุรพิชญ์  ลอยกุลนันท์ และคณะ แห่งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้รับรางวัลในกลุ่ม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Invention Promotion Association, KIPA)
5. การพัฒนาระบบการจัดการน้ำยางสกิมและของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น ของ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ แห่งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.ได้รับรางวัลในกลุ่ม สื่อสิ่งพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์
6. ฝาจุกสำหรับภาชนะบรรจุของเหลว เพื่อช่วยป้องกันการสำลักในระหว่างริน ของ ดร.พัชรี  ลาภสุริยกุล และคณะ แห่งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช.ได้รับรางวัลในกลุ่ม สื่อสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
7. เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก (เอนบลีช)  ของดร.ธิดารัตน์  นิ่มเชื้อ  แห่งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช.ได้รับรางวัลในกลุ่ม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
8. อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคพังผืดกดรัดเส้นประสาทข้อมือ สงขลานครินทร์ของ ผศ.นายแพทย์สุนทร  วงษ์ศิริ แห่งอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช.ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส
9. เครื่องเจียระไน รูใน ของ นายบุญทัน  พุฒลา และคณะ แห่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ ได้รับรางวัลในกลุ่ม กระบวนการทางวิศวกรรมเครื่องจักรกลและโลหะวิทยา
10. โทรศัพท์สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ของ นายพิเชษฐ์  พานเที่ยงและคณะ แห่งสถาบันนวัตกรรม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส
11. เครื่องกำจัดการสะสมตะกอนน้ำมันดิบ ปตท. ของ ดร.วิชาพันธ์  วีระภาคย์การุณ และคณะ แห่งสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้รับรางวัลในกลุ่ม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน และได้รับรางวัล Special Prize จากประเทศไต้หวัน (Taiwan Invention Association)
นอกจากนี้ ยังมีผลงานที่ได้รับรางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จำนวน12 ผลงาน และรางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) จำนวน 9 ผลงาน
“นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในเวทีระดับสากลที่นักประดิษฐ์ไทยได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงด้านการประดิษฐ์คิดค้นและแสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ต่อสาธารณชนโลก และยังได้เครือข่ายด้านการประดิษฐ์คิดค้นระหว่างประเทศไทยกับหน่วยงานและองค์กรด้านการประดิษฐ์คิดค้นทั้งในทวีปเอเชียและในซีกโลกตะวันตกด้วย” เลขาธิการ วช.กล่าวทิ้งท้าย

รายการอ้างอิง :
นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อกระหึ่มโลกคว้ารางวัลระดับโลกจากสวิส. พิมพ์ไทย. ฉบับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 192 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine + = 10

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>