“บทบาทของซอฟต์แวร์พาร์ค คือ ผลักดันให้วิทยาศาสตร์และผู้ประกอบการ และบุคคลากรด้านไอที”
“นายเฉลิมพล ตู้จินดา” ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) คนใหม่ให้สัมภาษณ์พิเศษ “กรุงเทพธุรกิจ” ถึงยุทธศาสตร์ ผลักดันซอฟต์แวร์ไทยจากนี้หลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 2 ม.ค.2556 แทน “นายธนชาติ นุ่มนนท์” ที่ขอลาออกและผันตัวเองไปทำงานข้อมูล เชิงวิชาการป้อนอุตสาหกรรมไอซีที
นายเฉลิมพล เล่าย้อนถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า หลังเรียนจบปริญญาตรีสาขา แมเนจเมนท์ อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น นิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา เริ่มทำงานในบริษัทเอกชนด้าน ระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ จากนั้นย้ายไปที่รอยเตอร์ ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายเทคนิค และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก บริษัท รอยเตอร์ ซอฟท์แวร์ (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลงานด้านเฟ้นหาบุคลากรไอทีเข้าสู่บริษัท และรับงานจาก ซิลิคอล วัลเลย์ ยุโรป และอีกหลายประเทศเข้ามาทำในไทย
นอกจากนี้ เคยเป็นรองผู้อำนวยการ ซอฟต์แวร์พาร์คอยู่ 2 ปี และล่าสุด ก่อนถูกดึงตัวมารับตำแหน่งปัจจุบัน รับหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ พัฒนาผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี (ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ) ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี “ที่ตัดสินใจมาที่นี่ผมเห็นว่ามีประสบการณ์และความเข้าใจในอุตสาหกรรมซึ่ง สามารถทำประโยชน์ได้ ส่วนตัวไม่เคยกลัวเรื่องการทำงาน จะห่วง อยู่บ้างเรื่องความคาดหวังของคน”
ตลอดการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการซอฟต์แวร์พาร์คคนใหม่ ย้ำว่า มีความตั้งใจที่จะทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ส่วนว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหนมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ รวมไปถึงทรัพยากรและงบประมาณที่จำกัด ซึ่งคงไม่สามารถทำได้ถูกใจทุกคน:ชูวิทย์-เทคโนฯสร้างฐาน
นายเฉลิมพล มีมุมมองว่า ผู้อำนวยการยุคแรกมีวิสัยทัศน์ยาวไกล วางรากฐานอินฟราสตรักเจอร์ไว้อย่างดี ยุคที่ 2 พัฒนาการตลาดและความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน ยุคที่ 3 แข็งแกร่งเรื่องเทคนิค สำหรับยุคที่ 4 นี้มองว่า ทำอย่างไรให้เกิดการทำงานร่วมกันโดย ไม่แบ่งฝ่าย พร้อมสานต่องานของ ผู้อำนวยการคนก่อน ทำให้สิ่งที่มี ถูกนำไปใช้ตรงความต้องการจริงของ
อุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี 3 เดือนที่ผ่านมา ได้เร่งสะสางงานเก่า พร้อมปรับโครงสร้าง
องค์กรใหม่ ย้ายทีมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ
จากสวทช.มาทั้งทีม 9 คน รวมปัจจุบัน มีพนักงานทั้งหมด 39 ตำแหน่ง ขณะเดียวกันพูดคุยกับคนที่รู้จัก และ ผู้ประกอบการปูทางสำหรับการทำงาน ในเฟสต่อๆ ไป
เขากล่าวว่า ซอฟต์แวร์เฮาส์สัญชาติไทยจำเป็นต้องมองให้กว้างออกไประดับนานาชาติมากขึ้น ดังนั้นแผนงานหลักที่วางไว้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยสร้างมูลค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกด้านหนึ่งสร้างความ เข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ
“ธีมของการทำงานระยะ 3 ปีนี้จะมุ่งไปสู่การเป็น “โกลบอล ซอฟต์แวร์ เกทเวย์” ที่ช่วยเชื่อมผู้ประกอบการไทยไปสู่ตลาด ต่างประเทศ”:ดันสตาร์ทอัพโกอินเตอร์
สำหรับแนวทางการทำงาน เขากล่าวว่า ส่วนของผู้ประกอบการหน้าใหม่เริ่มบ่มเพาะตั้งแต่เรียนจบ ให้เรียนรู้ว่าสนใจทำงาน ในวงการนี้จริงหรือไม่ ปีนี้เตรียมเปิดให้บริษัทสตาร์ทอัพเข้าอบรม 70 ราย จาก เดิมรับ 50 ราย พร้อมกันนี้ จะร่วมมือกับภาคเอกชนปั้นเถ้าแก่น้อยอายุ 20-25 ปี ภายใน 3 ปีนี้ตั้งเป้าสร้างผู้ประกอบการ ที่เข้มแข็ง 200 ราย แต่ละรายมีรายได้ รายละ 10 ล้านบาท หรือรวมกันทำได้ ปีละ 2 พันล้านบาท
ขณะที่บริษัทรายเก่าเข้าไปช่วย ด้านการตลาด ส่งเสริมให้เกิดการจับคู่ ธุรกิจกับคู่ค้าต่างประเทศ รวมถึงยกระดับการทำมาตรฐานซีเอ็มเอ็มไอให้ใช้งานจริง ไม่ใช่มีไว้เพียงเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์องค์กร “ผู้ประกอบการต้องมีความคิดใหม่ๆ เข้าใจกระบวนการทางธุรกิจ การเงิน การลงทุน และความต้องการของตลาด การเตรียมความพร้อมควรเริ่มตั้งแต่วางบิสสิเนสโมเดล คิดว่าจะทำตลาด อย่างไร ลูกค้าเป็นใคร ที่สำคัญสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่ต้องถึงกับ แปลกแต่มีจุดขายที่เข้มข้น โดยไม่ลืม ที่จะตามติดสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของโลก”
นอกจากนี้ ด้านบุคลากร เน้นไป ที่ระดับกลางหรือผู้จัดการขึ้นไปมากกว่า แค่แรงงาน ด้านความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ จะสนับสนุนให้มีการนำงานวิจัยไปเชื่อมโยงกับบริการภาครัฐโดยทำในแนวดิ่งเจาะ ไปเฉพาะทางของแต่ละอุตสาหกรรม
ข้อมูลสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ ชี้ว่า ปัจจุบัน การส่งออกซอฟต์แวร์ไทยมีมูลค่าเพียง 3 พันกว่าล้านบาท ส่วนใหญ่บริโภคภายในมากกว่า จากตัวเลขนี้นับว่า มีโอกาสการเติบโตสูงมาก แง่ประสิทธิภาพงานบริษัทคนไทยไม่ได้เป็นรองชาติอื่น ทว่าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในตลาด ดังนั้นในภาพรวมอิงไปตามแพลตฟอร์มที่ตลาดต้องการ สอดรับกับกระแสเทคโนโลยีโมบิลิตี้ และคลาวด์ คอมพิวติ้ง เชื่อว่าทีมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ที่เข้ามาเสริมซึ่งมีจุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญแหล่งเงินทุน ภาษี และบีโอไอจะมีส่วน ช่วยงานของซอฟต์แวร์พาร์คได้มาก:ไม่หวั่นงบประมาณจำกัด
นายเฉลิมพล กล่าวอีกว่า งบประมาณที่ได้มาแต่ละปีมีอยู่ประมาณไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่มากนักแต่พอให้ทำโครงการที่วางไว้ได้ ต่อประเด็นที่นโยบายภาครัฐกำหนดให้ซอฟต์แวร์พาร์ค หารายได้เพื่อสนับสนุนการทำโครงการต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยกำหนดไว้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการทำงาน (เคพีไอ) มองว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก และจะพยายามทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ทั้งนี้ไม่ได้วางไว้เป็นงานที่สำคัญที่สุด เพราะที่สำคัญกว่านั้นคือการสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการ
“เราควรเล่นบทบาทให้ถูกต้อง ถ้าผลงานออกมาดี สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมได้ ผมก็หวังว่าจะช่วยเป็นส่วนที่ชดเชยกันไป” ปัจจุบันซอฟต์แวร์พาร์คมีรายได้จากการบริหารพื้นที่เช่าสำหรับผู้ประกอบการ ลักษณะคล้ายนิคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ การทำกิจกรรมอบรมต่างๆ การส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจ และงบสนับสนุนจากหน่วยงาน ที่ทำโปรเจคร่วมกัน
พร้อมระบุว่า มีแผนสร้าง “บิสสิเนส อินเทลลิเจนซ์” ที่เป็นมากกว่าฐานข้อมูลทางธุรกิจ แผนปีแรกและปีที่สองเตรียมรวบรวมข้อมูลที่ขาดอยู่ในแวดวงทั้งแง่การลงทุน การตลาด เทคโนโลยี ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใน ปีที่ 3 ตั้งเป้าทำให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งผู้ประกอบการอีกทาง หนึ่ง
“ความท้าทายของผม คือ วาง ไดเร็คชั่นอย่างไรให้เกิดประโยชน์เต็มที่กับอุตสาหกรรม สอดคล้องกับสิ่งที่ลงมือทำ เราจะเดินกันไปทีละก้าวแต่ต้องเร็ว พอสมควรเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือเออีซี” เขากล่าว
รายการอ้างอิง :
วริยา คาชนะ. เฉลิมพล ตู้จินดา เปิดยุทธศาสตร์ติดปีก’ซอฟต์แวร์ไทย’. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 87 Views)