magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ เผย7ยุทธศาสตร์สร้าง”พลังงานทดแทน”
formats

เผย7ยุทธศาสตร์สร้าง”พลังงานทดแทน”

ระดมสมองนักวิชาการพลังงานวางแผนวิจัยพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืน รวม 7 ยุทธศาสตร์ มีทั้งการใช้น้ำเสียการเกษตรผลิตไฟฟ้า เพาะเลี้ยงจุลชีพผลิตเชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดจนจัดโซนนิ่งการปลูกพืชพลังงาน

วันนี้ 23 เม.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้มีจัดประชุมประชาพิจารณ์ร่างยุทธศาสตร์การวิจัยพลังงานทดแทนเพื่อความ ยั่งยืนขึ้น โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจำนวน 150 คน ร่วมพิจารณา โดยที่ประชุมได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การวิจัย ไว้ 7 แนวทาง เพื่อสนับสนุนทางวิชาการพร้อมกับการพัฒนากำลังคนเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อ ปฏิบัติงานด้านพลังงานสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพลังงาน

  1. ยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่กำหนดไว้ได้แก่ การพัฒนาพลังงานชนิดใหม่ เพื่อพัฒนาวัสดุประหยัดพลังงาน ซึ่งมีงานวิจัยออกแบบวัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน การวิจัยเพื่อการใช้พลังงานเพื่อการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การบูรณาการพลังงานชนบท โดยนำทรัพยากรท้องถิ่น น้ำเสียจากภาคเกษตรกรรมผลิตไฟฟ้าชุมชน การพัฒนาเตาเผาขยะชุมชน ใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผลิตพลังงานชีวมวล
  3. การผลิตและพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เป็นการวิจัยการพัฒนาการผลิตน้ำมันจากพืชอื่น และจุลชีพเพื่อเป็นพลังงานเชื้อเพลิง การวิจัยกังหันลม พลังงานน้ำและปาล์ม  รวมถึงการผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียในอุตสาหกรรมภาคเกษตร
  4. การวิจัยเทคโนโลยีระบบไฟฟ้ากำลังและการเก็บสะสมพลังงาน  เป็นการวิจัยผลิตเซลล์ไฟฟ้าที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
  5. การแสวงหาพลังงานใหม่ โดยศึกษาการใช้พลังงานสะอาด ตลอดจนสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้พลังงานนิวเคลียร์
  6. งานวิจัยความมั่นคงทางด้านอาหาร ทรัพยากร พลังงานที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่การทำโซนนิ่งหรือกำหนดพื้นที่ดิน ที่เกี่ยวข้องกับพืชพลังงาน การทำวิจัยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การนำร่องการทำพันธุวิศวกรรม (จีเอ็มโอ) ในพืชพลังงานที่ไม่ใช้อาหาร
  7. วิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงขนส่งทางเลือก เน้นการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อการขนส่ง การผลิตเชื้อเพลิงจากกากของเสียชีวมวลและการวิจัยกำหนดมาตรฐานเชื้อเพลิง ชีวภาพเพื่อภาคการขนส่ง

ทั้งนี้ รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา กล่าวว่าผลประชาพิจารณ์ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นแนวทาง  ส่วนปัญหาที่เกรงกันว่าการปลูกพืชพลังงานจะกระทบกับพื้นที่พืชอาหารนั้น ได้รับคำชี้แจงว่า ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่างกัน เช่น ในทะเล เพาะปลูกไม่ได้อยู่แล้ว สามารถเพาะเลี้ยงสาหร่าย ที่นำมาเป็นพลังงานได้ หรืออาจกำหนดป่าเสื่อมโทรม เป็นโซนนิ่งสำหรับปลูกพืชพลังงาน

รายการอ้างอิง :
เผย7ยุทธศาสตร์สร้าง”พลังงานทดแทน”. เดลินิวส์ (ไอที). วันอังคารที่ 23 เมษายน 2556.

– ( 96 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× one = 1

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>