magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ผู้ช่วยจับมือระเบิด
formats

ผู้ช่วยจับมือระเบิด

โศกนาฏกรรมที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ในการแข่งขัน Boston Marathon นำความสูญเสียแก่ชีวิตของผู้บริสุทธิ์ไปถึง 3 คน และหนึ่งในนั้นเป็นเพียงเด็กชายอายุเพียง 8 ขวบเท่านั้น และถึงในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ผู้ต้องสงสัยหนึ่งรายได้เสียชีวิตจากการยิงประทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอีกคนก็ถูกจับกุมได้แล้วนั้น ภายใต้การสืบสวนสอบสวนนั้นได้ใช้เทคโนโลยีหนึ่งที่สำคัญเรียกว่า “การรู้จำใบหน้า” หรือ Facial  Recognition จึงช่วยคลี่คลายคดีนี้ได้อย่างรวดเร็ว          เทคโนโลยีนี้พัฒนามานาน ทำงานโดยการคำนวณระยะห่างระหว่างหลายๆ สิ่ง บนใบหน้า เช่น ระยะห่างของหัวตา 2 ข้าง ระยะห่างระหว่างปลายจมูกมาถึงมุมปาก  การคำนวณพื้นที่โครงหน้า ระยะของกรามและอื่นๆ เพื่อระบุใบหน้าของคนๆนั้น

ในการสืบสวน คราวนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ของ FBI ได้ใช้ภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ เกิดระเบิด มาวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์รู้จำใบหน้า และเมื่อได้ภาพหน้าตรงของผู้ต้องสงสัย จึงนำไปค้นหาในฐานข้อมูลประชาชนที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดเพื่อระบุตัวตน มือระเบิดได้อย่างทันควัน

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีรู้จำใบหน้าด้วย ซอฟต์แวร์พัฒนามานานและเป็นเรื่องสามัญขึ้นทุกวัน เพราะปัจจุบันเรามีระบบบันทึกภาพด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิดอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ผู้กระทำผิดก็รู้ทันพยายามปกปิดใบหน้าด้วยการสวมหมวก สวมแว่นหรือโพกผ้าเพื่ออำพรางตัว และนอกจากนี้ภาพที่ได้จากกล้องวงจรปิด มักจะเป็นภาพระยะไกลและมองจากมุมสูง

ดังนั้น อย่างเหตุการณ์ Boston Marathon จากภาพถ่ายที่เปิดเผยออกมานั้น อาจจะดูไม่ชัดเจน แต่การเปรียบเทียบภาพถ่ายของผู้ต้องสงสัยจากหลายกล้องและหลายมุม พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับชุดที่สวมใส่ด้วย สามารถทำได้โดยใช้เจ้าหน้าที่แต่อาจเสียเวลา ซอฟต์แวร์ได้เข้ามาช่วยให้การเปรียบเทียบภาพถ่ายจากหลายกล้องและหลายมุมรวด เร็วขึ้น

FBI ได้ให้ทุนวิจัยเรื่องนี้แก่บริษัท MorphoTrust และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยหลายแห่งเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์รู้จำใบหน้าที่ดียิ่ง ขึ้น โดยการใช้ซอฟต์แวร์ช่วยคำนวณหาส่วนของใบหน้าที่เรามองไม่เห็น โดยใช้การจำลองจากด้านที่เราเห็น นอกจากนี้เนื่องจากกล้องบนสมาร์ทโฟนมีแพร่หลายมากขึ้น ทาง FBI ยังให้เงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ ให้มีประสิทธิภาพในการเปรียบเทียบภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ หรือภาพจากการสเกตช์ที่มาจากคำให้การ เพื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่ทางการมีอยู่อีกด้วย พร้อมทั้งยังพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะทำให้ภาพถ่ายและภาพวิดีโอที่ไม่ชัดเจน มีความสมบูรณ์หรือเพิ่มความชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ ต้องปรบมือให้กับนักวิจัยด้านนี้ ที่เทคโนโลยีที่เขาเหล่านี้พัฒนาถูกนำมาช่วยให้การสืบสวนหาตัวผู้กระทำความ ผิดมาลงโทษได้อย่างรวดเร็วและฉับไว

รายการอ้างอิง :
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์.  ผู้ช่วยจับมือระเบิด. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556.– ( 85 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× four = 12

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>