magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก โลกร้อนสุดในรอบ1,400 ปี
formats

โลกร้อนสุดในรอบ1,400 ปี

ปัญหาโลกร้อนยังคงเป็นประเด็นยอดนิยมที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่างไม่ลดละ ล่าสุดผลการศึกษาสภาพอากาศในช่วงเวลา 2,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลงนิตยสารเนเจอร์ จีโอไซเอนซ์ระบุว่า โลกอยู่ในสภาพที่เย็นลงจนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 พื้นผิวของโลกโดยเฉลี่ยร้อนขึ้นมากกว่าครั้งไหนในรอบ 1,400 ปีก่อน

นักวิทยาศาสตร์บอกว่า แนวโน้มเย็นลงในระยะยาวของทั่วโลกได้พลิกกลับไปตรงข้ามในช่วงปลายศตวรรษที่ 19  พอเข้าสู่ศตวรรษที่ 20  อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 0.4 องศาเซลเซียส สูงกว่าเมื่อ 500 ปีก่อน และจากปี 2514 ถึงปี 2543 โลกร้อนขึ้นกว่าทุกช่วงเวลาในรอบเกือบ 1,400 ปี ซึ่งนี่คือเครื่องวัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก แต่บางภูมิภาคเผชิญช่วงเวลาที่โลกอุ่นขึ้นเร็วกว่านั้น เช่น ยุโรปน่าจะเริ่มมีอากาศอุ่นขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 1 มากกว่าสิ้นศตวรรษที่ 20
มีความพยายามสืบค้นครั้งแรกต่อการหาข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิในทวีปต่าง ๆ ช่วง 2,000 ปีที่แล้ว เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตว่า ภาวะโลกเย็นหรือร้อนขึ้นเกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือไม่  รวมทั้ง 2 เหตุการณ์ในยุโรปที่เรียกว่า Medieval Warm Period หรือการที่โลกกลับมาอบอุ่นอีกครั้ง และ Little Ice Age หรือช่วงเวลาที่หนาวเย็นผิดปกติ  ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศตามธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากฝีมือมนุษย์

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาฉบับใหม่ไม่ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก  แต่ชี้ไปยังแนวโน้มของโลก  โดยสิ่งแรกที่เห็นชัดเจนคือ ช่วงเวลาที่โลกเย็นลง อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ผสมผสานกันมา รวมทั้งการปะทุของภูเขาไฟเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดฝุ่นเถ้าถ่านเป็นตัวสะท้อนกลับของแสงอาทิตย์ ทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกลดลงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในวงโคจร โลก

ความเย็นระหว่าง 0.1-0.3 องศาเซลเซียสต่อพันปี ซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิภาค  ได้แปรเปลี่ยนไปเมื่อโลกเข้าสู่การสิ้นสุดของศตวรรษที่ 19  จากนั้นยุคแห่งโลกร้อนอย่างรุนแรงได้คืบคลานเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 20 ในช่วงเวลาดังกล่าว ไฮน์ซ แวนเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเบิร์นในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็น 1 ใน 78 นักวิทยาศาสตร์จาก 24 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมโครงการวิจัยบอกว่า  โลกเผชิญทั้ง Medieval Warm Period หรือการที่โลกกลับมาอบอุ่นอีกครั้ง และ Little Ice Age หรือช่วงเวลาที่หนาวเย็นผิดปกติอย่างเด่นชัดที่สุด

ขณะที่  ฮิวจ์ กูสส์  ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภูมิอากาศแห่งมหาวิทยาลัยคาทอลิคแห่งเมืองลูเวนใน เบลเยียมกล่าวว่า มีหลายสิ่งที่ถือเป็นเรื่องปกติต่อภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่ความหนาวเย็นระยะยาวไปจนถึงศตวรรษที่ 19  หลังจากนั้นโลกอุ่นขึ้นทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติก ซึ่งมีความชัดเจนน้อยมาก

งานวิจัยก่อนหน้านี้ต่อการเปลี่ยน แปลงทางภูมิอากาศของโลกได้ชี้ว่า โลก  เริ่มร้อนขึ้นในศตวรรษที่  20 และมีตัวเร่งให้โลกร้อนยิ่งกว่าเดิมจากก๊าซคาร์บอนที่ดักความร้อน ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากการเผาไหม้ของถ่านหิน  น้ำมันและก๊าซ  แนวโน้มของโลกร้อนเพิ่มสูงขึ้นในทศวรรษที่ 1970 พร้อมด้วยปริมาณของก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ที่สูงเป็นประวัติการณ์

ปี  2555 ถูกมองว่าเป็นปีที่ 36 ติด ต่อกันที่อุณหภูมิโลกสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 2423 และเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับที่ 9 หรือ 10  สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้เป็นความร่วมมือกันทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเรียกว่า Past Global Changes (PAGES) 2 K Network  ซึ่งรวบรวมข้อมูลสภาพอากาศ รวมทั้งอุณหภูมิจากต้นไม้ ละอองเกสรดอกไม้  หินปะการัง ทะเลสาบ และตะกอน จากพื้นที่ต่าง ๆ 511 แห่งใน 7 ทวีป.

รายการอ้างอิง :
โลกร้อนสุดในรอบ1,400 ปี.  เดลินิวส์ (บทความ). วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556.

 – ( 83 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 2 = two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>