magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก วัฒนธรรมและการเรียนรู้เพื่ออยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงของประเทศภูฏาน
formats

วัฒนธรรมและการเรียนรู้เพื่ออยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงของประเทศภูฏาน

ปาฐกถาพิเศษ  Culture & Learning-to live in the world of change,Bhutan Model เป็นหนึ่งในหัวข้อการปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาวิชาการ ” Learn to Live in the World of Change” มหกรรมทีวีรักษ์โลก 360 องศา จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21-22 เมษายน 2556  ที่ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ  บรรยายโดย  Mr.Kinlay Dorjee, Mayor of Thimphu, Bhutan

ประเทศภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอินเดียและจีน แนวทางการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการกระจายรายได้ การใช้ทรัพยากรต่างๆ  โดยเลือกใช้การพัฒนาแบบ Gross Happiness Index (GNI)หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ โดยกษัตริย์องค์ที่ 4 (king วังชุก)แทนการมุ่งพัฒนาแบบใช้ GDP(Gross Domestic Products หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ซึ่งประกอบด้วย

  1. ความเท่าเทียมกันทางสังคม  เน้นที่โครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกก่อน ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล ถนน สุขอนามัยของน้ำดื่ม  ระบบสื่อสาร ให้เข้าถึงทั่วทุกคน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในถิ่นธุรกันดาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของคนภูฏาน
  2.  การรักษาด้านสิ่งแวดล้อม
  3. การรักษาคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น  ไม่ว่าจะไปที่ใดก็จะเน้นการใส่ชุดประจำชาติ  เน้นภาษาท้องถิ่น  เพื่อรักษาความเป็นภูฏานไว้
  4. ความโปร่งใสในระบบราชการ หรือระบบต่างๆ  การต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ มีการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์ เป็นประชาธิปไตย ในสมัยของกษัตริย์วังชุก (กษัตริย์องค์ที่ 4 ) มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อสี่ปีที่แล้ว

สาเหตุการเกิดภาวะโลกร้อน (ก๊าซเรือนกระจก) ของประเทศ มาจากการขนส่ง  การกำจัดขยะ  ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ  ซึ่งแนวทางการแก้ไขและป้องกันภาวะโลกร้อน  โดยใช้เมือง Thimpu เป็นต้นแบบ คือ

  1.  ควบคุมการนำเข้ารถยนต์  ซึ่งรถยนต์ในประเทศมีทั้งหมด 60,000 คัน มีอยู่ในเมืองหลวง 35,000 คัน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัว หรือรถโดยสาร (Green Car)
  3. จำกัดการเผาไหม้หรือพลังงาน
  4. ส่งเสริมพื้นที่หรือเลนจักรยาน
  5. จำกัดสิ่งปลูกสร้าง
  6. คัดแยกขยะที่เป็นออแกนิก แทนการฝังกลบเพราะการฝังกลบทำให้น้ำมีปัญหาจากก๊าซมีเทน
  7. บำบัดน้ำเสีย
  8. ลดการเผาไหม้จากไม้  เปลี่ยนเป็นเตาไฟฟ้า เช่น เตาเผาศพ
  9. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ได้แก่การปลูกป่า แจกกล้าไม้ให้กับโรงเรียน  สถานที่ราชการ
  10. รักษาภูมิทัศน์  แหล่งน้ำดื่ม ป้องกันการลุกล้ำ

พื้นที่ของประเทศภูฏาน เป็นพื้นที่ป่า 70 % จึงช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ช่วยโลกลดก๊าซ Co2 ที่ปล่อยเข้าสู่บรรยากาศ และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อน 100 %  และเพียงพอในการใช้งานในประเทศ จนสามารถส่งไฟฟ้าขายที่อินเดียได้ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซ Co2

เรียบเรียงจาก การปาฐกถาพิเศษ ในการสัมมนาวิชาการ  Learn to Live in the World of Change ในงานมหกรรมทีวีรักษ์โลก  360 องศา. วันที่ 21 เมษายน 2556. อิมแพค เมืองทองธานี– ( 82 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× eight = 72

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>