magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก องค์กรธรรมภิบาลของ สวทช.
formats

องค์กรธรรมภิบาลของ สวทช.

สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความโปร่งใสในการบริหารประเทศ มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ ร่วมคิดไปจนถึงการร่วมดำเนินการ ร่วมตรวจสอบ อย่างกว้างขวางและครอบคลุมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติลงไปถึงระดับท้องถิ่นชุมชน ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

สวทช. ในฐานะองค์กรของรัฐองค์กรหนึ่ง จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อก้าวเป็น “องค์กรธรรมาภิบาล” ไว้เช่นกัน ดังรายละเอียด

องค์กรจะมีธรรมาภิบาลได้นั้น ต้องอาศัย

  • การมีส่วนร่วมของพนักงาน สร้างความโปร่งใส และยุติธรรม
  • สร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งบรรยากาศการทำงาน ทำให้พนักงานพร้อมที่จะทุ่มเทเวลา กำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ทำงานให้กับสำนักงานอย่างเต็มที่ เพราะเห็นชัดเจนว่าตนเองจะสามารถมีบทบาทในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับองค์กรได้

จริยธรรม … หลักปฏิบัติสำหรับพนักงาน

  • จริยธรรม คือ การปฏิบัติหรือความประพฤติที่ดีและเป็นธรรมต่อทุกคนในสังคมขององค์กร ซึ่งรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ได้แก่ พนักงาน บุคลากรในหน่วยงานอื่นทั้งผู้ร่วมทำงาน ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ติดต่อและคบหาสมาคม
  • จริยธรรมจะมีส่วนคล้ายกับค่านิยมหลัก (Core Values) ในหัวข้อ Accountability มักรวมถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความยุติธรรม ความเคารพซึ่งกันและกัน ความเชื่อถือได้ และความสามารถที่จะสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผย

สวทช. ไม่มีการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งส่งเสริมให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา กล้าตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ผลงานของสำนักงานตรงกับความต้องการของประชาคมและสังคม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

พนักงาน สวทช. จะช่วยกันสร้างบรรยากาศที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เคารพซึ่งกันและกัน ร่วมมือกัน และสามารถสื่อสารโดยอิสระถึงกันได้โดยไม่จำกัดระดับ ไม่นินทาว่าร้ายซึ่งกันและกัน และประพฤติตนสอดคล้องกับค่านิยมของ สวทช.

สภาพแวดล้อมการทำงานจะต้องมีสุขอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งจะเอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

หลักจริยธรรม สวทช.

  • หลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)
    • พนักงาน สวทช. มีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและลงทุน สวทช. สนับสนุนให้พนักงานเป็นพลเมืองดีที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของสำนักงาน ที่อาจมีอิทธิพลต่อความเป็นกลางและการตัดสินใจในการทำงานของพนักงาน เช่น
      • การที่พนักงานหรือบุคคลในครอบครัวมีผลประโยชน์ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ สวทช.
      • การรับของขวัญที่มีมูลค่าเกินปกติวิสัย
      • การทำงานอื่นนอกเหนือจากงานของ สวทช. ต้องไม่มีผลกระทบกระเทือนต่องานในหน้าที่ ในกรณีที่ได้รับมอบหมายจาก สวทช. ไปทำงานที่ไม่ใช่งานของ สวทช. โดยตรง ให้ถือว่างานนั้นเป็นงานของ สวทช.
      • ผู้ทีมีหน้าที่กำกับดูแลและสนับสนุนงานวิจัยในฐานะผู้บังคับบัญชา ไม่พึงมีชื่อในผลงานวิจัย นอกจากจะมีส่วนในการลงมือทำงานวิจัยนั้น
  • การปกป้องและใช้สินทรัพย์ของสำนักงาน
    • พนักงานมีหน้าที่ที่จะดูแลให้มีการใช้สินทรัพย์ของ สวทช. อย่างมีประสิทธิภาพในกิจการของ สวทช. ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลข่าวสาร โดยจะไม่ใช้สินทรัพย์เหล่านี้ในงานที่ไม่ใช่งานของ สวทช. พนักงานอาจใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตของ สวทช. ในธุระส่วนตัวได้บ้าง แต่ควรเป็นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานในหน้าที่มากกว่าเพื่อหาประโยชน์ใส่ตน
  • ความมีวินัย
    • พนักงานพึงปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประเพณีอันดีงามของสำนักงาน
  • การรักษาชื่อเสียงของสำนักงาน
    • พนักงานเป็นพนักงานของ สวทช. ทั้งในและนอกเวลาทำงาน จึงควรสะท้อนค่านิยมของ สวทช. ในการแสดงออกทางกายและวาจา ทั้งในและนอกสำนักงาน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสำนักงาน

รายละเอียดเพิ่มเติม http://www.nstda.or.th/governance-org– ( 52 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × four =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>