magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก วิกฤตแรงงาน…โอกาสหุ่นยนต์
formats

วิกฤตแรงงาน…โอกาสหุ่นยนต์

นวัตกรรมล้ำยุคที่สร้างหุ่นยนต์ฉลาดถึงขั้นมาทดแทนช่างในอุตสาหกรรมชิ้น ส่วนยานยนต์หรือซื้อขายหุ้นแทนเจ้าหน้าที่การตลาดและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ หลักทรัพย์หรือรักษาผู้ป่วยนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ ที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม

หุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ทำงานได้ซับซ้อนกว่า 1,000 ประเภท ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนี ราคาถ้าเป็นระดับธรรมดาแขนกลใช้ในการชุบโครเมียมพลาสติก ราคาตัวละ 3-4 แสนบาท โครงสร้างทำจากฝีมือคนไทย แต่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจากญี่ปุ่น

          “สมพล ธนาดำรงศักดิ์” ประธานกรรมการ บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟอร์จูนพาร์ท อินดัสตรี้ กล่าวว่า บริษัทเริ่มใช้แขนกล มาตั้งแต่ปี 2548 และเปลี่ยนมาแล้ว 2 ชุด ในจำนวน 12 ตัว ทดแทนคนได้ 58 คน

แต่ละตัวทำงานได้ 3 เท่าของคน 1 คน เพราะไม่มีเหนื่อยแค่ตั้งโปรแกรมไว้ แถมได้คุณภาพอย่างต่อเนื่องทุกชิ้นเท่ากันหมด
“แค่ 1 ปีก็คุ้มทุนแล้วสำหรับการใช้งานถ้าเทียบกับการจ้างคน แม้ว่าจะจ่ายแพงกว่าในช่วงแรก ทำได้หลายกะ เพียงแต่ตั้งโปรแกรมไว้ 8 นาทียกครั้งหนึ่ง เหมาะกับงานที่ต้องใช้คนทำงานประจำอย่างสม่ำเสมอและมากชิ้นพอ”

หากเป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานซับซ้อนหลายโปรแกรมราคาเป็นหลักล้านบาท อย่างหุ่นยนต์ติดกาวเหล็ก หุ่นยนต์พ่นสี หรือหุ่นยนต์ที่ใช้เป็นตัวเชื่อมราคา 6-7 แสนบาท จนถึงหลักล้านบาท แต่สามารถใช้แทนช่างเชื่อมได้

“ถ้าเราไม่ปรับตัว ในขณะที่ประเทศตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคนี้ ศักยภาพเราก็จะสู้ต่างชาติไม่ได้ ในขณะที่พนักงานต้องพัฒนาฝีมือให้ก้าวไกลไปทำงานที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน กว่า” สมพล กล่าว

ไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้น แม้แต่ในธุรกิจหลักทรัพย์นับตั้งแต่กลางปี 2554 เป็นต้นมา บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ได้นำโปรแกรมสำเร็จรูปมาให้บริการนักลงทุนบุคคลที่มีมูลค่าพอร์ตลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไป จนถึงบัดนี้นับว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

โปรแกรมนี้จะซื้อหรือขายหุ้นอัตโนมัติเมื่อมีสัญญาณทางเทคนิคขึ้นหรือลง โดยนักลงทุนไม่จำเป็นต้องเฝ้าชิดติดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพียงแต่เซ็นสัญญาเลือกโมเดลการลงทุนที่นักกลยุทธ์และโปรแกรมเมอร์ของบริษัท จัดไว้

สิ้นปี 2555 ค่าเฉลี่ยของนักลงทุนที่เลือกลงทุนตามโปรแกรมสำเร็จรูปมีกำไรมากกว่ากำไรของ ตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไป จนปัจจุบันมีลูกค้ามาใช้บริการนี้แล้วหลักหลายร้อยราย

“บรรณรงค์ พิชญากร” กรรมการผู้จัดการกิจการค้าหลักทรัพย์ บล.บัวหลวง กล่าวว่า บริษัทจะคัดเลือกลูกค้า จากความเข้าใจในการลงทุน ยอมรับความเสี่ยงได้ ส่วนใหญ่ ของลูกค้าเป็นเจ้าของกิจการ วิศวกร และนายแพทย์ โดยคิดค่าธรรมเนียมมากกว่า 0.25% ที่ตลาดคิดกัน

“ถ้าพอร์ต 5 ล้าน แสดงว่าลูกค้าต้องมีมูลค่าการลงทุนมากกว่านั้น เราอยากให้ลูกค้ากระจายความเสี่ยง และเป็นลูกค้าที่เข้าใจการลงทุน เคยลงทุนด้วยตัวเองมาแล้ว”

บล.บัวหลวง จะเซ็นสัญญากับลูกค้าที่เลือกโมเดลกลยุทธ์การลงทุนที่มีให้เลือก 5 โมเดลตามความชื่นชอบและยอมรับความเสี่ยงได้ โดยแต่ละโมเดลจะเป็นการลงทุนตามสัญญาณเทคนิคทั้งหมดตามการขึ้นลงของดัชนีและ ราคาหุ้น ว่ามีสัญญาณซื้อหรือสัญญาณขาย

“เป็นการลงทุนตามแนวโน้มราคาหุ้น แต่ไส้ในแตกต่าง กันตามการใช้ดัชนีอ้างอิงที่หลากหลาย ทั้งค่าเฉลี่ยราคาหุ้นย้อนหลัง ปริมาณการซื้อขาย บางคนชอบหุ้นเล็ก บางคนชอบหุ้นใหญ่”

บล.บัวหลวง จะมีคณะกรรมการคอยติดตามผลการลงทุนว่าถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนโมเดลการลงทุนหรือยัง
โดยจะมีการประเมินพฤติกรรมตลาดทุกไตรมาส
“ด้วยโปรแกรมนี้มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทน มากกว่าตลาดเมื่อหุ้นขึ้นแต่ขาดทุนน้อยกว่า
ตลาดเมื่อหุ้นลงเพราะโปรแกรมจะมีข้อดีที่ไม่อิง ความรู้สึก จะตัดขาดทุนทันทีเมื่อมีสัญญาณว่าหุ้นลง แต่ขายทำกำไรทันทีเมื่อราคาหุ้นขึ้นมากเกินไปแล้ว”เมื่อมีการซื้อหรือขาย หุ้นอัตโนมัติเจ้าหน้าที่การตลาดจะอีเมลแจ้งลูกค้าทันที

สำหรับโปรแกรมสำเร็จรูปนี้เป็นการพัฒนาของทีมเทรดเดอร์ หรือนักค้าหุ้นของ บล.บัวหลวง ที่มีทักษะในการเขียนโปรแกรม เพราะเชื่อว่างานในบางจุดใช้คอมพิวเตอร์ทำงานมีประสิทธิภาพดีกว่าคน เพราะไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

สำหรับเจ้าหน้าที่การตลาดแทนที่จะทำงานหนัก คือ รับคำสั่งซื้อขายจากลูกค้าเป็นรายตัว สามารถจะดูแลภาพรวมพอร์ตของลูกค้าได้ทั้งหมด ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บล.บัวหลวง มีบัญชีซื้อขายหุ้นที่ซื้อขายประจำ 3.5 หมื่นบัญชีและมีพนักงานการตลาด 300 คน
“ร.อ.สงวน มหาศิริมงคล” เจ้าของธุรกิจและนักลงทุน หนึ่งในผู้ใช้บริการรายแรกๆ ของ Bualuang iProgramTrade กล่าวว่า “เดิมทีเป็นนักลงทุนที่ซื้อขายหุ้นเอง และมีความรู้เรื่องการลงทุนทั้งเชิงเทคนิคและเชิงพื้นฐานค่อนข้างดี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตลอด คือ การที่เราไม่สามารถลงทุนได้ตามแผนที่วางไว้ได้ คือ เมื่อลงทุนแล้วได้กำไรก็รีบขาย ในขณะที่เมื่อขาดทุนก็ไม่กล้าตัดใจขาย หรือบางทีเกิดจังหวะที่ควรเข้าซื้อก็ซื้อไม่ทัน เนื่องจากเรามีธุรกิจที่ต้องดูแลไม่มีเวลาเฝ้าหน้าจอได้ตลอดเวลา ทำให้เกิดการเสียโอกาสในการลงทุน เมื่อทีมงานหลักทรัพย์บัวหลวงเข้ามาเสนอบริการ Bualuang iProgramTrade ซึ่งมีหลักการลงทุนที่ชัดเจน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารเงินลงทุนได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการโดย อัตโนมัติภายใต้การควบคุมดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ จึงได้เริ่มใช้บริการนี้ และหลังเปิดใช้บริการไม่นานพบว่าผลการดำเนินงานของโปรแกรมทำได้ดีกว่าการลง ทุนด้วยตนเอง ปัจจุบันนอกจากจะเพิ่มเงินลงทุนใน Bualuang iProgramTrade แล้ว ยังแนะนำให้ญาติมิตรใช้บริการนี้ด้วย”

“นพ.สวัสดิพงศ์ ต่อฑีฆะ” ผู้ใช้บริการ Bualuang iProgramTrade และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทผู้วิจัยกลยุทธ์ “Fortune Robotics Trading” กล่าวว่า สนใจการลงทุนมากว่า 10 ปี ศึกษาด้านการลงทุนในทุกรูปแบบ และหันมา สนใจศึกษาทางด้าน System Trading อย่างจริงจัง

เขาได้เป็นผู้วิจัยกลยุทธ์การลงทุนโดยนำมาใช้กับบริการ Bualuang iProgramTrade และถ่ายทอดกลยุทธ์การลงทุนดังกล่าวเพื่อให้บริการกับลูกค้าอื่น

“ทำงานประจำควบคู่กับการเป็นนักลงทุน เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับทีมงานหลักทรัพย์บัวหลวง และทราบว่า บริการ Bualuang iProgramTrade เปิดโอกาสให้นักลงทุนที่มีโมเดลการลงทุนที่ชัดเจน ได้ร่วมกับทีม Financial Engineer ของหลักทรัพย์บัวหลวง พัฒนากลยุทธ์การลงทุนแล้วนำมาใช้กับบริการ Bualuang iProgramTrade ได้”

ทั้งนี้ ได้ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคมาเป็นชุดคำสั่งซื้อขายแบบอัตโนมัติที่ สามารถส่งคำสั่งซื้อขายตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหลังจากเกิดสัญญาณ ซื้อขายตามกลยุทธ์ สำหรับนักลงทุนที่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนแล้วที่ชัดเจนแล้ว

การใช้โปรแกรมคำสั่งคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มโอกาส ในการลงทุนและมีการบริหารจัดการอย่างมีแบบแผน โดยตัดปัจจัยเรื่องอารมณ์ออกไป
ผลการดำเนินงานของโมเดลนี้ก็เป็นที่น่าพอใจ โดยโมเดลการลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเงินเย็น เนื่องจากเป็นการลงทุนที่หวังผลระยะยาวผลตอบแทนที่คาดหวังในเกณฑ์สูง ในขณะที่สามารถจำกัดความเสี่ยงได้โดยระบบ

ไม่เพียงแต่ใน 2 อุตสาหกรรมข้างต้นเท่านั้น สำหรับด้านการแพทย์ หุ่นยนต์ได้รุกคืบเข้าไปมีบทบาทในการบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วย
ไม่ว่าจะเป็นให้สามารถปฏิบัติงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยได้ ช่วยผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองให้สามารถขยับร่างกายและดูแลตัวเองได้ แทนการว่าจ้างพยาบาลพิเศษ

นักวิจัยได้ทดลองนำเอาหุ่นยนต์มาช่วยดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการ เด็กออทิสติก และผู้สูงอายุ พบว่าได้ผลดี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับสถาบันราชานุกูล สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เริ่มทดลองนำหุ่นยนต์แมวน้ำพาโร มาช่วยบำบัดเด็ก ออทิสติก เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการจ้องมองการสัมผัสวัตถุ และการเปล่ง เสียง

ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำแขนกลหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เทคโนโลยีในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียมในประเทศไทย
วิกฤตค่าแรงได้กระจายไปทั่วเอเชีย ตามการเติบโตของเศรษฐกิจแถบนี้ ที่เป็นโอกาสของหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาทำงานทดแทน
สุดท้ายถ้ามนุษย์ไม่ปรับตัว…ในอนาคตอาจเห็นคน ตกงานเพราะการเลือกใช้สมองกลแทนคนไร้ประสิทธิภาพ ก็สามารถเป็นไปได้…
ไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้นแม้แต่ในธุรกิจหลักทรัพย์นับ ตั้งแต่กลางปี 2554 เป็นต้นมาบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บัวหลวง ได้นาโปรแกรมสาเร็จรูปมาให้บริการนักลงทุนบุคคลที่มีมูลค่าพอร์ตลงทุน 5 ล้านบาทขึ้นไปจนถึงบัดนี้นับว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

รายการอ้างอิง :
เจียรนัย อุตะมะ. วิกฤตแรงงาน…โอกาสหุ่นยนต์. โพสต์ทูเดย์ (Scoop). ฉบับวันที่ 04 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 481 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − six =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>