magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home NSTDA สกว.หนุนวิจัยป.เอกหวังพัฒนาที่ยั่งยืน (1)
formats

สกว.หนุนวิจัยป.เอกหวังพัฒนาที่ยั่งยืน (1)

ทีมข่าวการศึกษาสยามธุรกิจได้มีโอกาสไปร่วมงานการประชุมวิชาการโครงการ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก(คปก.)ครั้งที่14 “การวิจัยพื้นฐานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”ณโรงแรมจอมเทียนปาล์ม บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ตามคำเชื้อเชิญของทีมประชาสัมพันธ์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สก ว.)ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกได้มีโอกาสนำเสนอความก้าวหน้า ของโครงการวิจัยและรู้จักกันในเชิงวิชาการอีกทั้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้มี โอกาสรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งแสวงหาแนวทางเพื่อพัฒนามาตรฐานและคุณภาพ ของผลงานวิจัย ตลอดจนสร้างเครือข่ายและแสวงหาทิศทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้มีการวิจัยร่วมกัน

งานนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ทีมข่าวจะได้พบได้เห็นกับบรรยากาศที่แสนจะคึกคัก เป็นพิเศษซึ่งมีคณาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมงานกันอย่างล้นหลามจนทำให้ห้อง ประชุมที่ทางสกว.จัดไว้แน่นไปขนัด          ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก(คปก.)กันสำหรับผู้ ที่ยังไม่รู้จักโครงการนี้ฯซึ่งโครงการเริ่มดำเนินการเมื่อปี2539โดยการ อนุมัติของคณะรัฐมนตรีและสกว.ได้รับมอบหมายให้บริหารโครงการโดยร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)และสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา (สกอ.)สาเหตุสำคัญที่ คปก. ได้รับการริเริ่มขึ้นก็คือประเทศไทยขาดแคลนนักวิจัยอย่างรุนแรงในปี2539ซึ่ง ทำให้ระบบวิจัยของประเทศอ่อนแอมากวัตถุประสงค์หลักของการริเริ่มคปก.ก็คือ เพื่อเพิ่มจำนวนนักวิจัยระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบวิจัยและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ

คปก.มีเป้าหมายที่จะผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกจำนวน5,000คน ภายใน15ปีในระยะที่1และหากการดำเนินการในระยะที่ 1 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจจะให้ดำเนินการในระยะที่2ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตนัก วิจัยระดับปริญญาเอกจำนวน20,000คนภายในเวลา15ปีคปก. เริ่มรับนักศึกษาคปก.รุ่นแรกในปี2541 ภายใต้มาตรการเชิงคุณภาพที่เข้มงวดและระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและ สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีบทบาทในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจนจำนวนเกือบ 1,400 คน ในปัจจุบัน ในปีงบประมาณ2552 คปก. ได้จัดสรรทุน คปก. มากถึง319 ทุน

แค่ที่มาของโครงการฯก็น่าสนใจแล้วและหลังจากที่ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ตันติ-ศิริ นทร์ประธานกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประธานฯ เปิดงานเสร็จสิ้นลงทางทีมประชาสัมพันธ์ของงานก็ได้จัดให้มีการสัมภาษณ์พิเศษ ขึ้นซึ่งจัดในห้องประชุมเล็กๆ ไม่ไกลจากห้องประชุมใหญ่ซึ่งภายในห้องมีผู้บริหารสกว.รวมถึงผู้บริหาร โครงการและแขกผู้เป็นเกียรติมาร่วมให้สัมภาษณ์ทำให้บรรยากาศภายในห้องคึกคัก เมื่อทุกคนพร้อมหน้ากันเป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มการให้สัมภาษณ์โดยเริ่ม จาก”ผศ.วุฒิพงศ์เตชะดำรงสิน”รองผู้อำนวยการสกว.ได้เปิดเผยว่า”คปก.เป็น โครงการแลกเปลี่ยนนักวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศงบประมาณในการให้ทุนเป็น จำนวนเงินประมาณ5,600ล้านบาทหรือประมาณ190ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งแสดงให้เห็น ว่าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลและในระยะหลังนี้ คปก. ได้ให้ความสำคัญกับการให้ทุนในสาขาขาดแคลนได้แก่คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์เกษตรศาสตร์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์นอกจากนี้ยังได้จัดสรร ทุนจำนวนหนึ่งแก่โครงการวิจัยที่มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมซึ่งนำไปสู่ การจัดตั้งโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม(พวอ.)ซึ่งได้รับ การอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในปี 2555 ที่ผ่านมา”

ต่อมาเป็นผศ.วุฒิพงศ์เตชะดำรงสินพร้อมด้วยศ.ดร.อมเรศภูมิรัตนผู้อำนวยการ คปก. และ ศ. ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ที่ปรึกษาและผู้ประสานงานด้านความร่วมมือต่างประเทศและวิชาการได้แถลง ถึง”บทบาทของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของประเทศไทย”ว่า”คปก.ได้จัดตั้งโครงการเครือข่ายวิจัยนานา ชาติ(International Research Network:IRN) โดยอาศัยความร่วมมืออันดีของนักวิจัยไทยและต่างประเทศนักศึกษาตลอดจนภาค อุตสาหกรรมการจัดตั้งเครือข่ายวิจัยนานาชาตินี้ถือเป็นการสร้างนวัตกรรมและ การยกระดับการวิจัยของไทยให้สูงขึ้น”

การสัมภาษณ์พิเศษยังไม่จบกำลังเข้มข้นอยู่เลย แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดอย่างไรติดตามต่อฉบับหน้า รับรองว่าเนื้อหายังคงเข้มข้นน่าสนใจเช่นเดิม แล้วพบกัน

รายการอ้างอิง :
สกว.หนุนวิจัยป.เอกหวังพัฒนาที่ยั่งยืน (1). สยามธุรกิจ. ฉบับวันที่ 04 – 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × four =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>