magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ก.วิทย์ ฯ ปั้นวิศวกรรับรถไฟความเร็วสูง
formats

ก.วิทย์ ฯ ปั้นวิศวกรรับรถไฟความเร็วสูง

ก.วิทย์ ฯ เร่งพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางรับรถไฟความเร็วสูง

การคมนาคมขนส่งทางราง ที่เชื่อมโยงการบริหารจัดการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า เป็นการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัยทั้งในเมืองหลวง ปริมณฑล ต่างจังหวัดและระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบขนส่งทางรางไปสู่ “รถไฟความเร็วสูง” แต่กลับพบว่าระบบขนส่งทางรางในปัจจุบัน ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่มาก ตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง รถจักร ล้อเลื่อน ระบบจ่ายไฟฟ้า การเดินรถและการบำรุงรักษา รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนรถไฟในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต อีกทั้งบุคคลากรในประเทศยังไม่มีความสามารถที่จะรองรับการพัฒนาได้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การพัฒนาระบบขนส่งทางรางเป็นวาระที่รัฐบาลให้ความสำคัญ โดยกำลังดำเนินการผลักดันให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศไทยมีระบบขนส่งทางรางที่ทันสมัย ยกระดับการดำรงชีวิตประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการใช้ระบบขนส่งทางรางที่สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย จะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ดังนั้น จึงมีนโยบายจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางเพื่อการ พัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางราง โดยระยะเตรียมการจัดตั้ง จะดำเนินการในรูปแบบโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่ง ทางราง แห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) มาตั้งแต่ปลายปี 2553

พร้อมกันนั้นได้จัดตั้งสถาบันพัฒนากำลังคนและเทคโนโลยี ระบบขนส่งทางรางแห่งชาติในปี 2558 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม การศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและเร่งดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้ มีความยั่งยืน โดยพัฒนาความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีและการผลิตของ ภาคอุตสาหกรรมให้สามารถพึ่งพาตนเองให้ได้มากขึ้นรวมถึงพัฒนากำลังคน ด้านระบบรางเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งระดับปฏิบัติการและวิศวกร เพื่อวางรากฐานในการสร้างโอกาสการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การ เป็นศูนย์กลางคมนาคมและขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน

ในช่วงที่ผ่านมาได้จัดหลักสูตรอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (วศร.) จำนวน 2 รุ่น มีผู้ผ่านหลักสูตรทั้งหมด 64 คน ล่าสุดเปิดอบรมรุ่นที่ 3 ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรม วศร. จะเป็นบุคลากรที่สำคัญในการขยายงานการศึกษาวิจัยและงานพัฒนาเทคโนโลยี ระบบขนส่งทางรางในส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านปฎิบัติการระบบขนส่งทางราง 1 รุ่น จำนวน 34 คน เพื่อเป็นหลักสูตรต้นแบบการผลิตบุคลากรด้านปฏิบัติการเพื่อรองรับการ ขยายตัวในอนาคต และยังให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการศึกษาและวิจัยร่วมระบบขนส่ง ทางราง

หรือโครงการสหกิจศึกษาแก่มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านงานวิจัยและพัฒนาซึ่ง สวทช. ได้สนับสนุนโครงการวิจัยนำร่อง เช่น งานวิจัยด้านการศึกษาออกแบบระบบประตูกั้นชานชาลาระบบรถไฟฟ้า (Half Height Platform Screen Door) และการพัฒนาเครื่องช่วยฝึกหัดการขับรถไฟ (Train Driving Simulator) เป็นต้น อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ความรู้และวิชาการ โดยการจัดพิมพ์หนังสือวิชาการเรื่อง “ปฐมเหตุรถไฟ” “ช่างรถไฟ” “การแปรรูปรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น” และ “กว่าจะเป็นรถไฟใต้ดิน” รวมถึงการจัดสัมมนา บรรยายพิเศษ โดยวิทยากรต่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีรถไฟและจัดทำเว็บไซค์ www.thairailtech.or.th เพื่อเป็นคลังความรู้เกี่ยวกับระบบขนส่งทางรถไฟ

โดยแผนงาน ปี 2556-2558 นอกเหนือจากแผนงานพัฒนากำลังคนและ แผนงานเผยแพร่ความรู้และวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางแล้ว สวทช. ได้เสริมแผนงานโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยและพัฒนาแผนงานส่ง เสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 สวทช.ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้เป็นผู้บริหารจัดการทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทาง ราง มูลค่า 30 ล้านบาท

รายการอ้างอิง : ก.วิทย์ ฯ ปั้นวิศวกรรับรถไฟความเร็วสูง. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 15 พฤษภาคม 2556.– ( 122 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− three = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>