magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก บททดสอบ USRมหา’ลัยไทยเตรียมขึ้นชั้นอุดมศึกษาเพื่อสังคม
formats

บททดสอบ USRมหา’ลัยไทยเตรียมขึ้นชั้นอุดมศึกษาเพื่อสังคม

แนวคิดของการทำธุรกิจเพื่อสังคม (Socially Enterprise-SE) รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม กำลังเป็นที่กล่าวถึงอย่างมากในหลายประเทศขณะนี้ เพราะนอกจากจะเป็น กิจกรรมที่ทำให้คนมีอาชีพและสร้าง รายได้แล้ว ยังเป็นกิจการที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมอีกด้วย

ดังนั้น การสร้างคนรุ่นใหม่ หรือ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม จึงเป็นสิ่งที่ในหลายประเทศกำลังผลักดัน และเมื่อไม่นานผ่านมานี้ บริติช เคาน์ซิล ร่วมมือกับ สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (TSEO) และสถาบันคลังสมองแห่งชาติ จึงได้จัดงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง A Socially Enterprising University : มหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นกิจการเพื่อสังคมทั้งนั้นเพื่อผลักดันแนวความคิดดังกล่าวให้เข้าถึงนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยผ่านการเผยแผ่ประสบการณ์ และวิธีปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษาของ สหราชอาณาจักรที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในเรื่องการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม พร้อมกันนั้น ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทยด้วย

คนรุ่นใหม่ในอังกฤษสนใจ SE

ปัจจุบัน หากสอบถามคนหนุ่มสาวในประเทศอังกฤษว่าอยากประกอบอาชีพ อะไร คำตอบที่ได้ยินส่วนใหญ่คงหนี ไม่พ้นการทำกิจการเพื่อสังคม ที่เป็นเช่นนี้เพราะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปลายปี 2551 ส่งผลกระทบด้านการเงินต่อประเทศ และทำให้มีอัตรา คนว่างงานสูงขึ้น

จากปัญหานั้นเอง ทำให้นักการเมืองอังกฤษพยายามหาแนวทางเพื่อแก้ไขโดยไม่ต้องดึงเงิน จากกระเป๋าของรัฐบาลมาใช้ ซึ่งกิจการเพื่อสังคมเป็นแนวทาง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาการว่างงาน ในประเทศโดยประสบความสำเร็จอย่างสูง กล่าวได้ว่าประเทศอังกฤษเป็นประเทศต้นแบบของกิจการเพื่อสังคม เนื่องจากมีการส่งเสริมแนวความคิดนี้อย่างจริงจัง ซึ่งมี Northampton University เป็นมหา’ลัยอันดับหนึ่งที่สนับสนุนกิจการเพื่อสังคม

“ไซมอน แดนนี่” หัวหน้าคณะนักวิจัยด้านกิจการเพื่อสังคมของ Northampton University แสดงความเห็นว่าไม่จำเป็นที่คุณต้องมีปริญญาด้านกิจการเพื่อสังคมถึงจะ สามารถประกอบกิจการเพื่อสังคมได้ ทางสถาบันการศึกษาควรให้ความรู้ และสนับสนุนการทำกิจการเพื่อสังคมแก่นักศึกษาทุกคณะวิชา เพราะนักศึกษาจากหลากหลายคณะอาจมีความสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกิจการเพื่อสังคม

“ทางสถาบันจึงเสนอแนะ และหยิบยื่นโอกาสให้นักศึกษาเหล่านั้นนำองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อไปต่อยอด และถ้าประสบความสำเร็จในธุรกิจเพื่อสังคม นั่นเท่ากับว่ามหา’ลัยได้ช่วยทั้งนักศึกษาและสังคมในคราวเดียวกัน”

“ถ้าจะยกตัวอย่างหนึ่งในโครงการที่ Northampton University ทำขึ้นเพื่อปูทางให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจการเพื่อสังคม อาทิ การร่วมลงทุนกับ Goodwill Solutions ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือสังคม อย่างเช่นพัฒนาศักยภาพ และฝึกอาชีพอดีตผู้เคยถูกคุมขังมาเพื่อให้มีงานทำ”

“การร่วมลงทุนกับ Goodwill ไม่เพียงเปิดโอกาสให้นักศึกษาของตนมีส่วนร่วมในการฝึกงานกับองค์กรที่ประกอบ กิจการเพื่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านไอที, การตลาด, การเงิน หรือทรัพยากรมนุษย์ จนสามารถมีงานทำหลังจากจบไปแล้ว”

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การส่งเสริม กิจการเพื่อสังคมแก่นักศึกษาประสบ ความสำเร็จคือ กองทุน โดยมหาวิทยาลัยได้รับเงินสนับสนุนจาก Higher Education Innovation Fund (HEIF) ปีละประมาณ 55 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการ และ มอบเป็นเงินทุนให้นักศึกษาที่สนใจจะประกอบกิจการเพื่อสังคม

USR บ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคม

ขณะที่โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย หรือ University Social Responsibility-USR “รศ.ดร. กุลภัทรา สุโกมล” ประธานศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า ที่จริงแล้ว USR คือสิ่งเดียวกับจิตอาสา เพียงแต่ตอนนี้เราเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามหา’ลัยในไทยเริ่มทำงานด้าน USR มานานแล้ว

แต่ถ้าหากมุ่งประเด็นไปที่การส่งเสริมให้นักศึกษาทำธุรกิจเพื่อสังคม คณะบริหารธุรกิจเองก็มีหลักสูตรที่ช่วยผลักดันมานานแล้ว คือหลักสูตร International Master of Business Administration (IMBA) หรือปริญญาโทด้านบริหาร ธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ

“เราใช้หลัก Triple Bottom Line คือเป็นธุรกิจที่ไม่ทำลายสังคมและ สิ่งแวดล้อม ซึ่งคือสิ่งเดียวกับ Social Entrepreneurship ในหลักสูตรนี้ ก่อนเด็กจะจบต้องทำแผนธุรกิจ เมื่อก่อนเด็กจะทำสปา คือทำแบบซื้อมาขายไป เราก็บอกว่าไม่เอา เด็กต้องไปหาสินค้า จริงที่จะมีผลกระทบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เป็นธุรกิจได้จริง อาจจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรืองานวิจัยใหม่ ๆ ก็ได้”

โดยทางคณะบริหารธุรกิจ มธ. มีโครงการความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ (NECTEC) และอีกหลายสถาบันวิจัย เพื่อให้นักศึกษาหลักสูตร IMBA สื่อสารกับนักวิจัย เพื่อพัฒนางานเหล่านั้นให้เป็นสินค้าและธุรกิจ

ระยะเวลา 9 ปีที่เปิดหลักสูตร IMBA มีนักศึกษาเฉลี่ยรุ่นละกว่า 40 คน แม้ว่าแผนธุรกิจอาจไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมดหรืออาจยังไม่ได้นำไปใช้จริง แต่ “รศ.ดร.กุลภัทรา” กล่าวว่า แผนธุรกิจที่ทำสำเร็จและส่งผลต่อสังคมจะมีประมาณรุ่นละ 2-3 แผนธุรกิจ

“เราเคยมีแผนเรื่องการเลี้ยงกุ้งในบ่อปิด ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ล่าสุดมีธุรกิจ CSA Munching Box ซึ่งช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรที่ปลูกพืชไม่ตรงกับดีมานด์ของผู้บริโภค”

ภาคเอกชนพร้อมสนับสนุนถึงแม้ว่า IMBA จะยังไม่มีกองทุนให้นักศึกษาเพื่อนำไปก่อตั้งธุรกิจเหมือนในอังกฤษ แต่ก็มีกองทุนจากพันธมิตร เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ให้การ สนับสนุนบ้าง และนักศึกษาต้องมีความ เป็นผู้ประกอบการ จนสามารถติดต่อขอทุนจากแหล่งต่าง ๆ ได้เองด้วย

สำหรับมหา’ลัยอื่น ๆ ในไทยก็กระตุ้นนิสิตนักศึกษาเรื่องจิตอาสาเช่นกัน และหลายมหา’ลัยก่อตั้งศูนย์ หรือมีความ ร่วมมือในด้านธุรกิจเพื่อสังคมเกิดขึ้น แล้ว เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีศูนย์ผู้นำทางธุรกิจเพื่อสังคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีสำนักงานเทคโนโลยี SMEs มหาวิทยาลัยมหิดลให้การสนับสนุนด้านนวัตกรรมแก่ธุรกิจเพื่อสังคม เป็นต้น

เมื่อต้นสายธารความคิดอย่างสถาบันอุดมศึกษามุ่งปลูกฝังจิตอาสาให้กับนิสิต นักศึกษาแล้ว อนาคตคงได้เห็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่มุ่งช่วยเหลือสังคมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
รายการอ้างอิง :
บททดสอบ USRมหา’ลัยไทยเตรียมขึ้นชั้นอุดมศึกษาเพื่อสังคม. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556.– ( 115 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. อยากให้ประเทศไทยตระหนัก และมีองค์กรช่วยเหลือสังคม เพิ่มขึ้นมากๆ นะครับ สมัยนี้องค์กรช่วยเหลือสังคม ยังมีน้อยนะครับ http://www.xn--12cfbl0e0ad9tmdvd.com/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>