magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าวเทคโนโลยี เมื่อองค์กรวิจัย ได้รับรางวัลเมขลา
formats

เมื่อองค์กรวิจัย ได้รับรางวัลเมขลา

ฟังดูอาจจะแปลกๆ นะครับ ที่องค์กรที่ทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมาได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงทางโทรทัศน์

แต่มันก็เกิดขึ้นจริงๆ แล้วครับ ในเมืองไทยของเราแห่งนี้ เมื่อ นักวิทยาศาสตร์ ของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และพนักงานภายในองค์กร ร่วมแรงร่วมพลังกันผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเยาวชนออกฉายทางThaiPBS

รายการนี้ชื่อว่า รายการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งมูลนิธิสมเด็จพระเทพฯ เป็นเจ้าของรายการ

เป็นรายการพัฒนาเยาวชนให้มีความคิดในแนวทางวิทยาศาสตร์ โดยรูปแบบรายการเป็นเรื่องราวการผจญภัยของหนูน้อยสองคน แก่นและแก้ว ซึ่งผจญภัยไปในโลกกว้างภายในบ้านหลังเล็กๆ ที่สามารถบินได้ ร่วมไปกับคู่หูแมวและมังกร

เด็กทั้งสองได้อาศัยแนวคิดแบบเหตุและผล บวกกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทำการแก้ไขวิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อคุณบ้านพาไปพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบโลกของเรา หรือแม้กระทั้งในอวกาศ และใต้ทะเลลึก

ในส่วนการผจญภัยของเด็กๆ และคุณบ้านจะออกแนวแฟนตาซีเพื่อสร้างความตื่นเต้นน่าสนใจให้กับผู้ชม ซึ่งส่วนนี้ได้สร้างขึ้นในรูปแบบของ Animation ก่อนที่จะปิดท้ายรายการด้วยการทดลองจริงจากเยาวชนที่เข้ามาร่วมอัดรายการใน สตูดิโอ เพื่อให้เด็กๆ ได้สัมผัสด้วยตนเองและได้มีส่วนร่วมคิดต่อยอดกับเรื่องราวที่ได้พบเจอนั้นๆ

รายการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ได้รับรางวัลมณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม สาขาแอนิเมชั่นดีเด่นยอดนิยมในปี พ.ศ.2555 ที่เพิ่งรับรางวัลกันไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปีเดียวกับที่ ณเดชน์ และญาญ่า ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายหญิงยอดนิยม จากละครเรื่อง ธรณีนี่นี้ใครครอง

ซึ่งในส่วนของแอนิเมชั่นนี้ ผู้ที่ทำการผลิตก็คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ที่พวกเราน่าจะเคยได้ยินชื่อในฐานะ องค์กรที่ทำหน้าที่วิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศ แล้วก็ช่วยพัฒนางานวิจัยเพื่อเสริมสร้างภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่นี้ได้

ที่สนุกคือทีมสื่อของ สวทช. เอง หลังจากที่เข้าไปร่วมประชุมกับทางมูลนิธิฯ ได้ตัดสินใจที่จะรับทำในส่วน Animation นี้ด้วยตนเอง ทั้งที่ก็ไม่เคยทำการ์ตูนสำหรับออกอากาศมาก่อนเลย และด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็เลยต้องระดมพลเอาทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักการตลาด นักออกแบบ รวมทั้งผู้บริหารมานั่งจับเข่าคุยกัน ว่าใครช่วยทำอะไรได้บ้าง

ผู้ร่วมผลิตรายการทั้งหลาย ตั้งแต่ ThaiPBS และ นานมีบุ๊กส์ ก็เลยต้องมาช่วย สวทช. เป็นการใหญ่ด้วยกันมานั่งคิดคอนเซปต์ด้วยกัน ออกแบบตัวการ์ตูนด้วยกัน ไปจนถึงเอาไปทดลองตลาดกับหนูๆ เด็กอนุบาลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วยกัน

จะ ว่าไปงานชิ้นนี้ค่อนข้างเป็นวิชาการด้วย เพราะใช้ผลการทำ Market Research มาปรับแก้ไขจนกระทั่งได้มาเป็นตัวละครน่ารักๆที่เด็กๆกลุ่มเป้าหมายชื่นชอบ

กว่าจะเข็นงานชิ้นนี้ออกมาให้มีมาตรฐานพอที่ทาง ThaiPBS จะยอมรับให้ออกอากาศได้ ทีม สวทช. เองก็หืดขึ้นคอ จากที่คุ้นเคยกับงานทางวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างหนัก ก็ได้มาเรียนรู้งานด้านศิลปะที่ต้องทำความเข้าใจในด้านอารมณ์อย่างลึกซึ้ง ขึ้น

จะว่าไปรางวัลเมขลาในครั้งนี้ เป็นรางวัลที่น่าจะบอกได้ว่า การค้นคว้าหาความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญเพียงใด เพราะงานชิ้นนี้ว่ากันจริงๆ….

เอานักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ มาเขียนบท

เอานักนักวิชาการ นักการตลาด มาพากย์เสียง

เอาผู้บริหารมาเขียนเพลง และทำดนตรีประกอบ

เอาห้องประชุมและอุปกรณ์ในห้องมาใช้อัดเสียง ไม่ได้ไปอัดกันในสตูดิโอมืออาชีพ

ขอแบ่งเวลาของคอมพิวเตอร์คลัสเตอร์ที่ใช้ในงานวิจัย ในช่วงที่พอหาเวลาได้มาผลิตการ์ตูน

ทุกคนไม่เคยมีใครทำงานในลักษณะนี้มาก่อน แต่เมื่อรับที่จะทำก็ต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมกัน

ผิดๆ ถูกๆ ก็ปรับแก้ไขกันไป ทำงานกันบนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบมีเหตุและผล มีการหาข้อมูล มีการทำ Market Research เพื่อทดสอบแนวคิดต่างๆ เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่ต้องลงทุนไปกับอะไรที่เกินตัว

หยิบสิ่งที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงการพยายามพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้สามารถทำสิ่งที่รับผิดชอบได้ดี ขึ้นก็ทำให้ผลงานชิ้นนี้ออกมาเป็นที่ยอมรับในวงการโทรทัศน์ได้อย่างดี

…จนได้รับการประกาศให้ผลงานชิ้นนี้

รายการโทรทัศน์บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้รับรางวัลมณีเมขลาดีเด่นยอดนิยม สาขาแอนิเมชั่นดีเด่นยอดนิยม…

ผลงานเล็กๆ ที่ไม่ได้ใช้ทุนทรัพย์มหาศาล ทำงานกันเองด้วยความสามารถของบุคลากรที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆนี้
แม้จะไม่ได้ดีเด่นเท่ากับผลงานระดับ Hollywood จากสตูดิโอระดับโลก แต่ก็เป็นที่น่าภูมิใจสำหรับกลุ่มคนในองค์กรแห่งนี้ที่สร้างรายการนี้ขึ้นมา

ถ้าสนใจจะชมรายการนี้ ตอนนี้ทางโทรทัศน์ออนไลน์ของ สวทช. (NSTDA Channel) ได้รวบรวมมาไว้ให้ชมทางออนไลน์ได้จากที่ลิงค์นี้นะครับ

http://nstdachannel.tv/category/children-and-youth/young-scientist/

แหล่งที่มา : เมื่อองค์กรวิจัย ได้รับรางวัลเมขลา. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. วันที่ 3 มิถุนายน 2556.

 

 – ( 344 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 − = five

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>