magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ พลัง”อินเทอร์เน็ต”สร้างสรรค์บนความเสี่ยง
formats

พลัง”อินเทอร์เน็ต”สร้างสรรค์บนความเสี่ยง

ไม่ว่าสถานการณ์โลกจะแกว่ง หรือ ยอดขายสินค้าไฮเทคเช่นพีซีจะส่อแววซบเซามากเพียงใด “อินเทอร์เน็ต” ยังคงมีจุดยืนที่แข็งแกร่งได้กับทุกสถานการณ์ สำหรับประเทศไทยกว่า 25 ขวบปีตั้งแต่ ยุคบุกเบิก “ดอททีเอช (.th)” บทบาทไม่ได้ลดลงเลย ซ้ำวันนี้ทวีความสำคัญในฐานะ  “ตัวเร่งปฏิกิริยา” ให้ “ธุรกิจ” และ “วิถีชีวิต” ของผู้คนถูกพลิกโฉมสู่ประวัติศาสตร์ หน้าใหม่ๆ ต่างจากที่เคยเป็นมา

เสวนาหัวข้อ “อินเทอร์เน็ต พลังแห่งการสร้างสรรค์ (Internet : The Power to Create)” ภายในงานไอเน็ต แบงคอก 2013 (INET BANGKOK 2013)” จัดโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ พร้อมพันธมิตร          นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดประเด็นว่า พลังแห่งการสร้าง สรรค์ของอินเทอร์เน็ตนั้นมีมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก ด้วยระบบเปิดของระบบและการสร้างฮาร์ดแวร์ ซึ่งเอื้อให้ใช้ต้นทุนเริ่มต้นน้อยมาก หรือแม้แต่ฟรี สามารถนำไป ต่อยอดได้กว้างขวางกับอุปกรณ์หลาก หลายชนิด ทั้งนี้แนวทางการผลักดันสำหรับประเทศไทย หวังได้เห็นความทั่วถึง มั่นคง ราคาต่ำ แง่ธุรกิจหวังให้ทุกขนาด แม้แต่เกษตรกร หรือผู้อาศัยอยู่พื้นที่ห่างไกลมีโอกาสเข้าถึง โดยไม่ลืมประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากการใช้งานทุก วันนี้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับส่วนนี้ มากนัก “กระแสการใช้งานเช่นบีวายโอดีเป็นเรื่องที่ฝืนได้ยาก ทางที่เหมาะคือกำหนดมาตรฐานวางมาตรการอนุญาตให้ใช้หรือ ไม่ให้ใช้ให้ชัดเจน”

ด้านนางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์  ผู้จัดการส่วนภูมิภาค อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ เสริมว่า พลังการสร้างสรรค์จะมีได้เมื่อสังคมเปิด ผู้ใช้ควรมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นโดยไม่มีข้อจำกัด เพราะต่อไปต้นทุนคือความคิดของเราเอง และการ บูรณาการของหลายๆ อย่างทั้งประสบการณ์และบริบทของแต่ละสังคม

ก่อนหน้านี้ มองกันแต่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ทว่าที่น่าสนใจและสำคัญไม่แพ้กันคืออัตราการเข้าถึง โดยวัดจากปัจจัยของการใช้ภาษา ทุกวันนี้ภาษาจีนและญี่ปุ่น  มีสัดส่วนมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าการเข้าถึงมีข้อจำกัดน้อยลง ไม่ใช่เพียงแค่ภาษาอังกฤษ ไทยเองควรผลักดันคอนเทนท์ที่เป็นภาษาไทยให้เป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานการพัฒนา ระบบ และขับเคลื่อนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก

อย่างไรก็ดี จากไม่กี่วันมานี้ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้หน่วยงานภาครัฐใช้ ไอพีวี 6 ได้แล้ว น่าจะได้เห็นการพัฒนาขั้นกว่าต่อๆ ไป ขณะเดียวกันต้องการให้สังคมมองว่าอินเทอร์เน็ตเป็นพลังบวก ท่ามกลางปัญหาสังคมและภัยคุกคามต่างๆ ไอซอกพร้อมเข้าช่วยเหลือ สนับสนุนเต็มที่ “ความท้าทายพื้นฐานของบ้านเราคือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่ามัวไปปิดกั้น หรือกังวลกับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากนัก เพื่อทำให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าได้เร็วที่สุด ส่วนว่าผลจะเป็นอย่างไรอยู่ที่การปฏิบัติ ท้ายที่สุดระบบเปิดย่อมดีกว่าระบบปิด  ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกดีที่สุด”

พร้อมระบุว่า ไทยมีทรัพยากรบุคคลที่เก่งจำนวนมาก มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมๆ กับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาและญี่ปุ่น ทว่าเมื่อมองดูเขาไปถึงไหนแล้วแต่ไทยอยู่จุดไหน ฉะนั้นเดินหน้าเสียเถิดแล้วมาช่วยกันคิดว่าจากนี้ควรทำอย่างไร และเมื่อเปิดเออีซีจะร่วมมือกับเพื่อนบ้านทำให้เป็นเนื้อเดียวกันได้อย่างไร

นางกาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย เผยว่า ที่ต้องให้ความสำคัญคือสร้างสรรค์สังคมไซเบอร์ที่ไร้พรมแดน มีความปลอดภัย  กับการใช้งานที่มีทั้งแง่บวกแง่ลบ มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ดังนั้นไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากยอมรับไปเสีย ถ้าจะให้เกิดผลเชิงบวกก็ต้องทำในสิ่งที่จะส่งผลให้เป็นแบบนั้น สิ่งสำคัญคือเพื่อนมนุษย์ต้องทำความเข้าใจและเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.)  มองว่า ทุกวันนี้บทบาทของไอทีกับภาครัฐ เริ่มเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับความต้องการใช้งานของประชาชนมากขึ้น จากก่อนหน้านี้มองแค่เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการภายในองค์กรตัวเอง และที่น่าดีใจคือเริ่มได้เห็น การมีส่วนร่วมของหลายๆ ภาคส่วนซึ่งช่วย ลดช่องว่างพร้อมเพิ่มความสะดวกให้ประชาชน

“ที่ยังเห็นอยู่คือต่างคนต่างทำ แต่ถ้าอยากเห็นภาพเดียวกัน ขอให้มาร่วมกันสร้างโรดแมพดีกว่า”

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กล่าวว่า การสร้างสรรค์คือมองไปข้างหน้าจากจุดที่ยืนอยู่ ณ ปัจจุบัน พร้อมเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง เชื่อว่าคนไทยได้รับโอกาสที่เปิดกว้างจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ขณะที่ด้านอื่นๆ ที่เป็นประเด็นปัญหา หรือข้อติดขัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งสพธอ. กำลังเร่งขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

รายการอ้างอิง :
พลัง”อินเทอร์เน็ต”สร้างสรรค์บนความเสี่ยง. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2556.– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 + four =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>