magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าวไอที รู้ทันหน้าฝน‘ศภช.เสริมแกร่งชุมชนใน 25 ลุ่มแม่นํ้า’
formats

รู้ทันหน้าฝน‘ศภช.เสริมแกร่งชุมชนใน 25 ลุ่มแม่นํ้า’

ช่วงหน้าฝนของทุกปี จะมีทั้งกลุ่มคนที่ได้รับอานิสงส์จากฤดูกาลเพื่อให้พืชพรรณได้มีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่ม ถึงแม้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติจะเกิดขึ้นกับประชาชนในลุ่มแม่น้ำดังกล่าวเป็นประจำทุก ๆ ปี จนกลายเป็นความเคยชินของใคร

หลาย ๆ คน แต่คงจะดีไม่ใช่น้อยหากความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินจะลดน้อยลง ดังนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ช่วยเหลือตนเองก่อนภัยธรรมชาติจะมาถึง
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของทรัพย์สินแต่ยังรวมไปถึงชีวิตด้วย และการลงพื้นที่นอกจากประชาชนจะได้รับความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาแล้ว ศูนย์เตือนภัยฯ ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลที่แท้จริงที่ได้จากชาวบ้านว่าเมื่อฝนตกน้ำจะไหลมาทางไหน และเจ้าหน้าที่จะหาวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพื่อรับมือในทุกสถานการณ์

โดยจะสอนให้ชาวบ้านรู้ว่าเมื่อฝนตกและเกิดน้ำหลากในหลาย ๆ วัน ชาวบ้านควรจัดพื้นที่และเตรียมอาหารไว้โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งคอยดูแล เพราะส่วนมากกลุ่มคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและคนชราที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

ขณะที่พลเรือเอกเกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้ดำเนินโครงการและสัมผัสกับปัญหาของประชาชนยอมรับว่า ปัจจุบันประชาชนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกหมู่บ้านในแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดังนั้น จึงต้องเริ่มเจาะลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยมากที่สุด โดยเริ่มจาก ลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยมน่าน ก่อน และปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วในลุ่ม
แม่น้ำยม และน่าน

สำหรับเสียงตอบรับจากประชาชน ขณะนี้มีหลายชุมชนเรียกร้องให้ศูนย์เตือนภัยฯ เข้าไปให้ความรู้ในชุมชนของตนเอง แต่ศูนย์เตือนภัยฯ ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกชุมชนในเวลาอันสั้น ทั้งที่ความเป็นจริงอยากลงทุกพื้นที่ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ลงพื้นที่เสี่ยงภัยที่สุดและให้ชุมชนใกล้เคียงส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมเพื่อบอกต่อแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพราะปัญหาที่แท้จริงคือ ความไม่รู้ของประชาชนในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่มากับน้ำ และมักทำลายระบบนิเวศ

“เรายึดถือในหลักแนวพระราชดำริของในหลวง คือ “น้ำต้องมีที่อยู่ที่ไป แต่อย่าไปทำลายสภาวะแวดล้อม” จะเห็นได้จากข่าวดินโคลนถล่มของหมู่บ้านหลาย ๆ หมู่บ้านที่ผ่านมา ที่เกิดจากการขุดลอกคูคลองเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ และไปทำลายวัชพืช โดยไม่คำนึงว่าวัชพืชเป็นตัวกั้นน้ำได้ดี เมื่อน้ำไหลมาอีกครั้งก็เกิดดินพังถล่มและบ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น”

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์เตือนภัยฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

และล่าสุดได้ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 5-6 มิ.ย. 56 ก่อนจะทยอยให้ความรู้ที่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดระนอง และจังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับก่อนจะกระจายสู่พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ.

รายการอ้างอิง :
รู้ทันหน้าฝน‘ศภช.เสริมแกร่งชุมชนใน 25 ลุ่มแม่นํ้า’. เดลินิวส์ (ไอที). วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2556 .– ( 33 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


five − 1 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>