สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวเกษตร สิ่งแวดล้อม
สภาคริสตจักร 7 มิ.ย.2556 – ทะเลไทยอยู่ในขั้นวิกฤติรุนแรง ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการจับสัตว์น้ำในเชิงพาณิชย์ โดยไม่คำนึงถึงอนาคต ยังผลให้ปลาบางประเภทหาได้น้อยลง ขณะเดียวกันกฎหมายที่เกี่ยวข้องการจัดระเบียบการประมง ยังมีความล้าหลังอยู่มาก
จากการเสวนาภาคประชาสังคม ทะเลเดียวกัน : วิกฤติทะเลไทย สู่ทะเลโลก ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชีวิตทะเลไทย จัดโดยกลุ่มกรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น จากผู้เข้าร่วมเสวนา ซึ่งตัวแทนของกลุ่มกรีนพีซ เสนอข้อมูลว่า ปัจจุบันสถานการณ์ทะเลไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากการจับสัตว์น้ำ เกินอัตราความสมดุลที่กำหนดไว้ที่ 90,000 ตันต่อปี ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง ชางประมงสามารถจับสัตว์น้ำเฉลี่ยลดลงจาก 300 กก.ต่อชั่วโมง ในปี 2504 เหลือเพียง 25 กก.ต่อ ชม. ปลาบางประเภทหายากมากขึ้น อาทิ ปลาจาระเม็ดขาว ปลาอินทรีย์จุด ปลาโอดำ
สาเหตุที่ทำให้สัตว์น้ำลดลง เนื่องจากการใช้เครื่องทำประมงอย่างไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม อาทิ เรืออวนลาก อวนรุน ปลาเล็กปลาน้อยลูกปลาถูกจับขึ้นมา เพื่อส่งให้โรงงานปลาป่น อาหารสัตว์ จำนวนเรือการทำประมงมากขึ้น โดยเฉพาะเรือประมงเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนเดิม 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณเรือทั้งหมด เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรือประเภทนี้ สามารถจับสัตว์น้ำได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ประมงพื้นบ้านสามารถจับสัตว์น้ำได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ทำให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างไม่เท่าเทียม
สำหรับกฎหมายควบคุมดูแลการทำประมง มีกฎหมายประมง ปี 2490 ที่ล้าสมัย แม้จะมีการปรับปรุงแก้ไข แต่ยังไม่สามารถดำเนินการในทางปฏิบัติได้ ทำให้ปัญหาวิกฤติทะเลไทยยังคงมี อยู่ต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=51b18c7e150ba0a2640003b1#.UcAfeZybDGg– ( 44 Views)