magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ไขปริศนารังสีเอ็กซ์ของหลุมดำ
formats

ไขปริศนารังสีเอ็กซ์ของหลุมดำ

Published on June 21, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ไขปริศนารังสีเอ็กซ์ของหลุมดำ

หลายสิบปีมาแล้วที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์งงอยู่กับคำถามที่ว่าหลุมดำสร้างรังสีเอ็กซ์พลังงานสูงได้อย่างไร วันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบคำตอบแล้ว  การศึกษาครั้งใหม่นี้ นำโดยนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ จากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือนาซา และจากสถาบันเทคโนโลยีโรเชสเตอร์ ได้สร้างงานวิจัยที่เชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการสังเกตการณ์ได้สำเร็จ โดยการแสดงให้เห็นว่า แก๊สที่หมุนวนเป็นก้นหอยก่อนที่จะเข้าสู่หลุมดำนั้นเอง ที่เป็นตัวการที่ทำให้รังสีเอ็กซ์ถูกปล่อยออกมา

งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ในขณะที่แก๊สที่พุ่งเป็นรูปก้นหอยเข้าสู่ใจกลางของหลุมดำเนื่องจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลนั้น จะเกิดการสร้างจานพอกพูนมวลขึ้น ปรากฏการณ์นี้จะทำให้แก๊สร้อนขึ้นสูงถึง 10 ล้านองศาเซลเซียส อุณหภูมิบริเวณในกลางระดับนี้ถือว่าร้อนกว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,000 เท่าแต่นับเป็นอุณหภูมิของบริเวณส่วนใหญ่ของแผ่นจานดังกล่าว จึงก่อนให้เกิดรังสีเอ็กซ์พลังงานต่อออกมา แต่แม้ทฤษฎีจะกล่าวเช่นนั้น ในการสังเกตการณ์กลับพบว่า เราตรวจพบรังสีเอ็กซ์พลังงานสูงที่ถูกปล่อยออกมา และมีพลังงานมากกว่ากลุ่มพลังงานอ่อนถึง 100 เท่า รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447054– ( 43 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


four + = 11

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>