สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เปิดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงพาณิชย์ในหัวข้อ Best Practices Sharing : R&D Commercialization โดย “ปูนซิเมนต์ไทย-ซิลิคอนคราฟท์” 2 หน่วยงานที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาออกสู่ตลาด หวังกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเอกชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเกิดแรงบันดาลใจนำกลับไปพัฒนาองค์กรหรือธุรกิจให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต
“ปูนซิเมนต์ไทย” ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงจากการทำวิจัยและพัฒนา ในผลงานนวัตกรรมปูนซีเมนต์สูตรถนอมเครื่องจักร (Soil Improvement Cement) ขณะที่บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ออกแบบวงจรไอซีและหนึ่งเดียวในภูมิภาคกับความสำเร็จในการพัฒนา วิจัยและออกแบบไมโครชิป RFID กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าและเติบโตเป็น 2 เท่าใน 1 ปีR&D ตอบโจทย์เชิงธุรกิจ
ราว 5 ปีที่แล้ว “เอสซีจี ซีเมนต์ ก่อสร้าง” ได้รับโจทย์ให้แก้ไขสูตรปูนเพื่องานถนน เนื่องจากปัญหาเศษปูนติดค้างในเครื่องจักรที่ใช้ลาดยาง และต้องชะล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ แต่งานลาดยางถนนในพื้นที่กันดารมีข้อจำกัดเรื่องน้ำ จึงมีภาระเพิ่มในการจัดจ้างรถบรรทุกน้ำเข้าไปใช้ที่หน้างาน
คณะวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลตั้งแต่การเริ่มต้นทำถนน เช่น กระบวนเตรียมเครื่องจักร การสั่งและรอปูนซีเมนต์จากตัวแทนจำหน่ายที่อยู่ใกล้ที่สุด รวมถึงการทำงานระหว่างปูนกับเครื่องจักร และท้ายสุดคือ ขั้นตอนการกำจัดเศษปูนที่เหลือจากกระบวนการผลิตของคนงาน เพื่อหาแนวทางปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การใช้งาน
นฤมล ชื่นอุทัย นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาวุโส กล่าวว่า ทีมวิจัยใช้เวลาร่วม 2 ปีพัฒนาปูนซีเมนต์สูตรถนอมเครื่องจักร ภายใต้มาตรฐานกรมทางหลวง มาตรฐาน มอก. สูตรที่พัฒนายังสอดรับกับเทคโนโลยีการผลิตของแต่ละตัวแทนจำหน่าย เพื่อลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ ลดการทำงานของเครื่องจักร คนงานไม่ต้องพักเครื่องเพื่อชะล้างเศษปูน ส่งผลให้งานเสร็จเร็วและสามารถใช้ถนนทันทีหลังการลาดยาง 1-2 วันเท่านั้น
“การเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติงานและสัมผัสกับปัญหาที่แท้จริง จะทำให้ทราบปัญหาและตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงเป้า ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ และสมัครใจที่จะใช้บริการเป็นขาประจำต่อไปในระยะยาว” นฤมลกล่าวและว่า การลงพื้นที่ครั้งนั้นทำให้ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อสร้างถนนขยายตัวถึง 57% ในเวลาต่อมา
เปลี่ยนไอเดียเป็นรายได้
อีกหนึ่งโมเดลธุรกิจที่ร่วมถ่ายทอดความสำเร็จคือ ธุรกิจรับออกแบบแผ่นชิพสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดย มานพ ธรรมสิริอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด
มานพเริ่มต้นธุรกิจในปี 2545 กับหุ้นส่วนอีก 5 คน ด้วยเงินลงขันคนละ 2 แสนบาท ณ ปัจจุบัน บริษัทมีมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท เติบโตจากการรับจ้างภายในประเทศ และขยายไปยังตลาดต่างประเทศ กระทั่งในปีนี้มีแผนที่จะตั้งฐานการผลิตในจีน
ทางเดินของบริษัทอยู่บนฐานการทำวิจัย โดยร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) วิจัยพัฒนาเทคโนโลยี RFID Animal Tag ต่อมา สวทช.เล็งเห็นว่า บริษัทมีศักยภาพทำตลาดได้จึงให้สิทธิ์ให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไมโครชิพ RFID ที่ติดบนหูสัตว์เพียงรายเดียวในประเทศไทย ดังนั้น ผู้ประกอบรายอื่นจะต้องว่าจ้างให้บริษัทเป็นผู้ผลิตแทร็กประเภทนี้แต่เพียงรายเดียวเท่านั้น เพื่อสามารถนำไปจำหน่ายต่อได้อีกทอดหนึ่ง
แรงงานด้านการผลิตชิ้นส่วนหรือไอซี หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของบริษัท แต่ก็เป็นส่วนของปัญหาที่ต้องรับมือตลอดเวลา เพราะมีจำนวนมากที่ทำงานได้แต่ขาดใจรัก ฉะนั้น ในการคัดเลือกผู้ร่วมงาน จึงให้น้ำหนักในเรื่องใจรักและความตั้งใจมากกว่าทักษะความรู้ ซึ่งสามารถฝึกอบรมได้ในภายหลัง เพื่อให้ได้แรงงานที่พร้อมจะเดินไปด้วยกันในระยะยาว
ณ วันนี้ ชิ้นงานที่ผลิตได้ 99% ส่งออกทั้งหมดในรูปของแท็กอาร์เอฟไอดีสำหรับสัตว์ บัตรเข้าออกอาคารหรือคีย์การ์ด กุญแจรถยนต์ระบบคีย์การ์ด เครื่องอ่านบัตร
ด้านนายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคม ATSI เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าว เป็นโครงการริเริ่มของทาง ATSI กับซิป้า ที่เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบ– ( 56 Views)