ดร.พัลลภา ปีติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดลphallapa.pet@mahidol.ac.th และ สุนิสา พุทธแก้ว นักศึกษา ปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลิตภัณฑ์สีเขียวที่มีที่มาจากการผลิตที่เป็นมิตรและลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และมาจากธรรมชาตินั้นได้เข้ามามีบทบาทในการเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภค หันมา ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นวาตภัยอุทกภัยหรือธรณีพิบัติ ภัยที่เกิด ขึ้นทำให้เกิดเป็นกระแสรักษ์โลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี
ร้านอีโค่ ช็อป http://www.ecoshop. in.thเป็นกรณีศึกษาจากการสร้างความ แตกต่าง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และเป็นจุดขายที่สร้างความโดดเด่นจากสินค้าที่มีอยู่ทั่วไปทำให้เข้าถึง กลุ่มผู้บริโภคได้กว้างขวางขึ้นจากเดิมผู้ที่สนใจสินค้าสีเขียวมักเป็น ผู้ใหญ่วัยทำงานค่อนไปทางผู้สูงอายุ
แต่ด้วยการออกแบบที่มีความทันสมัย และทำเลร้านที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอย่าง ดิจิตอลเกตเวย์สยามสแควร์ทำให้กลุ่ม เด็กนักเรียนนักศึกษารวมถึงกลุ่มที่เริ่มทำงาน (First jobber) เข้ามาเป็นกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งด้วย
พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร หรือท็อปเจ้าของธุรกิจ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของร้าน Eco Shop มาจากความใฝ่ฝันตั้งแต่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย โดยในขณะนั้นเรียนในสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒหรือมศว.ที่อยากอยู่กับสินค้าที่มีดีไซน์อยากมีกิจการทางด้านงานออก แบบดีไซน์เป็นของตัวเอง
จนกระทั่งในช่วงระหว่างที่ทำงานหลังจากเรียนจบท็อปได้รับโอกาสจากสำนักงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือสวทช.ให้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมออกแบบ ผลิตภัณฑ์ในโครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นทอง”
ในโครงการนี้ท็อปได้ร่วมมือกับโรงงานผ้าม่านแห่งหนึ่งออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์โดยนำเส้นด้ายที่เหลือทิ้งมาทำ เป็นโคมไฟได้สำเร็จและมีคำถามจากเจ้าของ โรงงานว่า”ผลิตแล้วจะขายที่ไหน”และคำถามที่ว่าเวทีประกวดสินค้าเพื่อสิ่งแวด ล้อม ที่มีมากมาย แต่เมื่อประกาศผลแล้ว.ผลงานไปอยู่ที่ไหนหมด
คำถามเหล่านั้นจึงกลายเป็นไอเดียธุรกิจร้านEco Shop ในปัจจุบัน ด้วยอุดมการณ์ส่วนตัวของท็อปที่ว่า
“ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเจ็บป่วยของโลกใบนี้ในวิถีทางที่เรา ถนัดและเมื่อคุณก้าวเข้ามาในเวทีของเรา เราอยากให้คุณได้ใช้เวลากับเรื่องราวและรายละเอียดของสินค้าก่อนกลับออกไป ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และแนวทางในการรักษาโลกใบนี้ของเรา”
EcoShopเป็นร้านขายสินค้าเครื่อง ใช้สอยเบ็ดเตล็ดในชีวิตประจำวันที่เน้นเรื่องของการดีไซน์มีไฮไลท์อยู่ที่ เป็นสินค้าที่ทำเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยสินค้าจะมีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า มาจากต่างประเทศ ภายใต้ แนวคิดว่าที่ไหนที่ถูกมองว่าเจ๋ง.เราจะไปหามา และสำหรับในประเทศไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตามคุณสามารถนำสินค้ามาวางขายกับเรา ได้
เริ่มต้นเปิดตัวธุรกิจด้วยทำเลที่ตั้ง
การเลือกทำเลที่ตั้งคือหนึ่งในอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ท็อปตัดสินใจลงทุนและนำมา ใช้เพื่อทำให้ร้านอีโค่ช็อปเป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ อย่างรวดเร็ว เมื่อตัดสินใจที่จะทำการตลาดสินค้าจำพวก Greenหรือสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมท็อปได้ เลือกทำเลที่มีค่าเช่าสูงอย่าง “ดิจิตอลเกตเวย์” อาคารที่เชื่อมต่อใกล้กับบริเวณสถานีรถไฟฟ้า สยามศูนย์รวมคนรุ่นใหม่ของกรุงเทพ มหานครด้วยเหตุผลว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ของอีโค่ช็อปคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน
ดังนั้นเพื่อให้ช่องทางการจัดจำหน่ายเข้าถึงแหล่งและสามารถให้ข้อมูลโดยตรง กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ครอบคลุมการตั้งร้านที่กลางสยามสแควร์จึงตอบโจทย์ ข้อนี้ได้อย่างดีเยี่ยม
ในแผนของท็อปที่มองว่าการตั้งของร้าน EcoShopไม่ได้เป็นเพียงแค่ช่องทางจำหน่ายหรือแนะนำสินค้าแต่ต้องการให้ เป็น”เวที ขายสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม”เพื่อเป็นศูนย์กลางให้กับนักคิดนัก ดีไซเนอร์นำ สินค้าของตนมาจัดแสดงโดยมีป้ายเล็กๆระบุ เจ้าของผลงานและรายละเอียดสินค้าไว้เพราะบางครั้งอาจเป็นการก่อเกิดเป็นไอ เดียสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่ๆ
ในทางทฤษฎีเกี่ยวกับสินค้าสีเขียวนั้น อีโค่ช็อปได้นำหลัก3Rนั่นก็คือReduce, Reuse,Recycle มาใช้ในการคัดเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่ายในร้านเพื่อให้ตรงกับแนวคิดและนโยบาย ของร้านนั่นเอง
กลยุทธ์มัดใจลูกค้าหัวใจสีเขียว
ในกรณีศึกษานี้เราได้สรุปถึงแนวคิดและกลยุทธ์มัดใจกลุ่มลูกค้าที่รักและนิยม สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจสีเขียวที่อีโค่ช็อป ได้นำมาใช้นั้นสามารถแบ่งได้ ดังต่อไปนี้
1.รูปแบบดีไซน์ที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครถือเป็นกลยุทธ์หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจของ ร้านอีโค่ช็อปเป็นการสร้างความโดดเด่นจากคุณค่าหลักของสินค้าเนื่องจากกลุ่ม คนรุ่นใหม่นั้น มักต้องการสร้างความโดดเด่นให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ชอบซ้ำแบบใคร จึงทำให้สินค้าของอีโค่ ช็อปตอบสนองความต้องการได้อย่าง ตรงจุด
2.ราคาไม่ใช่ประเด็นหลักในการตัดสินใจเนื่องจากมีรูปแบบการดีไซน์เข้ามา เกี่ยวข้อง ดังนั้นเมื่อลูกค้าถูกใจในรูปแบบของสินค้า ราคาไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการตัดสินใจซื้อ เพราะไม่สามารถเทียบกันได้กับสินค้าทั่วไปที่มีรูปแบบธรรมดา
3.การรวบรวมความคิดจากดีไซเนอร์ อิสระจากการที่ร้านอีโค่ ช็อปได้เป็นศูนย์รวม สินค้าที่มาจากดีไซเนอร์หลายๆท่านทำให้สินค้ามีลักษณะความโดดเด่นที่แตกต่าง กันไปไม่จำเจและการมีส่วนร่วมจากหลายๆผู้ผลิต ก็จะนำมาซึ่งการบอกต่อทำให้สินค้าได้มีการรู้จักในวงกว้างในระยะเวลาที่รวด เร็ว
กลยุทธ์ทางการตลาดดังกล่าวส่งผลให้ร้านอีโค่ช็อปมีความแตกต่างจากร้านค้าที่ ขายผลิตภัณฑ์สีเขียวทั่วๆไปทำให้กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบและอยากมีส่วนร่วมใน การรักษ์โลก ได้ขยายตัวเป็นวงกว้างขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้ม ที่ดีสำหรับธุรกิจสีเขียว ที่ต่อๆไปจะได้เห็นความสำเร็จที่กว้างขวางและยั่งยืนมากขึ้น
รายการอ้างอิง :
กรณีศึกษา Eco shop การสร้างความต่างในกิจการสีเขียว. SMEs PLUS (Leaning by Case). ฉบับวันที่ 01 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556.– ( 352 Views)