magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก วันที่วงการวิทยาศาสตร์ไทยต้องการ’ฮีโร่’
formats

วันที่วงการวิทยาศาสตร์ไทยต้องการ’ฮีโร่’

ล่วงเลยมาถึงวันนี้ วันที่โลกมนุษย์เข้าสู่ยุคไซเบอร์เต็มตัวประเทศที่พัฒนาแล้วส่งนักบินอวกาศ ไปดาวอังคาร ไม่ก็คิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะมาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน

เป็นวันเดียวกับที่ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลน บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ผลวิจัยยังออกมาว่า การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 48 ประเทศ อีกทั้งแนวโน้มการเลือกเรียนสายวิทย์ค่อยๆ ต่ำลง เฉลี่ยแค่ราว 7 หมื่นคนหรือ 35% ของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ 2 แสนคน

ทั้งที่บ้านเรามีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ สร้างชื่อเสียงในระดับโลกอย่างต่อเนื่องทั้งที่แต่ละปีมีการคิดค้นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ล้ำสมัยสร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติชิ้นแล้วชิ้นเล่า ทั้งที่รายการวิทยาศาสตร์กำลังได้รับความนิยมสุดขีดบนจอโทรทัศน์

แต่ทำมั้ย-ทำไม ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ที่ยังมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนน่า เวียนหัว ภาพลักษณ์ของนักวิทยาศาสตร์ยังไม่โดดเด่นเป็นไอดอลเสียที          นักวิทย์ก็เป็นพระเอกได้

“ผมว่าเปลี่ยนไปเยอะนะ เทียบกับเมื่อก่อนคนมักมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัวพูดถึงคำว่านัก วิทยาศาสตร์ คนก็ยังนึกแต่ภาพไอน์สไตน์ ผมเผ้ากระเซิง หมกมุ่นอยู่ในห้องแล็บ เดี๋ยวนี้พอเปิดรายการโทรทัศน์พบว่านักวิทยาศาสตร์เริ่มออกมามีบทบาทเด่นชัด ขึ้น รายการวิทยาศาสตร์สนุกๆ ได้รับความนิยมจากคนดูอย่างน่าชื่นใจสะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มอ้าแขนต้อน รับแล้ว”

เป็นความเชื่อมั่นของดร.นิค-ธีระชัย พรสินศิริรักษ์พิธีกรรายการวิทยาศาสตร์เรตติ้งกระฉูดชื่อ”ISCi ฉลาดยกกำลังสอง” ทางช่องไทยพีบีเอส

“5-6 ปีที่ผ่านมา  ปรากฏการณ์ที่เกิดกับรายการเมก้าเคลฟเวอร์ได้พลิกโฉมรายการวิทยาศาสตร์ใน ทีวีเมืองไทยไปเลย เมื่อก่อนมีแต่รายการถามตอบกลายมาเป็นเรียลิตี้ที่สนุกสนาน อลังการ รายการนี้เราซื้อลิขสิทธิ์จากเยอรมนีมาแพงมาก แต่ผลตอบรับคุ้มค่า

จากนั้นมีการซื้อรายการจากต่างประเทศตามมาอีก เช่นสปอนจ์ฉลาดสุดๆ จากเกาหลี ผมเลยคิดว่าทำไมเราไม่ทำขึ้นมาเอง เราก็มีศักยภาพ ต่อมาก็กลายเป็นรายการคนขี้สงสัยทางช่องโมเดิร์นไนน์ ตอบคำถามง่ายๆ รอบตัว เช่น ทำไมพริกถึงเผ็ด ทำไมต้องหาว ทำไมต้องเรอ คนชอบกันมาก

รายการ ISCi ฉลาดยกกำลังสอง ผมเอาข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านมาทดลอง โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์แพงๆ จากห้องแล็บถ่ายทอดให้คนทุกระดับตั้งแต่เด็ก ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ แม้กระทั่งเด็กชาวเขาแดนไกลก็สามารถทดลองทำเองได้”

คนที่จะมาเป็นพิธีกรรายการวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และสามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจง่าย

“ถ้าเอาดารามานำเสนอก็จะอีกแบบหนึ่ง เขาอาจตอบคำถามไม่ได้ในยามที่ต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ต้องเอาคนที่มีความรู้อธิบายได้ และมีความน่าเชื่อถือโจทย์สำคัญคือ การหาวิธีในการนำเสนอให้น่าสนใจ ให้เห็นภาพ ร้อยคำอธิบายไม่เท่าตาเห็นครับ สื่อเองก็สำคัญ ถ้าไม่มีสื่อการพัฒนาก้าวไปช้ามาก อย่างผมไปบรรยายนักเรียนวันละ 200 คน เดินสาย 300 วัน เต็มที่ได้คนฟัง 6 หมื่นคนแต่ผมไปออกทีวีสามารถเข้าถึงคนเป็นล้านคนในชั่วเวลา5 นาที

นักวิทยาศาสตร์คนเก่งคนนี้บอกว่า สังคมต้องปรับวิธีคิดเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เช่นเดียวกับบุคลากรในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่ต้องสร้างคน สร้างต้นแบบให้สังคมเห็นว่านักวิทยาศาสตร์ไม่ใช่มีแต่หัวยุ่งทำงานอยู่ เบื้องหลัง แต่สามารถก้าวออกมาเป็นพระเอกได้

วงการวิทยาศาสตร์ไทยต้องการฮีโร่

มีรายการวิทยาศาสตร์ไม่กี่รายการที่ผงาดขึ้นมาเบียดแทรกละครในช่วงไพรม์ไท ม์ได้ หนึ่งในนั้นคือ รายการ “SCI Fighting วิทย์สู้วิทย์” ต้องยกเครดิตให้พิธีกร อาจารย์โอ-ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดชนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ไฟแรง ที่ทำให้คนหันมาสนใจรายการวิทยาศาสตร์มากขึ้น  ด้วยลุคฉีกแนวรูปหล่อ ไว้หนวดเครา พร้อมแว่นตากรอบหนาสุดเฟี้ยว

“คนเปิดทีวีแล้วต้องอยากดูอะไรที่มันสนุก มีสาระ ผมว่ารายการวิทยาศาสตร์โตขึ้นเยอะ วันนี้คำว่าวิทยาศาสตร์ถูกพูดดังๆ ในสังคม เราลงแรงกันไปเยอะที่ทำให้วันนี้คนมองวิทยาศาสตร์แล้วไม่ต้องวิ่งหนี นี่คือความสำเร็จ”

นอกจากออกมายืนหน้าจอทีวี ดร.วรวรงค์ ยังเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ควบเก้าอี้รองผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

“ข่าวนักวิทยาศาสตร์เก่งๆ ไทยโกอินเตอร์มีส่วนสำคัญ คนชอบไอดอล ชอบความสำเร็จ ผมพยายามทำให้ตัวเป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลัง วงการวิทยาศาสตร์เรายังต้องการโรลโมเดลครับ”

หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ไทยที่กำลังเป็นฮีโร่ของคนไทย ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริหัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) เธอมาพร้อมรางวัลมากมาย ตั้งแต่รางวัลทุนวิจัยลอรีอัลเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์รางวัลดร.นิศรา

นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ดีเด่นของประเทศไทย พระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งยังได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ให้ดำรงตำแหน่งประธานร่วมขององค์กรเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของโลก

แม้ว่าจะเรียนจบมาด้วยคะแนนสูงปรี๊ด แถมมีกึ๋นไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอก ทำให้ ดร.นิศรา ได้รับการติดต่อทาบทามให้

ไปร่วมงานจากองค์กรระดับโลกหลายแห่ง แต่เธอเลือกที่จะกลับมาใช้ความรู้ความสามารถที่ร่ำเรียนมานับ 10 ปีทำงานตอบแทนประเทศชาติ

“การใช้ความสามารถที่ร่ำเรียนมาเพื่อตอบแทนภาษีประชาชน คือสิ่งที่คุ้มค่ามากกว่า เพราะรัฐบาลเองคงไม่ได้ต้องการเงินคืนมากเท่ากับการสร้างคนที่มีความรู้ความ สามารถเพื่อมาช่วยพัฒนาประเทศ”

สังคมงมงาย ตาสว่างได้ด้วย ‘วิทยาศาสตร์’

จากกระแสความขัดแย้งในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรณีข่าวว่าจะตัดงบวิจัยกว่าพันล้านบาท ผลักดันให้บรรดานักวิทยาศาสตร์หัวกะทิของประเทศออกมาตอบโต้อย่างเผ็ดร้อน โดยให้เหตุผลว่าการตัดงบวิจัยจะทำให้ประเทศชาติล้าหลังไม่พัฒนา

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าบทบาทของกระทรวงวิทย์ที่ผ่านมาไม่เคยออกมาทำหน้าที่ตอบคำถามสังคม เลย เวลาเกิดเรื่องที่ทำให้คนไทยรู้สึกว่าต้องการตัว ยกตัวอย่างกรณีเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดจีที200 อันอื้อฉาวปริศนาบั้งไฟพญานาค ล่าสุดอย่างข่าวลือเรื่องวันสิ้นโลก2012

“เราเลยไม่มีวันได้เห็นนักวิทยาศาสตร์ออกมามีบทบาทเด่นในสังคมไทยเท่าไหร่ ทั้งที่ควรออกมาอธิบายให้ข้อเท็จจริงแก่ชาวบ้าน โดยใช้วิชาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์”

นอกจากสอนหนังสือบวกกับออกมาให้สัมภาษณ์สื่อต่อประเด็นทางสังคมอยู่บ่อย ครั้ง ภารกิจสำคัญของเขาอีกอย่างคือ การทำให้คนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ผ่านรายการ “วิทยาตาสว่าง” ทางวอยซ์ทีวี รายการที่กล้าหักล้างในสิ่งที่เราถูกสอนมาว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่”หรือแก้ไขความเชื่อผิดๆที่หลายคนเชื่อมาตลอด

“แนวคิดในการทำรายการ คือ หนึ่งโจทย์ต้องแรง ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องลึกลับแต่เป็นประเด็นที่สังคมสนใจ สองต้องมีวิธีพิสูจน์ได้ เช่น ตอน ‘รอยพญานาค รอยปลาช่อน’เราได้ทำการอธิบายและพิสูจน์รอยปริศนาเพื่อบอกที่มาว่าไม่ใช่พญา นาค ถึงแม้ว่าคนดูรายการที่เชื่อเรื่องพญานาคจะไม่เชื่อเราแต่นั่นคือความสำเร็จ ของเราที่ต้องการกระตุ้นให้คนที่อยู่คนละฝั่งความเชื่อกับเราได้โต้แย้งหรือ ตั้งคำถามโต้ไม่ใช่บังคับว่าเขาต้องเชื่อเพราะเราพิสูจน์ได้

วิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเราทุกวินาที ลองจินตนาการโลกหรือสังคมที่ตื่นขึ้นมาแล้วไม่มีอะไรที่เป็นวิทยาศาสตร์หรือ เทคโนโลยีช่วยเหลือชีวิตอยู่เลย เราคงอยู่กันยาก เวลาที่เกิดปัญหา เรามีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์เทคโนโลยี ซึ่งมีอยู่มากมาย เพียงแต่ว่าเราเลือกใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมหรือเปล่า เรานำมาใช้อย่างเข้าใจ รู้เท่าทัน และนำคุณธรรม จริยธรรม มาประกอบในการใช้แก้ปัญหานั้นหรือเปล่า นี่คือความจำเป็นที่เราต้องศึกษาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ขนานไปกับการนำวิทยา ศาสตร์มาใช้ตอบโจทย์ต่างๆ ในชีวิต”อาจารย์เจษฎาเคยให้สัมภาษณ์ไว้เช่นนี้M

นักวิทย์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

เมืองไทยมีคนเก่ง มีความสามารถมากมายนับไม่ถ้วนโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ แม้บ้านเราอาจไม่ได้ส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์มากนัก แต่กลับมีนักวิทยาศาสตร์ไทยสามารถสร้างผลงาน สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยได้ไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก

ต่อไปนี้คือ รายนามของนักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นตำนานแห่งยุคสมัย

ศ.นพ.ประเวศ วะสีนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษา ที่ได้รับการยกย่องในฐานะ “ราษฎรอาวุโส” ผลงานเด่น คือ การค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย ทำให้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์) ดร.อาจอง ชุมสายณ อยุธยาสร้างชื่อเสียงไปในระดับโลกด้วยการเข้าร่วมออกแบบชิ้นส่วนขาและชิ้น ส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศ ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวอังคารขององค์การนาซา

ศ.ดร.ระวี ภาวิไลนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ ที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรกๆ ผลงานเด่น  ได้แก่ การศึกษาโครงสร้างของโครโมสเฟียร์และดวงอาทิตย์ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้านกูรูด้านด้านฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2530

ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์คุณหมอฉายาเภสัชกรยิปซีประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิจัยยาต้าน เชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ”Zidovudine”(AZT) ซึ่งเป็นยาต้านเอดส์ลดการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกเป็นครั้งแรกของโลก  ศ.ดร.วิรุฬห์ สายคณิตนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย สาขาฟิสิกส์ ผู้บุกเบิกในการนำทฤษฎีควอนตัมแบบฟายน์แมน ศ.ดร.ยงค์วิมล เลณบุรีนักคณิตศาสตร์ระดับต้นๆ ของประเทศ ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วมากมายจากทั่วโลก ทุกรางวัลล้วนมาจากความทุ่มเทวิจัยด้านการนำขบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆ ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ และระบบต่างๆ ในทางชีววิทยาและการแพทย์รวมไปถึงระบบนิเวศวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ

ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์นักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่นอาเซียน ปี 2538 ผลงานสำคัญ คือ การวิจัยค้นพบสมุนไพรรักษามะเร็งเป็นคนแรกของโลก ศ.ดร.ณัฐ ภมรประวัตินักวิทยาศาสตร์ไทยเจ้าของรางวัลระดับโลกอย่าง Pasteur Medal จากองค์การยูเนสโก และสถาบันปาสเตอร์ของ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เอกของโลกศ.ดร.สง่า สรรพศรีอดีต รมว.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกของสาขาวิชาวนศาสตร์ของประเทศไทย ที่ได้รับปริญญาเอกจากสหรัฐ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องป่าไม้และยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ไทยคนแรก ที่เป็นที่ปรึกษาองค์การยูเนสโก

ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้วมีผลงานสำคัญ เช่นการสร้างห้องปฏิบัติการวิจัยสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย รวมทั้งยังศึกษาวิจัยการประยุกต์นำพลังงานโซลาร์เซลล์ หรือเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ศ.ดร.แถบ นีละนิธิบิดาแห่งวิชาเคมีของไทย ผู้บุกเบิกจัดทำหลักสูตรปริญญาบัณฑิตทางเคมีเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ศ.นพ.ธีระวัฒน์เหมะจุฑาคุณหมอผู้มีสำคัญทางด้านการพัฒนารูปแบบการป้องกันโรค พิษสุนัขบ้า ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก

รวมถึงคนอื่นๆอีกมากมายที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้ครบถ้วน

แหล่งที่มา : วันที่วงการวิทยาศาสตร์ไทยต้องการ’ฮีโร่’. โพสต์ทูเดย์. ฉบับวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556.– ( 394 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. กระดาษกันสนิมที่ผลิตโดยคนไทย ลดต้นทุนการเสียดุลนำเข้าช่วยอุตสาหกรรมไทย
    http://www.strizing.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− four = 0

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>