magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ‘หัวคิด’หัวใจเขียว
formats

‘หัวคิด’หัวใจเขียว

กว่า 4 ปีกับการเปิดตลาดให้กับสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม วันนี้ “พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร”เขย่าตลาดอีกครั้งกับกลุ่ม’ECO DESIGN THAIๆ’

ว่า 4 ปีกับการเปิดพื้นที่ทางการตลาดให้กับสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อมในชื่อร้าน EcoShop ขานรับกระแสรักษ์โลกห่วงใยสิ่งแวดล้อม ณ วันนี้ “พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร”เขย่าตลาดอีกครั้งกับกลุ่มนักออกแบบและผู้ผลิตสินค้าอีโคกว่า 26 แบรนด์ภายใต้ชื่อ “อีโค ดีไซน์ ไทยๆ” (ECO DESIGN THAIๆ)
ยกตัวอย่างเช่น LABRADOR ซองเครื่องเขียนจากเศษหนัง (ป่นรวมกัน) Deesawat เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้ FRIENDS สร้อยคอจากกระดาษนิตยสาร(ใช้แล้ว) RePair ลำโพงจากขวดสบู่เหลว (ไม่ใช้แล้ว) SARRAN จิวเวลรีที่มาจากเศษกระดาษกันน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม C.G.S. (THAILAND) ชิ้นงานตกแต่งทำจาก กระดาษแข็ง MOBELLA ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้าและหนัง PLATO เฟอร์นิเจอร์จากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ BENJA เฟอร์นิเจอร์จากเศษไม้และวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ O (โอ) อุปกรณ์จักรยานเช่นแผ่นสะท้อนจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งเป็นผลงานของพิพัฒน์

“การรับรู้เกี่ยวกับสินค้าดีไซน์เพื่อโลกเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ผู้บริโภคเข้าใจ ในขณะที่ผู้ผลิตก็เพิ่มจำนวนขึ้น แม้จะเป็นนิชมาร์เก็ต แต่ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับสินค้ากลุ่มนี้” เขากล่าว

:: เส้นทางอีโคมาร์เก็ต

“ECO SHOP เป็นเหมือนการรวบรวมสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เราเห็นพัฒนาการของสินค้าอีโคว่า สินค้าเพิ่มขึ้น หลากหลายขึ้น คนออกแบบก็มากขึ้นรวมถึงคนที่สนใจ และเราอยากเห็นการเติบโตของแต่ละแบรนด์” พิพัฒน์กล่าวและว่า กลุ่ม Eco Design Thaiๆ (facebook/EcoDesignThaiThai) จึงเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2556

“ผมอยากสนับสนุนนักออกแบบที่เป็นคนไทยให้มีพื้นที่สำหรับสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งสื่อสารกับคนกรุงให้เข้าใจในเรื่องนี้ เพราะการแพร่ขยายข้อมูลความคิดไปสู่สังคมภายนอกได้ ต้องเริ่มจากเมืองกรุงก่อน สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เรามองไว้คือ กลุ่มที่มีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์แบบคนเมือง หรือคนที่สนใจสิ่งแวดล้อม” พิพัฒน์อธิบาย

กิจกรรมนำร่องของกลุ่มคือ การเปิดตลาดสินค้าอีโค “ECO MARKET ๑๐๒” ภายในงานบ้านและสวนแฟร์ ระหว่างวันที่ 27-30 มิ.ย.นี้ ณ ไบเทค บางนา ที่รวบรวมสินค้าไลฟ์สไตล์ ของตกแต่งบ้านไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม พร้อมเวิร์คชอปเอาใจคนรักงานดีไซน์และความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ในช่วงปลายปีจะเป็นเมนคอร์สงาน Eco Market นอกจากจะโชว์สินค้าดีไซน์สีเขียว ยังมีนิทรรศการที่จะแสดงให้เห็นว่า ภาครัฐ เอกชนและบริษัทต่างๆ กำลังทำอะไรเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมอยู่

“หัวใจของงาน ECO MARKET ๑๐๒ คือ การนำเสนอสินค้าดีไซน์เพื่อสิ่งแวดล้อมในแบบที่สนุกและเข้าใจง่าย มีกิจกรรมเชื่อมโยงเรื่องของกรีนกับชีวิตประจำวัน และจุดประกายให้บางคนเปลี่ยนความคิดมาสนใจสิ่งแวดล้อมก็ได้”

:: เปิดพื้นที่สีเขียวเพื่อโลก

ย้อนกลับเมื่อ 7 ปีที่แล้วกับภาพยนตร์เรื่อง An Inconvenient Truth ได้จุดประกายไอเดียโลกสีเขียวให้กับพิพัฒน์ ต่อยอดสู่วิทยานิพนธ์ปริญญาโทเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าสีเขียว และโอกาสเข้าร่วมออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากเศษวัสดุในโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทองของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ระยะแรกของร้าน EcoShop เป็นสินค้าที่เขาออกแบบเอง 10% สินค้าจากนักออกแบบไทย 30% และต้องนำเข้าถึง 60% ปัจจุบันสินค้านำเข้าลดลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 10%

ปี 2555 เปิดตัวแบรนด์ “โอ” (O) ผลิตภัณฑ์อีโคดีไซน์เรียบง่าย ใช้ประโยชน์ได้จริง 7 ชิ้น ที่ดีไซน์โดยคำนึงถึง 4 ปัจจัยคือ การผลิต การขนส่ง ผู้ใช้งานและการกำจัด ยกตัวอย่าง แผ่นพลาสติกสะท้อนแสงติดท้ายจักรยาน ทดแทนไฟท้ายจักรยานที่ใช้ถ่านแบบเดิม หรือ 0.4921 ชื่อของสมุดจดที่มีเส้นบรรทัดหน้ากระดาษมีความถี่มากขึ้น ถ้าแต่ละบรรทัดของสมุดแคบมากขึ้น ใน 1 หน้ากระดาษจะมีบรรทัดที่เพิ่มขึ้น ช่วยลดพลังงานและมลภาวะจากโรงพิมพ์ เพราะเลือกใช้หมึกที่ได้จากถั่วเหลือง และเลือกใช้กระดาษจากป่าปลูก

พิพัฒน์กล่าวทิ้งทายว่า ตลาดเข้าใจเรื่องของสินค้าอีโคมากขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าอีโคของไทยก็เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นเท่าตัว ทั้งนักออกแบบไทยที่ทำแบรนด์ของตนเอง และบริษัทใหญ่ที่มีแบรนด์อยู่แล้ว ได้ขยับมาเพิ่มไลน์สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ตลาดสินค้าอีโคกว้างขึ้น

รายการอ้างอิง :
‘หัวคิด’หัวใจเขียว. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์).วันที่ 26 มิถุนายน 2556.– ( 68 Views)

 
Tags: ,
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − = three

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>