การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ
หัวข้อการบรรยาย : ข้อควรระวังในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในงานวิจัย
บรรยายโดย : ดร.เพียงเพ็ญ บุตรกตัญญู
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
เอกสารประกอบการบรรยาย
สรุปจากการบรรยาย
ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาในหลายๆ ส่วน ทั้งลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ฯลฯ ลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเขียน (วรรณกรรม) ศิลปกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต้องมี 2 ส่วน คือ Originality และ Creativity เกิดขึ้นทันทีไม่ต้องนำไปจดทะเบียน แต่สามารถนำไปจดแจ้งได้ (Notification) ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวไม่ใช่นายจ้าง
การละเมิดได้แก่ การทำซ้ำ (อัพโหลด) ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ทำขาย ให้เช่า อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์เป็นเวลา 50 ปี (นิติบุคคล 50 ปี) ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองในเรื่องของความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีการทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ฯลฯ
ลิขสิทธิ์กับ Open Access (OA)
OA มักใช้ลิขสิทธิ์แบบ creative common (CC) อนุญาตให้เผยแพร่ทำซ้ำได้ สถาบันการศึกษา MIT, Harvard Stanford
มีนโยบายเผยแพร่ผลพวงของงานวิจัยให้กว้างขวางแบบ OA
Creative Common (CC)
มีหลายแบบ เช่น Attribution, share like, non commercial เป็นต้น
การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ระบบ IP มี 3 ส่วนสำคัญ
- การสร้าง IP
- การนำเข้าสู่ระบบคุ้มครอง IP
- การนำ IP ไปใช้ประโยชน์
หน่วยงาน Technology Licencing Office, TLO มีหน้าที่ประเมิน IP ประเมินตลาด ยื่นขอสิทธิบัตร แผนงานทางการตลาด อนุญาตให้ใช้สิทธิ์สู่เชิงพาณิชย์ ตรวจสอบการละเมิดของหน่วยงาน ในประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับระบบทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก รัฐบาลให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้คิดค้นสิทธิบัตร รวมทั้งมีนโยบาย spin-off จัดตั้งเป็นบริษัท มีกฎหมายออกมาตรการใช้ประโยชน์งานวิจัย
สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
– ( 219 Views)