magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home STKS การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism
formats

การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism

การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ


หัวข้อการบรรยาย : การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism
บรรยายโดย : นายสรวง อุดมสรภัณฑ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารประกอบการบรรยาย

สรุปจากการบรรยาย
การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) นิยาม คือ การคัดลอกผลงานหรือขโมยคามคิดของคนอื่น โดยไม่อ้างอิงให้ถูกต้อง

การกระทำที่เข้าข่าย Plagiarism ศึกษาได้จากเว็บไซต์ plagiarism.org เช่น การคัดลอกข้อความ หรือ ความคิดของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง หรือ ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในแหล่งที่มาของข้อความที่นำไปใช้ ไม่ใช้เครื่องหมาย ” “ เพื่อแสดงว่าคัดลอกมาฯลฯ

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้คือ

  • ระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่าย
  • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สำเนาข้อมูล (copy and paste) ได้อย่างง่าย

เครื่องมือตรวจสอบ

  • มีโปรแกรมจำนวนมากพัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจหา
  • ทำงานเปรียบเทียบข้อความกับแหล่งข้อมูลที่มีเดิม
  • มีการแสดงแถบสีในส่วนที่พบซ้ำกัน

โปรแกรมในยุคแรก คือ eTBLAST 3.0 / Deja vu เปิดให้บริการฟรี วิธีการคือ วางข้อมูลที่จะทดสอบลงในกล่องข้อความ เลือกฐานข้อมูลที่จะตรวจสอบ (สามารถทำได้ทีละฐาน)

มหาวิทยาลัยในประเทศไทย เริ่มมีการใช้โปรแกรม plagiarism เมื่อปี 2554 เพื่อทำการตรวจสอบเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ห้องสมุดทำหน้าที่ดูแล Trunitin ช่วยเหลืออาจารย์ นักศึกษา มีการจัดฝึกอบรมเรื่อยมา ในปีการศึกษา 2556 เริ่มบังคับให้นักศึกษาต้องทำการตรวจสอบทุกคน ผลการตรวจสอบสุดท้ายอยู่ที่ความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหลัก

ความสามารถในการตรวจสอบของโปรแกรม Trunitin มีมากขึ้น (ภาษาไทย) ในช่วงระยะเวลา 2 ปี นี้ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ UK มีการจัด e-Learning สอนนักศึกษาเรื่องการเขียนวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการคัดลอกและการทำซ้ำ

สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่

– ( 1037 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. [...] การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism นายสรวง อุดมสรภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เอกสารประกอบการบรรยาย | สรุปจากการบรรยาย [...]

Leave a Reply to NSTDA Blog : Open Knowledge - National Science and Technology Development Agency : NSTDA - Thailand Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× 3 = fifteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>