การประชุมวิชาการประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
“สารสนเทศเพื่อการิจัยในยุค Open Access”
วันที่ 27-28 มิถุนายน 2556
ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ
หัวข้อการบรรยาย : Social Network ของแวดวงวิชาการระดับโลก
บรรยายโดย : ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เอกสารประกอบการบรรยาย
สรุปจากการบรรยาย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีการใช้ Social Network ในการทำงานวิจัยกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่น การ discussion กันใน Facebook, youtube เป็นต้น มีวิวัฒนาการมาจากเดิมคือการใช้ magazines, newspapers, trade shows ในช่วงปี 1960 อินเทอร์เน็ตเริ่มเกิดขึ้นจากเครือข่ายของทางการทหาร จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในปี 1990 คือ superhighway ทำให้เกิดเว็บไซต์ขึ้นมากมายและในปี 2007 เกิด web 2.0 (การสื่อสารสองทาง) ทำให้ผู้อ่านสามารถให้ feedback ด้วยข้อความต่างๆ ได้ และเริ่มมีการใช้ Twitter กันอย่างจริงจังมากขึ้น social network ต่างๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน บอกเล่าเรื่องราว อภิปรายร่วมกันได้ และยังเป็นการสร้างชุมชนสำหรับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็ว
มีการสำรวจพบว่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ราว 60% และพบว่า Virtual Event มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมสูงขึ้น ที่ UK มีการจัดทำคู่มือการใช้ Social Media ให้กับนักวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ด้วย
Social Media แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
- Communication ตัวอย่างเช่น Blogging, Twitter, Location, Facebook
- Collaboration ตัวอย่างเช่น Wiki, Google Docs, Reddit, Dropbox, Zoho, Delicious, CiteULike
- Multimedia ตัวอย่างเช่น Flickr, Picasa, SmugMug, youtube, Instagram
จาก Traditional search ให้คำตอบเฉพาะสิ่งที่เราถาม แต่ Social Media เป็นการให้ intelligently – filtered information คือ ข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรองอย่างชาญฉลาดจากกลุ่มนักวิจัยผู้มีความรู้ ช่วยทำให้เกิดประเด็นใหม่ๆ ที่อาจจะนึกไม่ถึงมาก่อน เช่น การสร้างหลักสูตรร่วมกัน
Academic life cycle (วงจรชีวิตของการวิจัย)
- Identification of knowledge
- Creation of Knowledge
- Quality assurance of Knowledge
- Dissemination of Knowledge
ทั้ง 4 ขั้นตอน ต้องการความช่วยเหลือและร่วมงานกัน (Collaboration) เรื่องแบบนี้ Social Media สามารถช่วยได้เป็นอย่างดี
กรณีศึกษาของ Smithsonian Science มีโครงการจัดเก็บสายพันธุ์ปลาในประเทศ Guyana จำนวนมากกว่า 5000 สายพันธุ์ นักวิจัยได้นำทำการสร้าง story นี้ผ่าน Facebook เพื่อขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกช่วยวิเคราะห์และบ่งชี้สายพันธุ์ปลาทั้ง 5000 สายพันธ์ ผลปรากฎว่าภายใน 24 ชั่วโมง สายพันธุ์ปลาดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จไปเกือบ 90%
สรุปจากการบรรยายโดย
นางรังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่
– ( 267 Views)