magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เอาหญ้ามาทำพลาสติก
formats

เอาหญ้ามาทำพลาสติก

Metabolix บริษัทเอกชนในสหรัฐค้นพบวิธีการสร้างพลาสติกชีวภาพจากหญ้า ติดตามเรื่องราวจากนักเทคโนโลยีจากเนคเทค

พลาสติกเป็นวัสดุที่เราพบเห็นและใช้มันมากที่สุดในชีวิตประจำวัน เราทุกคนทราบดีว่า พลาสติกทำมาจากกระบวนการปิโตรเลียม คือเป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันและทราบกันดีว่า มันเป็นโทษต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากไม่สามารถย่อยสลาย หรือใช้เวลานับเป็นพันๆ ปีกว่าจะย่อยสลาย ดังนั้น จึงเป็นปัญหาของขยะที่ไม่สามารถทำลาย เพราะถ้าเราเผามันก็จะเกิดก๊าซพิษ ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหานี้ และพยายามลดการใช้พลาสติก เช่น รณรงค์ให้หันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หรือนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลให้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกเพื่อเป็นส่วนประกอบในสินค้าต่างๆ ก็ยังจำเป็นอยู่ จึงมีผู้คิดค้นพลาสติกชีวภาพ หรือที่เรียกว่า Bioplastic ซึ่งมีคุณสมบัติหลักก็คือ สามารถย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่กี่ปี เราเริ่มเห็นการนำพลาสติกชีวภาพมาใช้มากขึ้น เช่น ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ถ้าเราเก็บไว้ไม่กี่เดือนมันก็จะเริ่มเสื่อมสภาพกลายเป็นเศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ และเป็นผุยผงในที่สุด หรือแก้วกาแฟในร้านกาแฟอเมซอน สามารถย่อยสลายได้ภายใน 180 วัน ดังนั้น พลาสติกชีวภาพจึงมีแนวโน้มทางการตลาดที่ดีมากในอนาคต แต่สาเหตุที่ยังไม่เป็นที่นิยมก็คือ ต้นทุนที่แพงกว่าพลาสติกปกติ 3-4 เท่าตัว เนื่องจากพลาสติกชีวภาพผลิตจากแป้งและน้ำตาลจากพืช เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยเราเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังมากเป็นอันดับ 2 ของโลก จึงเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของพลาสติกชีวภาพ แต่เมื่อมีความต้องการสูงขึ้นเพื่อนำไปทำเป็นพลาสติกชีวภาพและแย่งกับอุตสาหกรรมอาหารคนและอาหารสัตว์ รวมทั้งอาหารรถยนต์ นั่นคือนำไปทำแอลกอฮอล์ผสมในน้ำมันก๊าซโซฮอล์ จึงทำให้มันสำปะหลังยิ่งมีราคาแพงมากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้น เพื่อลดต้นทุนของพลาสติกชีวภาพ เหล่านักวิจัยจึงพยายามหาวัตถุดิบอื่นๆ มาทดแทนมันสำปะหลัง ล่าสุด Metabolix บริษัทเอกชนในสหรัฐอเมริกาก่อตั้งโดยอาจารย์จาก MIT ได้ค้นพบวิธีการสร้างพลาสติกชีวภาพจากพืชจำพวกหญ้า ที่เรียกว่า Switchgrass ซึ่งเป็นหญ้าพื้นเมืองที่นั่น โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการดัดแปลงยีนให้สามารถสร้างพอลิเมอร์ที่เรียกว่า PHB แล้วใส่เข้าไปในหญ้าหรืออ้อย ซึ่งมันจะผลิตพอลิเมอร์และเก็บไว้ในเนื้อเยื่อของพืชนั้นๆ หลังจากนั้นจึงสกัดออกมาด้วยตัวทำละลาย และนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตเม็ดพลาสติก ซากพืชที่เหลือสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงแบบชีวมวล ซึ่งจะปลดปล่อยปริมาณคาร์บอนน้อยกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงแบบปกติ ปัจจุบันทางทีมวิจัยตั้งเป้าทำให้ปริมาณพอลิเมอร์ที่สะสมในเนื้อเยื่อเพิ่มถึงประมาณ 10% ของน้ำหนัก จึงจะคุ้มค่าและช่วยลดต้นทุนของพลาสติกชีวภาพลงมาได้ถึงครึ่งหนึ่งของราคาในปัจจุบัน และน่าจะทำให้พลาสติกชีวภาพเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นๆ ครับ* ดร. อดิสร เตือนตรานนท์ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาคศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเมธีวิจัย สกว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยadisorn.tuantranont@nectec.or.th

รายการอ้างอิง :
ดร. อดิสร เตือนตรานนท์. เอาหญ้ามาทำพลาสติก. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 4 กรกฎาคม 2556.– ( 102 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 × five =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>