หนังสือ เรื่อง “การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นี้ ด้วยการเขียนบทความวิจัยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเขียนบทความวิจัยจึงเป็นทักษะมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎี ท่านจะได้รับความรู้ทั้งหลักการเชิงทฤษฎีและประสบการณ์ของผู้เขียนจาก 15 บทความ ซึ่งประกอบด้วย
- การเขียนบทความวิจัย: หลักการและวิธีการ (โดย ยงยุทธ ยุทธวงศ์)
- ค่า Impact factor – ความสำคัญที่มีต่อบทความวิจัยระดับนานาชาติ (โดย รุจเรขา อัศวิษณุ)
- Journal Impact Factor ของวารสารวิชาการไทย (โดย ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ)
- การเขียนบทความวิจัย: เทคนิค/เคล็ดลับ (โดย ยอดหทัย เทพธรานนท์)
- แนวทางการเขียนรายงานเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์มุมมองของนักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (โดย อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และสุทัศน์ ฟู่เจริญ)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาเภสัชศาสตร์ (โดย สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาฟิสิกส์ (โดย สุทัศน์ ยกส้าน)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาคณิตศาสตร์ (โดย วัชรพงษ์ อนันต์ชื่น และนวรัตน์ อนันต์ชื่น)
- การเขียนบทความวิจัย: ด้านวิศวกรรมการคำนวณ (โดย ปราโมทย์ เดชะอำไพ)
- การเขียนบทความวิจัย: ด้านพลังงานและวัสดุ (โดย สมชาติ โสภณรณฤทธิ์)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีอินทรีย์ (โดย อภิชาต สุขสำราญ)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์และเคมีคอมพิวเตอร์ (โดย สุพจน์ หารหนองบัว)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาเคมีวิเคราะห์ (โดย เกตุ กรุดพันธ์)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาเกษตรศาสตร์ (โดย พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์)
- การเขียนบทความวิจัย: สาขาชีววิทยา (โดย สมศักดิ์ ปัญหา)
หนังสือเรื่องนี้ จัดทำโดย มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย บรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ และ ศาสตราจารย์ ดร. ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์
– ( 241 Views)