magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เทคโนโลยีปลอด’โรค’
formats

เทคโนโลยีปลอด’โรค’

“รัฐพล เฉลิมโรจน์” นักวิจัยไทยพัฒนาเทคนิคการตรวจคัดกรองโรคพืชให้มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจตัวอย่างได้ในปริมาณมาก ขณะที่ต้นทุนลดลง 5 เท่า

บทเรียนของธุรกิจส่งออกเมล็ดพันธุ์ที่ต้องก้มหน้ารับสินค้าที่ถูกตีกลับ เพราะตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อราในกลุ่มเสี่ยง แม้จะมีระบบการสุ่มตรวจที่แม่นยำ แต่ดูเหมือนยังไม่ใช่คำตอบ
ปัญหาดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “รัฐพล เฉลิมโรจน์” นักวิจัยห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ตัดสินใจเดินหน้าพัฒนาเทคนิคการตรวจคัดกรองโรคพืชให้มีประสิทธิภาพ สามารถตรวจตัวอย่างได้ในปริมาณมาก ในขณะที่ต้นทุนลดลง 5 เท่ารัฐพล เฉลิมโรจน์ เป็นนักศึกษาไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบัน Institute for Global Food Security แห่งมหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาส ภายใต้ความร่วมมือวิจัยระหว่างศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) กับมหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากว่า 150 ปี และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไอร์แลนด์เหนือ ในโครงการพัฒนากำลังคนระดับสูงผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ สำนักพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยานิพนธ์ของเขาได้ตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 3 ฉบับ ได้แก่ PlosOne, Anal Biochem และ Microchimica Acta อีกทั้งได้รับเลือกให้ขึ้นปกหนังสือแทรก (supplement) ของหนังสือพิมพ์เบลฟาสต์เทเลกราฟ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์หลักของเมืองเบลฟาสต์ เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือ สหราชอาณาจักรต่อยอดความคิด รัฐพลเลือกที่จะพัฒนาตัวเองจากผู้ช่วยนักวิจัย โดยขอทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการพัฒนาเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์ โดยใช้เวลา 2 ปีครึ่ง ไปกับการศึกษาและพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชที่สามารถตรวจได้ทีละหลายชนิดในครั้งเดียว”เทคโนโลยีดังกล่าวนับเป็นทางเลือกใหม่ในการตรวจโรคพืชที่น่าสนใจ ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีการตรวจโรคพืชสามารถพัฒนาไปได้อีกขั้นหนึ่ง”ในอดีตการตรวจตัวอย่างเชื้อโรคต้องทำในแผ่นสไลด์ ต่อมาพัฒนามาเป็นการตรวจด้วยเทคนิค Enzyme Linked Immunosorbent Assay หรือ ELISA ที่สามารถตรวจตัวอย่างได้พร้อมกันถึง 96 ตัวอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีเทคนิคที่เรียกว่า SPR และ Beat Arey ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบได้น่าพอใจ”ต้นทุนของการตรวจที่ถูกลงกว่าเดิม 5 เท่า จาก 200 บาทต่อการตรวจ 1 ตัวอย่าง เหลือเพียง 40 บาท แต่ตรวจได้ในปริมาณที่มากกว่า ช่วงเวลาทดสอบสั้นลง ทำให้มั่นใจได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม” รัฐพลกล่าว ในฐานะนักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยควีนส์เบลฟาสต์ การพัฒนาเทคโนโลยีตรวจโรคพืชแบบใหม่ในประเทศไทย ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนที่จะผลิต จำหน่าย และใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และเพื่อให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รัฐพลได้ขอความอนุเคราะห์ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ประเภทแตง จากบริษัทผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ของไทย เพื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพ และพัฒนาเป็นชุดตรวจที่สามารถใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม

“ผมคาดว่าจะใช้เวลาในการวิจัยราว 1-2 ปี เพื่อให้มั่นใจ และจะเปิดให้บริษัทเอกชนที่ต้องการผลิตและจำหน่าย เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี”

ความหวังอาหารปลอดภัย จากจุดเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาชุดตรวจโรคพืช รัฐพลมองว่า องค์ความรู้ดังกล่าวสามารถประยุกต์ใช้กับการตรวจโรคในอาหารได้เช่นกันปัจจุบันมีอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เนื้อไก่ หรือน้ำนม ที่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรครุนแรง ไม่ว่าจะเป็น เชื้ออิโคไล ซาลโมเนลลา ลิสทีเรีย และโมโคไซโคจิเนส

ซึ่งกระบวนการการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อในโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่อาหารที่ส่งถึงมือผู้บริโภค หรือส่งออกไปขายยังต่างประเทศ จะช่วยสร้างความมั่นใจได้มากขึ้น

“ทุกวันนี้มีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานอาหารที่พบการปนเปื้อนของเชื้อโรคมากขึ้น การตรวจสอบที่แม่นยำจะเป็นเกราะป้องกันทั้งผู้บริโภคเอง ตลอดจนอุตสาหกรรมที่ความผิดพลาด หมายถึงชื่อเสียง และความเชื่อมั่นในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลก”

รายการอ้างอิง : เทคโนโลยีปลอด’โรค’. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 17 กรกฎาคม 2556– ( 78 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three + 6 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>