สรุปการบรรยายของ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เรื่อง จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล วันที่ 24 กรกฎาคม 2556 ณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
จัดการความรู้อย่างไรที่ทำให้คนเบิกบานและงานเกิดประสิทธิผล
- การทำ KM มีการดำเนินการมาระยะหนึ่ง มีทั้งได้ผล และไม่ได้ผล ที่ไม่ได้ผลนั้น เกิดจาก องค์กร มักจะทำ KM โดยวัดจำนวนกิจกรรมของการมีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge sharing) มีงานมหกรรม/ตลาดนัด KM ตามที่เขียนไว้ในแผนหรือไม่ มีจำนวน CoP (commnuvnity of Practice) เกิดขึ้น CoP? เป็นการมอง KM เชิง Event มอง KM เป็น activity
- ดังนั้น การทำ KM ต้องวัดผลที่ได้ (output) กับผลที่ต้องการ (outcome) หรือวัดที่ input ที่ process ตัวอย่างของ การวัดผลที่ได้ เช่น นายแพทย์สามารถตรวจคนไข้ได้กี่คนใน 1 ชั่วโมง ซึ่งก็คือ efficiency (ประสิทธิภาพ) และตรวจรักษาไป 100 คน หายป่วยกี่คน (กี่เปอร์เซ็นต์) นั่นหมายถึง effectiveness หรือ ประสิทธิผล
- สิ่งที่เข้ามา เช่น KM, 5ส, PMQA, QC, BSC และ ISO ต้องเป็นตัวช่วยการทำงาน คือ เป็นพละ หรือพลัง ในการทำงาน เนื่องจากไม่เข้าใจ จึงเกิดเป็นภาระ
- ถ้าทำ KM อย่างเข้าใจว่า เป้าหมาย ว่า คืออะไร และมีกระบวนการเข้ามา ซึ่งอาจจะแตกต่างกัน แต่ทำด้วยความสุข ความพอใจ ทำ KM เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น ตัวอย่างของ รพ. บ้านตาก มีการมาแชร์ (share) กัน พัฒนาคนเก่งเพิ่มมากขึ้น เรียนรู้ด้วยทางลัด มาฟัง มาซัก จากคนอื่นที่ทำได้สำเร็จ เกิดเป็นลักษณะนิสัยในใจคน ทำจนเป็นนิสัย ค่อยเปลี่ยนแปลง ช่วยกันปรับ เพราะทุกคนมีส่วนร่วม ทำเป็นวัฒนธรรม เป็นธรรมชาติ ต้องสอดแทรกให้เป็นเรื่องเดียวกับงานประจำ เข้าใจชัดจะสามารถสร้าง KM ในรูปแบบของตนเอง
- KM Implementation Model : โมเดลปลาทู เป็นโมเดลที่แบ่งการจัดการความรู้ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว Knowledge Vision (KV) ส่วนตัว คือ Knowledge Sharing (KS) และ ส่วนหาง คือ Knowledge Assets (KA)
- สิ่งที่ต้องมีเป็นอันดับแรกก็คือ “หัวปลา” Knowledge Vision (KV) กล่าวคือ ต้องรู้ว่าเรื่องอะไร “สำคัญ” สำหรับผู้ปฏิบัติงาน หรือหน่วยงาน อะไรคือ “ความรู้” ที่ถือว่าเป็น “หัวใจขององค์กร” อะไรเป็น “ความรู้” ที่ใช้ขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กร”
- ตัวอย่าง “หัวปลา” ของ กทม. 1. การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 2. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ 3. การแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจร 4. การพัฒนาระบบการให้บริการ ณ สำนักงานเขต 5. การให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
- ส่วนที่สอง คือ “ตัวปลา” Knowledge Sharing (KS) ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ที่ตัวคน เช่น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน อย่าแชร์กันแต่ Explicit Knowledge (วิชาการ ทฤษฎี ได้จากการสังเคราะห์ วิจัย กำหนดอยู่ในคู่มือทำงาน) จนลืม Tacit Knowledge (ภูมิปัญญา เคล็ดวิชา ประสบการณ์ ได้มาจากการปฏิบัติ การใช้วิจารณญาณ เทคนิคเฉพาะตัว ลูกเล่นของแต่ละคน)
- ส่วนที่สาม คือ การจัดทำ “หางปลา” Knowledge Assets ซึ่งก็คือ “คลังความรู้” ที่ทำให้สามารถ รวบรวม จัดเก็บ ความรู้ได้เป็นระบบ ทำให้เข้าถึงความรู้ได้ง่าย และการแพร่กระจายความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ในมุมมองของ ดร. ประพนธ์ เห็นว่า KM แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคแรก เป็น ยุคไอที ยุคที่สอง เป็นยุค strategy และยุคที่สาม เป็นยุคของความสัมพันธ์ จึงต้องเกี่ยวกับ HR (Human resource หรือฝ่ายบุคคล)
- มีการนำเสนอโมเดลเกลียวความรู้ คือ เริ่มจากการมีการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing ผ่าน Success Story หรือ Lesson Learned) สู่การประยุกต์ใช้ (Knowledge Utilization) แล้วสร้างความรู้ใหม่ (Knowledge Creation) และนำกลับไปแลกเปลี่ยนเหมือนเดิม ต้องไม่หยุดนิ่งแค่แลกเปลี่ยน หรือการมีคลังความรู้ แต่ต้องนำไปสู่การหมุนเวียนความรู้ให้ได้
- การจะเป็น Learning Organization (LO) ได้ คือ ต้องทำ KM ทั้ง 3 ระดับ ระดับที่ 1 Manage Content จัดการกับ “ความรู้” (พัฒนาระบบ) ระดับที่ 2 Manage Community จัดการกับ “ความรู้สึก” (พัฒนาความสัมพันธ์) และ ระดับที่ 3 Manage Consciousness จัดการกับ “ความรู้สึกตัว” (พัฒนาสติปัญญา) ลองใหม่กับความรู้ใหม่ ไม่ยึดติดกับความรู้เดิม
- LO เน้นระดับมากก็จะเป็นของ Peter Senge ที่มีแนวทาง 5 ประการ หรือ The five disciplines ในการสร้างองค์การการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery) ความมีสติ (Mental Model) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision) การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning ) และระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)
– ( 235 Views)