magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก วิธีคลายร้อนของสรรพสัตว์
formats

วิธีคลายร้อนของสรรพสัตว์

ตลอดช่วงเดือนพฤษภาคมเรื่อยไปจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปีถึงแม้จะเป็นช่วงฤดูฝนก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่าระหว่างวันมักจะได้ยินเสียงพึมพำว่า “โอ๊ย….ร้อนจังเลย” พลังงานจากดวงอาทิตย์ส่งพลังแสงลงมายังพื้นโลกชนิดที่เรียกว่ารุนแรง ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายพากันเหงื่อตกไปตามๆ กัน สำหรับมนุษย์นั้นเรายังพอรู้ว่าจะดับร้อนกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการตากแอร์เย็นฉ่ำ เปิดพัดลม อาบน้ำประแป้งด้วยแป้งเย็น หรือหากต้องตากแดดก็กางร่ม สำหรับเหล่าสรรพสัตว์เองก็ร้อนเหมือนกัน

วิธีคลายร้อนของสัตว์ก็มีแตกต่างกันไป ถ้าร้อนอากาศร้อนมากเหล่าสรรพสัตว์จะมีวิธีคลายร้อยแบบไหนบ้าง…

  • อ้าปาก เหตุที่เหล่าสรรพสัตว์หลายๆ ชนิด โดยเฉพาะสุนัขที่มักอ้าปากกันเป็นทิวแถวก็เพราะว่า สุนัขนั้นไม่มีต่อมเหงื่อเอาไว้ระบายความร้อน วิธีคลายร้อนที่ดีที่สุดที่ทำได้ก็คือการอ้าปากแลบลิ้นเพื่อให้ความร้อนได้ระบายออกมาให้หมด ซึ่งสัตว์ที่มีวิธีการระบายร้อนด้วยวิธีการอ้าปาก ได้แก่ จระเข้ ไก่ และสัตว์อื่นๆ ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ
  • เลีย วิธีนี้ดูจะออกแนวน่ารักน่าชัง การเลียนี้ก็เพื่อให้น้ำลายชะโลมไปยังตัวเพื่อให้นำพาความร้อนออกจากร่างกาย การระบายความร้อนด้วยการเลียเราจะเห็นได้บ่อยๆ ใน แมว หรือ กระต่าย สัตว์เหล่านี้จะระบายความร้อนด้วยการเลียไปตามตัว อุ้งมือ อุ้งเท้า
  • หาที่หลบ วิธีนี้คล้ายๆ กับมนุษย์เลยเพราะมนุษย์เมื่อรู้ว่าร้อนก็ต้องหาที่หลบเพื่อพ้นจากความร้อน สัตว์เองก็เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนไม่ต่างไปจากมนุษย์ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานอย่าง กิ้งก่า จิ้งเหลน หรืองู ปกติจะพากันหาที่หลบร้อนอยู่ในโพรงไม้ที่มีความชื้น หรือในพงหญ้า บางทีอาจจะลงทุนขุดหลุมเพื่อซุกตัวหลบร้อนก็มี
  • ร้องไห้ วิธีนี้เห็นแล้วอาจจะรู้สึกสงสาร สำหรับสัตว์ที่มีวิธีคลายร้อนแบบดราม่าน้ำตาซึมได้แก่ เต่า และนอจากจะคลายร้อนด้วยวิธีร้องไห้แล้วบางครั้งยังแอบมีพ่นน้ำลายให้ฟูมปากประกอบด้วยเพื่อเร่งระบายความร้อนให้เร็วขึ้นอีก เป็นวิธีคลายร้อนที่เห็นแล้วน่าสงสาร
  • อาบน้ำ วิธีพื้นฐานมากทั้งมนุษย์และสัตว์ เมื่อร้อนนักก็ลงแช่น้ำกันเสียเลย แม้กระทั่งสัตว์ที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกับสายน้ำสักเท่าไหร่อย่างเช่น ลิง นก สุนัข แต่เมื่อยามที่ร้อนมาก เลียตัวก็แล้ว อ้าปากระบายร้อนก็แล้ว ยังไม่สามารถทำให้หายร้อนได้ ใช้วิธีพึ่งพาธรรมชาติด้วยการกระโจนลงน้ำแล้วแช่เสียเลยน่าจะดีที่สุด และสัตว์ประเภทควาย ให้แช่โคลนให้นานไปเลยอย่าไปไล่ขึ้นก่อนเวลาอันควร เนื่องจากปกตินิสัยของควายจะเป็นสัตว์ที่เก็บตัวเงียบๆ เซื่องซึม แต่ถ้าร้อนมากแช่ปลักแช่โคลนยังไม่ฉ่ำใจ จากสัตว์สันโดษอาจจะกลายร่างเป็นสัตว์ที่ดุร้ายขึ้นมาก็เป็นได้
  • เหงื่อออก ทั้งมนุษย์และสัตว์อีกหลายๆ ชนิดมีวิธีระบายร้อนด้วยการขับเหงื่อเหมือนกัน แต่เหงื่อที่ออกมาและมีคุณสมบัติที่โดดเด่นสุดยอดได้แก่ “เหงื่อของฮิปโปโปเตมัส” ฮิปโปโปเตมัสมีเหงื่อสีสวยทีเดียวคือสีแดง นักวิจัยได้นำเหงื่อสีแดงของฮิปโปฯ ไปทำการตรวจอย่างละเอียดก็พบว่า เหงื่อของฮิปโปฯ นั้นสามารถดูดรังสียูวีได้ หรือพูดง่ายๆ ว่าเหงื่อของฮิปโปฯ นั้นเป็นครีมกันแดดที่ผสมสารป้องกันยูวีชั้นยอดทีเดียว และนอกจากนี้เหงื่อฮิปโปฯ ยังมีสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกด้วย
  • หลับ อากาศที่ร้อนแรงสามารถทำให้มนุษย์อย่างเราเพลียร่างจนกถึงกับเผลอหลับก็มี แต่ว่าหลับแล้วตื่นขึ้นมาจะรู้สึกไม่ค่อยสบายเนื้อสบายตัวสักเท่าไหร่นัก สำหรับสัตว์บางชนิดก็ใช้วิธีคลายร้อนด้วยการหลับเหมือนกัน แต่เป็นการหลับไหลยาวไปจนสิ้นฤดูร้อน เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง วิธีการหลับยาวก็คือฝังตัวเองลงไปในดินแล้วปิดหูปิดตาหลับคร่อกไปเลย หรือเรียกกันว่า “จำศีล” นั่นเอง
  • ปฏิบัติกิจกรรมบันเทิงเพื่อคลายร้อน เชื่อหรือไม่ว่า…ในช่วงฤดูร้อน เป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ของบรรดาสรรพสัตว์หลายชนิดทีเดียว เช่น ตุ๊กแก งูจงอาง และ ม้า ช่วงเวลาที่มีแสงแดดจัดจ้าในเวลากลางวันนั้น ม้ามักจะผสมพันธุ์ช่วงนี้เนื่องจากอากาศและแสงแดดที่ร้อนแรงนี้จะช่วยกระตุ้นการตกไข่ของม้าตัวเมียได้เป็นอย่างดี จึงนับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการที่จะผลิตทายาทเพื่อสืบสกุลของม้า
  • ปรับตัว สัตว์หลายชนิดปรับตัวให้ชินกับสภาพร้อนที่เห็นได้ชัดคือ อูฐ ซึ่งอูฐเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศที่ร้อนอบอ้าวได้เป็นอย่างดี อูฐเป็นสัตว์ที่พบได้ตามแถบทะเลทราย ซึ่งเป็นภูมิประเทศที่ไม่ได้มีน้ำให้ดื่มได้บ่อย ฉะนั้นหากเมื่ออูฐได้มีโอกาสดื่มน้ำอูฐจะดื่มน้ำนานมาก เวลาในการกินน้ำของอูฐในแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 10 นาที (สำหรับบางตัว) น้ำที่อูฐดื่มเข้าไปนั้นมีประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัว และอูฐจะกักเก็บน้ำไว้ในกระเพาะใหญ่ๆ ของมัน (ความเชื่อที่ว่าอูฐเก็บน้ำไว้ที่โหนกของมันนั้น “ผิด”) และอูฐก็จะพยายามทำทุกอย่างให้สูญเสียน้ำน้อยที่สุด แม้กระทั่งการขับถ่ายของเสียไม่ว่าจะปัสสาวะ หรือ อุจจาระ ที่จะไม่ยอมให้มีน้ำออกมาด้วย ดังนั้นทั้งปัสสาวะและอุจจาระจะข้นและแห้งมาก โดยเฉพาะอุจจาระของอูฐในทะเลทรายนิยมใช้อุจจาระของอูฐเป็นเชื้อเพลิงเพราะติดไฟได้ง่าย กระต่ายก็เป็นสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่มีการปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศ คือ กระต่ายที่เราเห็นหูยาวๆ นั้น เกิดจากการปรับตัวให้ยืดหูให้ยาวขึ้นเพื่อใช้ในการช่วยระบายความร้อนออกทางเส้นเลือดที่ใบหู ซึ่งตรงข้ามกับกระต่ายบางชนิดที่ยังคงมีหูที่สั้นซึ่งเป็นกระต่ายที่อยู่ในเขตหนาว

แหล่งที่มา
Mr.มิสเตอร์. “รู้ไปเรื่อย : คลายร้อนสไตล์สัตว์”. อพวช. 118(10) : 60-63 ; เมษายน 2555.– ( 8066 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 − three =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>