นานมากแล้วมีได้ยินการพูดถึงศัพท์บัญญัติ software คือ ละมุนภัณฑ์ hardware คือ กระด้างภัณฑ์ ไมโครซอฟต์ คือ จิ๋วระทวย เพาเวอร์พ๊อยท์ คือ จุดอิทธฤทธิ์ stand alone คือ ยืนเอกา joy strict คือ แท่งหฤหรรษ์ ซึ่งทำให้ตนเองสงสัยมาตลอดว่า “ราชบัณฑิตยสถาน” ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้ใหญ่ระดับสูงของประเทศไทย จะบัญญัติด้วยคำดังกล่าวจริงหรือ ประกอบด้วยเป็นบุคลากรเนคเทคที่ค่อนข้างใกล้ชิดท่านราชบัณฑิต ท่านหนึ่งคือ รศ.ดร.ครรซิต มาลัยวงศ์ จึงได้เรียนถามท่าน ท่านก็ยืนยันว่าไม่มีการบัญญัติ และท่านก็ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในเว็บของท่าน http://www.drkanchit.com/duties.html
ในราชบัณฑิตยสถานนั้นผมทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการบัญญัติศัพท์อยู่สองคณะคือ ศัพท์คอมพิวเตอร์ และศัพท์เทคโนโลยีสารสนเทศ … มีคนพูดอย่างสนุกสนานอยู่เสมอว่า คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่ไม่ได้เรื่องออกมาให้ใช้ เช่นคำ software ก็บัญญัติว่า ละมุนภัณฑ์ แล้วก็ขยายต่อไปว่า hardware ก็บัญญัติว่า กระด้างภัณฑ์ ผมได้ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง เพราะคนพูดบางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือไม่ได้สอบสวนศึกษาเรื่องแท้จริงก่อนว่า คำศัพท์ที่บัญญัติจริง ๆ คืออะไร แม้แต่หนังสือศัพท์บัญญัติที่ทางราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ก็ยังไม่มี เมื่อยังไม่ได้หาข้อมูลจนรู้ข้อเท็จจริงแล้วจะมาพูดวิจารณ์ได้อย่างไร ความจริงก็คือคณะกรรมการไม่เคยบัญญัติศัพท์แบบนี้เลย คนทั้งหลายได้แต่พูดต่อ ๆ กันไปเองไม่มีมูลเลย หลักฐานอยู่ในหนังสือศัพท์บัญญัติตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้เมื่อดูจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน ก็จะมีคำชี้แจงดังนี้
- “กระด้างภัณฑ์” “ละมุนภัณฑ์” “แท่งหรรษา” ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
- ศัพท์บัญญัติของศัพท์ software และ hardware
– ( 355 Views)