โรคหัวใจและหลอดเลือด ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่จะเกิดอาการแบบเฉียบพลันในขณะที่หัวใจทำงานหนัก หากพบว่าผลตรวจคลื่นไฟฟ้า (EKG) ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจขาดเลือดได้
โรคหัวใจ คือ การเรียกของ “กลุ่มอาการของโรคหัวใจ” ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ ซึ่ง แยกได้เป็น 8 ประเภทหลักๆ คือ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- โรคลิ้นหัวใจ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ
- โรคเยื่อหุ้มหัวใจ
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคติดเชื้อที่หัวใจ
- โรคมะเร็งหัวใจ
คนเป็นโรคหัวใจมีอาการอย่างไร
- เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง
- ใจสั่นหัวใจเต้นแรง ชีพจรเต้น ไม่สม่ำเสมอ
- เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง
- หน้ามืดเป็นลมไม่ทราบสาเหตุ ฯลฯ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- อายุ 40 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด เบาหวาน
- ขาดการออกกำลังกาย
- รับประทานอาหารไขมันสูงประจำ
- เผชิญกับภาวะความเครียดเป็นประจำ
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- สูบบุหรี
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนักตัว
- รักษาระดับไขมันในเลือดโลหิต
- รักษาระดับความดันโลหิต
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- เลือกรับประทานอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที 5-7 ครั้งต่อสัปดาห์
รายการอ้างอิง :
เดชชาติ เงินจันทร์, (ผู้บรรยาย). (30 กรกฎาคม 2556). NSTDA Knowledge Sharing: โรคหัวใจ ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
– ( 133 Views)