magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories น้ำมันรั่วในทะเล
formats

น้ำมันรั่วในทะเล

จากเหตุการณ์น้ำมันดิบประมาณ 50,000 ลิตร ที่รั่วจากท่ออ่อนส่งน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้ว ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ที่รั่วลงทะเล จังหวัดระยอง เมื่อเวลา 06.50 น.  ของวันที่ 27 กรกฎาคม 2556  นั้น สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปเหตุการณ์จากภาพถ่ายดาวเทียม ไว้ในเว็บไซต์ http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-10-30-02 และเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ได้ร่วมกับฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย มูลนิธิอาจารย์ ดร. สุรพล สุดารา สถาบันธรรมรัฐพร้อมผู้แทนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  องค์กรอิสระ Green Peace และ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาข้อสรุปสำหรับแนวทางการจัดการปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล ณ ห้องประชุมสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมีข้อสรุป ในเรื่องการให้ข้อมูลแก่สังคม ที่ยังขาดการชี้แจงให้กับสังคมและผู้ได้รับผลกระทบ การประเมินความเสียหาย ที่อาจขาดข้อมูลจริงเพราะมิได้มีการจดบันทึก หรือมีการหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลจริง ทำให้การประเมินผลเสียหายเสียหายหรือได้รับค่าชดเชยต่ำกว่าเป็นจริง การตรวจติดตามและการประเมินผลกระทบ ควรกระทำด้วยวิธีการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มิใช่ด้วยสายตา และควรมีมาตรการและแนวทางการฟื้นฟูสภาพแลดว้อมและระบบนิเวศ เพื่อให้ฟื้นตัว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดการแถลงข่าวเรื่อง “สังคมไทย พร้อมหรือไม่ต่อการรับมือปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล” ผู้แถลงข่าวประกอบด้วยคณาจารย์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาจากจุฬาฯ ได้แก่ รศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ)  รศ.ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม)  รศ.ภก.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ (ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม)  ผศ.ดร. ศิริพร จงผาติวุฒ (วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี)  รศ.ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล (ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์) และ รศ.สพ.ญ.ดร. นันทริกา ชันซื่อ (ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์) ได้มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสังคม ดังต่อไปนี้

1. จะต้องมีการพัฒนาแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว (Emergency Response Plan) ที่ชัดเจนและสมบูรณ์ ครอบคลุมการแก้ปัญหาในทุกระดับและมีการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง

2. จะต้องจัดให้มีศูนย์ข้อมูลกลาง (Central Information Center) ซึ่งประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับของสังคมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง การเปิดรับฟังคำถาม ความคิดเห็นและการให้คำตอบแก่สังคมอย่างเป็นเอกภาพและทันเวลา

3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพร้อมที่จะร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมในการรับมือกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ในการจัดสรรงบประมาณทุนวิจัยแบบเร่งด่วน และการลงพื้นที่เพื่อทำการเก็บข้อมูลที่จำเป็นในการประเมินผลกระทบระยะกลางและให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการ ทั้งแนวบำบัดและเฝ้าระวังต่อไป

4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความพร้อมที่จะสนับสนุนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องมีแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาว (Long Term Plan) ที่อยู่บนฐาานองค์ความรู้ที่หลากหลายและมากเพียงพอสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในลักษณะต่างๆ (scenario) ที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

รายการอ้างอิง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ. 2556. สรุปสถานการณ์กรณีน้ำมันดิบรั่วลงทะเล จังหวัดระยอง. [ออนไลน์] : http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-10-30-02 เข้าถึงเมื่อ 11-08-2556 เข้าถึงเมื่อ 11-08-2556

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ. 2556. ข้อสรุปแนวทางการจัดการปัญหาน้ำมันรั่วในทะเล. [ออนไลน์] : http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-12-45-38/303-2013-08-08-16-36-07 เข้าถึงเมื่อ 11-08-2556

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ. 2556. จุฬาฯ เสนอ 5 ข้อ เตรียมความพร้อมสังคมไทยรับมือปัญหาน้ำมันรั่วไหลในทะเล ระดมหน่วยงานในมหาวิทยาลัยหนุนช่วยสังคมทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว. [ออนไลน์] : http://www.mkh.in.th/index.php/2013-08-08-12-45-38/304-cu5propose เข้าถึงเมื่อ 11-08-2556– ( 212 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one + 5 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>