magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข ปลัด สธ.ห่วงโรคมาลาเรียชายแดนไทย-พม่า กำชับจัดบริการเชิงรุก
formats

ปลัด สธ.ห่วงโรคมาลาเรียชายแดนไทย-พม่า กำชับจัดบริการเชิงรุก

สำนักข่าวไทยนำเสนอข่าวสังคม
สธ.12 ส.ค.2556 -ปลัดสาธารณสุขห่วงปัญหาโรคมาลาเรียชายแดนไทย-พม่า กำชับจัดบริการเชิงรุก ค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในแคมป์คนงานที่มีแรงงานพม่า เข้ามาทำงานชายแดนไทย เผยตั้งแต่ต้นปีพบผู้ป่วยมาลาเรีย 9,196 ราย เสียชีวิต 6 ราย

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพระเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และโรงพยาบาลพญาโตงซู อ.พญาโตงซู จังหวัดกอกาเร็ก เมียนมาร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคู่แฝดกับโรงพยาบาลสังขละบุรี ว่า จ.กาญจนบุรีมีชายแดนติดกับประเทศพม่า 370 กิโลเมตร ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ เดินทางติดต่อกันได้สะดวก ปัญหาโรคติดต่อที่เป็นปัญหาตามแนวชายแดนด้านนี้ คือ โรคมาลาเรีย ในปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 1,800 คน สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจาก จ.ตาก โดยเป็นพม่า ร้อยละ 60 คนไทยร้อยละ40

นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมาลาเรียตามแนวชายแดนที่ จ.กาญจนบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนโลกปีละประมาณ 3-4 ล้านบาท เพื่อจ้างอาสา สมัครประจำหน่วยมาลาเรีย รวมทั้งจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจรักษาโรค โดยมีหน่วยมาลาเรียทั้งหมด 60 แห่ง และคลีนิกมาลาเรียอีก 25 แห่ง ให้บริการเจาะเลือดประชาชนในรายที่สงสัย  เพื่อตรวจหาเชื้อและให้ยารักษาทันที ขณะเดียวกัน จัดบริการเชิงรุกออกไปเจาะเลือดตรวจและรักษาในหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดหรือในแคมป์คนงานที่มีแรงงานพม่าเข้ามาทำงาน  พ่นสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่องปีละ 2 ครั้ง แจกมุ้งชุบสารเคมีป้องกันยุงกัด เป็นต้น

“ปัญหาที่พบในผู้ป่วยชาวพม่า คือ ปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเกิดมาจากการซื้อยากินเอง เมื่อกินยาแล้วไม่หายหรือมีอาการหนักขึ้น จึงจะมารักษาที่ประเทศไทย พบประมาณร้อยละ10 ของผู้ป่วย มาลาเรีย ซึ่งขณะนี้ได้แก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยา โดยให้กินยาอาทีซูเนทรักษา กินติดต่อกัน 3 วัน โดยโรงพยาบาลจะให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทำให้การรักษา ซึ่งทำให้อาการหายได้ร้อยละ 80 และให้ความรู้ประชาชนทั้งคนไทยและพม่า ” นพ.ณรงค์กล่าว

ทั้งนี้ โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่มียุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขา ป่าทึบ ซึ่งไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคร่วมกัน  โดยแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย ต้องผ่านการตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรีย หากพบติดเชื้อมาลาเรียจะให้การรักษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โรคนี้ป้องกันได้โดยการป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอนในมุ้ง ใช้ยาทากันยุง ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขออกให้คำแนะนำประชาชน เรื่องการป้องกันโรค รวมทั้งให้หน่วยมาลาเรียและคลินิกมาลาเรียที่มี   760 แห่งทั่วประเทศ บริการเชิงรุกออกค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ระบาด ซึ่งการเจาะเลือดตรวจใช้เวลาเพียง 15 นาที ทราบผลและรักษาได้ทันที ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ในปี 2556 ตั้งแต่มกราคม ถึง 3 สิงหาคม 2556 พบผู้ป่วยมาลาเรีย 9,196 ราย เสียชีวิต 6 ราย

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักข่าวไทย อสมท. -
http://www.mcot.net/site/content?id=52086cfe150ba0bf33000218#.UgmhcD-ZjGg– ( 74 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 2 = five

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>