magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ความจำระยะยาวอยู่ที่เซรีบรัลคอร์เท็กซ์-ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัส
formats

ความจำระยะยาวอยู่ที่เซรีบรัลคอร์เท็กซ์-ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัส

Published on August 29, 2013 by in S&T Stories

เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอข่าววิทย์เรื่อง ความจำระยะยาวอยู่ที่เซรีบรัลคอร์เท็กซ์-ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัส

นักวิทยาศาสตร์จากเยอรมนีและสเปนค้นพบว่า ความจำระยะยาวของคนนั้นอยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่า เซรีบรัลคอร์เท็กซ์ ไม่ใช่ฮิปโปแคมปัสอย่างที่เชื่อกันมาตามตำราเรียนแต่อย่างใด โดยได้ทำการทดลองในหนูจนยืนยันการค้นพบดังกล่าว

คำถามที่ว่า ความจำถูกเข้ารหัสในระบบประสาทของร่างกายตรงส่วนไหน และมีกลไกอย่างไรนั้น เป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานาน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการสร้างและการดึงเอา associative memory มาใช้ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต และก็เชื่อมานานว่า สมองส่วน”ฮิปโปแคมปัส”เป็นสมองส่วนที่บรรจุเก็บความจำระยะยาวเอาไว้

แต่ล่าสุด มาซาฮีร์ ที. ฮาซาน นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการแพทย์แม็กซ์แพลงค์ ประเทศเยอรมนี และโจเซ่ มาเรีย เดลกาโด้-การ์เซีย ที่มหาวิทยาลัยพาโปลเดโอลาวิเด้ เซบีญ่า ประเทศสเปน สามารถทำการทดลองเพื่อแสดงหลักฐานว่า ความจำเกี่ยวเนื่อง (Memory Association) ถูกเข้ารหัสไว้ที่สมองส่วน เซรีบรัล คอร์เท็กซ์ ไม่ใช่สมองส่วนฮิปโปแคมปัสอย่างที่เขียนไว้ในตำราเรียนวิชาประสาทวิทยา โดยนักวิจัยชี้ว่า วงจรในสมองส่วนเซรีบรัลคอร์เท็กซ์ต่างหากที่เป็นหน่วยบรรจุความทรงจำ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/vnews/447386– ( 72 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 2 = four

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>