เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง วิลเลียม มอร์ตัน ผู้นำอีเทอร์มาใช้เป็นยาสลบ
ในอดีตมีผู้คนมากมายต้องเสียชีวิตจากการเข้ารับการผ่าตัด สาเหตุก็เนื่องมาจากการทนพิษบาดแผลไม่ไหว และยังมีอีกหลายคนที่ยอมเสี่ยงทนทุกข์จากโรค เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยการผ่าตัด เนื่องจากไม่อยากเจ็บปวดและทนทรมานจากบาดแผลผ่าตัด เพราะสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการใช้ยาสลบ เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บของผู้ป่วยนั่นเอง
ความจริงจะว่าไปแล้ว “ยาสลบ” นับเป็นกุญแจสำคัญที่สุดในวิชาด้านการแพทย์ศัลยศาสตร์ โดยมีมากว่า 200 กว่าปีแล้ว ในยุคแรก ๆ นั้น แพทย์ได้ใช้ฝิ่น มอร์ฟีน แอลกอฮอล์รวมไปถึงวิธีการสะกดจิต เพื่อช่วยให้คนไข้เบี่ยงเบนให้คนไข้ลืมความเจ็บปวดจากการผ่าตัด ต่อมาจึงได้มีการใช้ “ก๊าซไนตรัสออกไซด์” หรือเรียกกันว่า “ก๊าซหัวเราะ” เนื่องจากสูดดมแล้วให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ แต่ใช่ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์นี้จะสามารถนำมาใช้เป็นยาสลบได้เป็นอย่างดีซะทีเดียว เพราะเนื่องจากประสิทธิภาพของมันไม่สามารถทำให้คนไข้หมดสติได้นาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ระหว่างการผ่าตัดจนกระทั่งมีผู้นำเอาสารเคมี อย่าง “อีเทอร์” มาใช้เป็นยาสลบ โดยผ่านทางวิธีการสูดดมเป็นครั้งแรกในการผ่าตัด นั่นก็คือ “วิลเลียม มอร์ตัน” (William T. G. Morton) ทันตแพทย์ชาวอเมริกัน รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57230
– ( 61 Views)