เว็บไซต์วิชาการ.คอม นำเสนอบทความเรื่อง เมื่อ “เอนรอน” เกิดใหม่ ใน “จีน” และ “อินเดีย”
เมื่อเอ่ยคำว่า “ซีร็อกซ์” คนทั่วไปมักจะหมายถึง “การถ่ายเอกสาร” หรือ “เครื่องถ่ายเอกสาร” มากกว่าที่จะหมายถึง “เครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อซีร็อกซ์” เช่นเดียวกับที่ มาม่า มักหมายถึง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในขณะที่ แฟ๊บ หมายถึง ผงซักฟอก และแฟซ่า หมายถึง แชมพู ปรากฏการณ์ที่ “ยี่ห้อแรกอันโด่งดัง” กลายมาเป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียก “สินค้าประเภทเดียวกันทั้งหมวด” ก็เกิดขึ้นในแวดวงธรรมาภิบาลเช่นเดียวกัน เมื่อ “เอนรอน” กลายเป็นชื่อที่มีความหมายมากไปกว่า “เอนรอน ยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาที่ล้มหายตายจากไปเพราะขาดธรรมาภิบาล” กลายเป็นศัพท์ทั่วไปที่หมายถึง “กิจการขนาดใหญ่ชั้นดีที่ขาดธรรมาภิบาล และสร้างความเสียหายอย่างมโหฬารแก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม”
“เอนรอน” เป็นศัพท์ทั่วไปที่ใช้เรียกการฉ้อโกงของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนและส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://vcharkarn.com/varticle/57118– ( 65 Views)