ต่อไปนี้ การปลูกถ่ายชิ้นส่วนของกระโหลกศรีษะไม่ใช่เรื่องล้ำสมัยต่อไปแล้ว ล่าสุดมีชายคนหนึ่งเพิ่งได้รับ การปลูกถ่ายกระโหลกศรีษะโดยการสั่งจากเครื่องพิมพ์ระบบ 3D โดยการปฏิบัติการของ OPM (Oxford Performance Materials) สามารถแทนที่กระโหลกเดิมของผู้ป่วยได้ถึงร้อยละ 75 และมีการทดลองผ่าตัดในสหรัฐฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท OPM ตั้งอยู่ในมลรัฐคอนเนคติคัท ได้สร้างกระดูกส่วนกระโหลกศรีษะเทียมด้วย วัสดุ biomedical polymer ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีน้ำหนักเบากว่าโลหะ แต่มีความแข็งแรงมากกว่าโลหะ โดยที่ความหนาแน่นคล้ายกระดูกจริง และยังเข้ากับผู้ป่วยได้ดีกว่า แต่ส่วนที่ไม่เหมือนโลหะก็คือ โพลิเมอร์จะไม่รบกวนการทำงานของเครื่อง MRIs และเครื่อง X-rays ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ศัลยแพทย์ได้ออกแบบการปลูกถ่ายกระโหลก ในแบบ one-size-fit-all สำหรับคนไข้แต่ละคน โดยการใช้เครื่องมือช่วยออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์สามารถทำให้การปลูกถ่ายกระโหลกมีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลระหว่างการผ่าตัดอีกด้วย ขณะนี้บริษัทดังกล่าวกำลังพัฒนาการปลูกถ่ายอวัยวะส่วนอื่นๆ ด้วย 3D printing ทั้งนี้ บริษัท OPM คาดว่า จะมีผู้ป่วยในสหรัฐฯ จำนวน 300-500 ราย ต้องการได้รับการเปลี่ยนถ่ายกระโหลกศรีษะ
รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1195—-92556
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกันยายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 12 กันยายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 85 Views)