ช่องว่างที่ลึกลับในฝุ่นที่ปกคลุมรอบๆ ซากขยะในวงโคจรของดวงดาว อาจเป็นสัญลักษณะว่ามีดาวเคราะห์ใหม่ที่กำลังโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมัน ด้วยระยะทางเป็นสองเท่าของวิถีโคจรของดาวพลูโต ถ้าดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏขึ้น การกำเนิดของมันอาจเป็นการยากสำหรับนักดาราศาสตร์ที่จะอธิบายได้ ในเรื่องนี้ Katherine Kretke นักดาราศาสตร์ ที่ Southwest Research Institute ใน Boulder, Colo กล่าวว่า หากเป็นดาวเคราะห์จริง ก็เป็นข้อท้าทายสำหรับการพัฒนาข้อมูลทฤษฏีดาวเคราะห์ในปัจจุบัน
John Debes นักดาราศาสตร์ ณ Space Telescope Science Institute, Baltimore ได้ทดลองใช้กล้อง Hubble Space Telescope ศึกษาพื้นที่รูปจานรอบๆ ดาวแคระแดง TW Hydrae ซึ่งเป็นดาวที่มีอายุ 10 ล้านปี อยู่ห่างจากโลกประมาณ 176 พันปีแสง ภาพถ่ายจากกล้องดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า มีช่องว่างจากดวงดาวที่มีระยะทาง 15 พันล้านกิโลเมตร และมีระยะไกลกว่าที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 80 เท่า ซึ่ง Phil Armitage นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ณ University of Colorado Boulder บอกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และยังบอกว่าน่าจะเป็นสิ่งที่น่าคาดหวังจากดาวเคราะห์ที่กำลังรวมตัว หากการอุบัติของดาวเคราะห์ดังกล่าวได้รับการยืนยัน นักดาราศาสตร์คงต้องมีงานในการอธิบายว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น หากเปรียบเทียบกับ อนุภาคเล็กๆ ในวงโคจรที่หนาแน่น อนุภาคที่อยู่ใกล้ช่องว่างจะหนาแน่นน้อยกว่าและเคลื่อนตัวได้ช้ากว่า Katherine Kretke กล่าวว่า เป็นการยากที่ดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพจะสามารถเพิ่มจำนวนสสารเพื่อไปเคลียร์เส้นทางโคจรของตนเองได้
รายละเอียดเพิ่มเติมเข้าถึงได้ที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1195—-92556
ที่มา: สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำสถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา. (2556) .รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากวอชิงตัน เดือนกันยายน 2556. ค้นข้อมูลวันที่ 12 กันยายน 2556 จาก http://ostc.thaiembdc.org/– ( 97 Views)